อัมพรชี้ ภาคเรียนที่1 ประเมินจากโครงงาน ใบงาน แทนการกาข้อสอบ ส่วนภาคเรียนที่2 การสอบเลื่อนชั้นยืดหยุ่น ไม่ปล่อยเกรด

อัมพรชี้ ภาคเรียนที่1 ปรับวิธีการสอบใหม่ ไม่เน้นกาข้อสอบ วอนครูอย่าปล่อยเกรด ภาคเรียนที่1 ประเมินจากโครงงาน ใบงาน แทนการกาข้อสอบ ส่วนภาคเรียนที่2 การสอบเลื่อนชั้นยืดหยุ่น

เมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานในการแถลงข่าว “จุดยืนลดภาระทางการศึกษา” เพื่อชี้แจงแนวทางในการช่วยเหลือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามมาตรการลดภาระทางการศึกษา ของ ศธ.และรัฐบาล โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงานว่า รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือผู้ปกครองในภาวะวิกฤติ และส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาได้รับการเรียนรู้อย่างเต็มที่ตามศักยภาพ โดยฝากให้ รมว.ศธ. เร่งมอบเงินให้ถึงมือผู้ปกครองโดยเร็ว และขอบคุณ ศธ.ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ขอให้ ศธ.และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พัฒนารูปแบบการศึกษาให้ตอบโจทย์การเรียนวิถีใหม่ และต้องลดภาระผู้ปกครอง นักเรียน และครู ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อัมพรชี้ ภาคเรียนที่1 ปรับวิธีการสอบใหม่ ไม่เน้นกาข้อสอบ วอนครูอย่าปล่อยเกรด
อนครูอย่าปล่อยเกรด ภาคเรียนที่1 ประเมินจากโครงงาน ใบงาน แทนการกาข้อสอบ ส่วนภาคเรียนที่2 การสอบเลื่อนชั้นยืดหยุ่น

ด้านนายอัมพร  พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า เมื่อเราจัดการศึกษามาได้ระยะหนึ่งเราจะพบว่าหากเราจัดการสอบแบบเดิมเหมือนการเรียนที่โรงเรียนแบบปกติจะเกิดปัญหา เพราะนักเรียนไม่ได้มาเรียนที่โรงเรียน แต่เป็นการเรียนในรูปแบบอื่นๆ เช่น ออนไลน์ หรือ แจกใบงานให้ไปทำที่บ้าน เป็นต้น ดังนั้นการวัดและประเมินผลที่ผ่านมาจะต้องมีการสอบกาคำตอบที่ถูกต้องด้วย ก ข ค ง แต่การเรียนในยุตวิกฤตเช่นนี้ต้องยืดหยุ่นไม่จำเป็นต้องมานั่งทำข้อสอบ เพราะนักเรียนไม่ได้เรียนวิชาการแบบเต็มรูปแบบ เช่น การสอบผ่านรูปแบบใบงาน การปฏิบัติ แฟ้มสะสมงานแทน เป็นต้น

อัมพรชี้ ภาคเรียนที่1 ปรับวิธีการสอบใหม่ ไม่เน้นกาข้อสอบ วอนครูอย่าปล่อยเกรด 3

เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า ส่วนภาคเรียนที่ 2 ซึ่งเป็นการสอบเพื่อเลื่อนชั้นและจบการศึกษาของนักเรียนชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 หากไม่มีการวัดและประเมินผลด้วยการสอบก็จะไม่มีคะแนนใช้ศึกษาต่อได้ ดังนั้นเราต้องไม่ทำให้เด็กช่วงชั้นเหล่านี้เสียสิทธิ แต่จะต้องหาวิธีการวัดและประเมินผลให้ยืดหยุ่นด้วยเช่นกัน  สำหรับมาตรฐานการวัดและประเมินผลของแต่ละสถานศึกษานั้นจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้มีการปล่อยเกรดเกิดขึ้น

เรื่องนี้ต้องยอมรับว่าบริบทของสถานศึกษาแต่ละแห่งไม่เท่ากันอยู่แล้ว แต่การวัดและประเมินผลในสถานการณ์เช่นนี้ก็ต้องประเมินเพื่อให้เห็นว่านักเรียนมีการพัฒนาขึ้น ซึ่งถือว่าดีแล้ว โดยตนได้ย้ำกับสถานศึกษามาตลอดว่าการจัดการเรียนการสอนต้องยึดความปลอดภัยของครูและนักเรียน ส่วนมาตรฐานที่นักเรียนสามารถแข่งขันได้คงต้องรอหลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายแล้วค่อยมาเติมทักษะให้ดีขึ้น  

ขอบคุณที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์ วันที่ 16 สิงหาคม 2564

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่