ศธ.เตรียมรีสกิล-อัพสกิลครูทั้งระบบ เพื่อความก้าวหน้าของครูในอนาคต คาด2ปีเห็นผล

ศธ.เตรียมรีสกิล-อัพสกิลครูทั้งระบบ เพื่อความก้าวหน้าของครูในอนาคต คาด2ปีเห็นผล

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.)กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) เพื่อรองรับการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาตามนโยบาย THAILAND 4.0 ที่ตนเป็นประธานในการประชุม เมื่อเร็วๆนี้ ว่า กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประชุมร่วมกับภาคเอกชนซึ่งมีทั้งเครือข่ายโครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED) และโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) เพื่อจะนำแนวทางที่ผ่านมามาขับเคลื่อนในวงกว้าง ทั้งเรื่องระบบการบริหารจัดการโรงเรียน

การนำปัญหาอุปสรรคต่าง ๆที่ทำให้การขับเคลื่อนที่ผ่านมายังมีบางเรื่องที่ต้องปรับปรุง นำมาวางแล้วมีคณะทำงานหาทางปลดล็อคข้อจำกัดต่างๆ ซึ่งตนคิดว่าถ้าหากเราเดินไปข้างหน้าร่วมกันแล้วเราเห็นแนวทางชัดเจนว่าจะต้องรีสกิล หรืออัพสกิล ผู้ที่เกี่ยวข้องในขบวนการศึกษาทั้งหมด เพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมในทุกๆด้าน ก็จะทำให้การขับเคลื่อนนี้ประสบผลสำเร็จโดยที่มีเป้าหมายว่าภายใน 2 ปีนี้จะสามารถพัฒนากลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้เป็นจำนวนมาก 

นายณัฏฐพล กล่าวต่อว่า เรื่องหลักของการประชุมครั้งนี้คือ การพยายามหาคนที่จะเข้าสู่ขบวนการพัฒนานี้ว่าพื้นฐานต้องมีอะไรบ้าง ความคาดหวังคืออะไร และแนวทางที่จะทำนั้นเราจะทำกันอย่างไร ด้วยการรับฟังความคิดเห็นจากหลายภาคส่วนในภาคเอกชน สำหรับผู้ที่จะเข้าสู้ขบวนการพัฒนาจะมีทุกภาคส่วนไม่เฉพราะครูเท่านั้น เช่น ขบวนการพัฒนาที่เกี่ยวกับไอซีที หรือ ไอซีทีทาเล้น ซึ่งโครงการ CONNEXT ED ได้มีการทดลองทำมาแล้ว โดยเริ่มจากครภายนอกแล้วขยับมาเป็นครูที่โรงเรียน และจากการพิจารณาโครงการนี้แล้วเห็นว่า จะสามารถทำให้ครูที่อยู่ในโรงเรียน 1 คน ต่อหนึ่งโรงเรียน ในความคาดหวังระยะยาวก็น่าจะสามารถช่วยพัฒนาระบบไอซีทีหรือระบบดิจิทัลทั้งหมดของโรงเรียน โดยทำความเข้าใจให้กับครูทุกๆคนในโรงเรียนนั้นๆได้ เพื่อเป็นการยกระดับความเข้าใจตัวชีวัดต่างๆที่อยู่ในระบบดิจิทัล รวมถึงมีเรื่องของการสอนควบชั้น หรือการที่ครูอาจจะขึ้นมาเป็นผู้บริหารก็จะต้องมีทักษะในการดูแลงบประมาณของโรงเรียน และการกระจายงบฯในส่วนต่าง ๆ การทำตัวชีวัด(KPI) ซึ่งผู้บริหารทุกคนจะต้องมีความรู้เรื่องเหล่านี้ในเบื้องต้น  การพัฒนาสิ่งเหล่านี้จะทำให้การขับเคลื่อนไปข้างหน้ามีความคร่องตัวมากยิ่งขึ้น และทักษะเหล่านี้ไม่สามารถเรียนได้ในมหาวิทยาลัย จะเป็นการนำสถานการจริงมาจำลองให้คุณครูได้เพิ่มทักษะ  ก็หวังว่าจะเป็นการสร้างความก้าวหน้าให้กับคุณครูในอนาคตด้วย 

“วันนี้ที่ประชุมก็ได้สะท้อนปัญหา และอยากให้กระทรวงศึกษาฯ ทำในเรื่องความต่อเนื่อง ระหว่างภาคเอกชนกับโรงเรียน เช่น กรณีที่ผอ.โรงเรียนย้ายออกหรือเกษียณฯ ที่ผ่านมาการเชื่อมต่อไม่มีความต่อเนื่องในการทำงานร่วมกันเพียงพอ ผมก็จพนำประเด็นสำคัญๆนี้เข้ามาสู่ขบวนการพิจารณาถึงความเหมาะสมต่อไป” นายณัฏฐพล กล่าว 

ขอบคุณที่มาและอ่านต่อได้ที่ : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 28 สิงหาคม 2563

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่