สพฐ.สรุปโพลความเห็นต่อการสอบO-NET ส่วนใหญ่อยากให้ข้อสอบสอดคล้องกับการเรียนในห้อง

สพฐ.สรุปโพลความเห็นต่อการสอบO-NET ส่วนใหญ่อยากให้ข้อสอบสอดคล้องกับการเรียนในห้อง นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(เลขาธิการ กพฐ.) ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นต่อแนวทางการสอบ O-NET หรือ การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน

สพฐ.สรุปโพลความเห็นต่อการสอบO-NET ส่วนใหญ่อยากให้ข้อสอบสอดคล้องกับการเรียนในห้อง
สพฐ.สรุปโพลความเห็นต่อการสอบO-NET ส่วนใหญ่อยากให้ข้อสอบสอดคล้องกับการเรียนในห้อง 2

โดยทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ได้จัดทำ OBEC Poll ได้จัดทำโพลความคิดเห็นต่อแนวทางการสอบ O-NET เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย กลุ่มเป้าหมายจากการสอบถามได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง ประชาชนทั่วไป บุคลากรใน สพฐ. และ ครูผู้สอน ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 21,291 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 6-11พ.ค.2563 ซึ่งผลโพลมีผลได้ดังนี้

1. ควรใช้การสอบ O-NET เพื่อเทียบเคียงมาตรฐานการจัดการศึกษาทั้งประเทศว่าเป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตรหรือไม่ เห็นด้วย 75.8%

2. รูปแบบของข้อสอบ O-NET ควรสอดคล้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียนที่ครอบคลุมพฤติกรรมและเป้าหมายการเรียนรู้ตามหลักสูตร (ความรู้ความคิด ทักษะกระบวนการและคุณลักษณะ) เห็นด้วย 94.6%

3.การสอบ O-NET ระดับ ป.6 ,ม.3 ควรใช้วิธีการสุ่ม หรือสมัครใจ ไม่จำเป็นต้องสอบนักเรียนทุกคน เห็นด้วย 55.8%

4.การสอบ O-NET ระดับชั้น ม.6 ใช้การสอบทุกคน หากจำเป็นต้องใช้ผล O-NET ในการคัดเลือกเข้าเรียนระดับอุดมศึกษา เห็นด้วย 84.6%

5.นำผล O-NET ไปใช้เพื่อการพัฒนาปรับปรุง ไม่เน้นนำไปตัดสิน จัดลำดับ แข่งขันให้รางวัล โยกย้าย เป็นต้น เห็นด้วย 90.4%

6.นำผล O-NET ระดับชั้น ม.6ไปใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เห็นด้วย 73.6%

7.รวมข้อสอบ O-NET ระดับชั้นม.6 และวิชาสามัญ 9 วิชา ไว้ในฉบับเดียวเพื่อลดจำนวนการสอบและลดความเครียดจากการสอบ เห็นด้วย 89.2%

8. ปีการศึกษา 2566(3ปีข้างหน้า) ไม่ใช้ O-NET ในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว แต่ให้ใช้ GPAX เป็นองค์ประกอบในการพิจารณาร่วมด้วยเพื่อให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนในห้องเรียน เห็นด้วย 88.8%

โดยหลังจากนี้ ทาง สพฐ.จะนำข้อสรุปผลการสำรวจที่ได้ไปหารือร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปรับปรุงต่อไปในอนาคต

ที่มา : เพจ อีทีวีแม็ค เวทีสาธารณะเพื่อการศึกษา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่