เบรก โครงการเยียวยาข้าราชการ "เราผูกพัน" รู้หรือไม่ ? ข้าราชการไทยเป็นหนี้มากกว่า 6 แสนล้านบาท

เบรก โครงการเยียวยาข้าราชการ “เราผูกพัน” รู้หรือไม่ ? ข้าราชการไทยเป็นหนี้มากกว่า 6 แสนล้านบาท

ข้าราชการที่ตั้งหน้าตั้งตารอโครงการเราผูกพัน ก็ต้องได้รับข่าวที่ไม่ค่อยจะดีนัก หลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้บอกว่า ยังก่อน เราต้องดูก่อน เห็นใจจริง ๆ พร้อมกับกล่าวคำว่า”เห็นใจข้าราชการ แต่อย่างว่านะ เขามีเงินเดือน ก็ลำบากเหมือนกัน เดี๋ยวคอยดูว่าจะทำอย่างไรได้ สิ่งที่เราต้องการคือการหมุนเวียนเศรษฐกิจ สิ่งที่เรามอง อย่างไรก็ตามเราต้องดูแลประชาชนให้มากที่สุด ขอร้องต้องทำความเข้าใจกับข้าราชการ ใช่ว่ารัฐบาลไม่ห่วงใย แต่นี่เป็นเรื่องการเยียวยา”

เบรก โครงการเยียวยาข้าราชการ "เราผูกพัน" รู้หรือไม่ ? ข้าราชการไทยเป็นหนี้มากกว่า 6 แสนล้านบาท
ขอบคุณ SpringNews

สำหรับโครงการเราผูกพัน เยียวยาข้าราชการ กำหนดแนวทางในเบื้องต้น เยียวยาข้าราชการ 4,000 บาท กลุ่มข้าราชการชั้นผู้น้อยมีเงินเดือนใกล้เคียงกับ ค่าตอบแทนแรงขั้นต่ำเดือนละ 15,000 บาท ทั้งกลุ่มข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ลูกจ้างหน่วยงานราชการ ทั้งชั่วคราว และประจำ พนักงานราชการ ตามสัญญาจ้าง รายได้ต่ำ ราว 200,000 คน เมื่อท่านผู้นำได้พูดเช่นนี้แล้ว ได้ยินกันเต็มสองหูแล้วเช่นนี้แล้วท่านทั้งหลายก็ต้องรอต่อไป

ไหน ๆ ก็พูดถึงเรื่องข้าราชการแล้ว วันนี้ SPRiNG จะพาไปส่องดูหลากหลายมิติทางด้านเศรษฐกิจของชีวิตข้าราชการไทยว่าเป็นอย่างไร โดยเริ่มจากกรุงเทพธุรกิจ เผยข้อมูลเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมาว่า ทีมงานด้านเศรษฐกิจของรัฐได้มอบหมายให้ธนาคารออมสินเข้าไปช่วยปรับโครงสร้างหนี้ข้าราชการร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพราะหนี้สินข้าราชการสั่งสมมานาน และมีจำนวนมาก แทบจะไม่มีทางชำระคืนได้หมด อีกทั้งขอให้ช่วยดูลูกหนี้ที่มีภาระหนี้สินจากเครดิตการ์ดเต็มเพดานขอให้ดูว่าจะช่วยลดดอกเบี้ยลงได้หรือไม่

ขณะเดียวกันธนาคารออมสิน ได้ให้ข้อมูลว่ากรุงเทพธุรกิจว่า ธนาคารมีลูกหนี้กลุ่มข้าราชการจำนวน 1.18 ล้านราย เป็นมูลหนี้ 6.29 แสนล้านบาท และเมื่อรวมกับสถาบันการเงินและกลุ่มสหกรณ์ต่าง ๆ คาดว่ามูลหนี้กลุ่มข้าราชการจะสูงถึง 1 ล้านล้านบาท ดังนั้น ภาระการผ่อนชำระต่องวดจึงอยู่ในระดับสูงทั้งนี้ลูกหนี้ข้าราชการแบ่งเป็นข้าราชการพลเรือน พนักงานรัฐวิสาหกิจ 51%หรือ 6 แสนราย มูลหนี้ 1.85 แสนล้านบาท , บุคลากรทางการศึกษา 41% จำนวน 4.89 แสนราย มูลหนี้ 3.95 แสนล้านบาท ที่เหลือเป็นหนี้ตำรวจและทหาร คุณภาพหนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี มีหนี้เสีย 2.65%

สอดคล้องกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ข้าราชการที่กู้เงินมาใช้นั้นมากกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 56.4 ของข้าราชการมีหนี้สินจากการกู้เงินเพื่อมาใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ร้อยละ 15.2 นำมาซื้อหรือซ่อมแซมยานพาหนะ ร้อยละ 13.3 เพื่อใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภค ร้อยละ5.8 นำมาลงทุนในธุรกิจของครอบครัว แต่เป็นที่น่าสังเกตว่ามีเพียงร้อยละ 3.9 เท่านั้นกู้มาเพื่อการศึกษา อย่างไรก็ตามจากข้อมูลทั้งหมดนี้ก็สามารถเป็นตัวชี้วัดได้ว่าข้าราชการก็คืออีกหนึ่งกลุ่มที่ควรได้รับการช่วยเหลือจากพิษโควิด-19 แต่รัฐคงช่วยเหลือในลำดับถัดไปเพราะมีเรื่องเร่งด่วนมากมายที่ต้องช่วยเหลือก่อน

ขอบคุณที่มาและอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในนี้ : https://www.springnews.co.th/economics/807190

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่