ดาวน์โหลด หนังสือชุดคู่มือห้องสมุดโรงเรียน จำนวน 3 เล่ม โดย สำนักวิชาการ สพฐ.

ดาวน์โหลด หนังสือชุดคู่มือห้องสมุดโรงเรียน จำนวน 3 เล่ม โดย สำนักวิชาการ สพฐ.

ดาวน์โหลด หนังสือชุดส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการห้องสมุดโรงเรียน จำนวน 3 เล่ม โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถใช้เป็นคู่มือในการบริหารจัดการห้องสมุดโรงเรียน ให้มีคุณภาพ ตามระบบมาตรฐานสากล สามารถดาวน์โหลดไฟล์ในลิงก์ด้านล่าง

ห้องสมุดโรงเรียน เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญในการเรียนการสอนของนักเรียน ครู ผู้บริหาร ตลอดจนผู้ปกครอง และชุมชน ที่จะช่วยส่งเสริมให้สามารถศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งยังเป็นการสร้างนิสัยรักการอ่านที่ยั่งยืน โดยมีครูบรรณารักษ์เป็นผู้บริหารจัดการห้องสมุดให้มีบรรยากาศทางกายภาพที่สวยงาม สะอาด วัสดุครุภัณฑ์เหมาะสมกับการใช้สอย และมีบรรยากาศทางวิชาการที่มีการจัดระบบทรัพยากรห้องสมุดเป็นไปตามระบบมาตรฐานสากล มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ มีบริการการอ่านที่มีความสะดวก รวดเร็ว และตรงตามต้องการของผู้ใช้ห้องสมุด รวมทั้งมีกิจกรรมที่จะกระตุ้นให้เกิดนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดทำหนังสือชุดส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการห้องสมุดโรงเรียน เพื่อให้ครูบรรณารักษ์ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น สามารถบริการทรัพยากรห้องสมุดได้อย่างทั่วถึง รวดเร็ว และครบถ้วน อันจะเป็นรากฐานสำคัญในการส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสร้างนิสัยรักการอ่านอย่างยั่งยืน หนังสือชุดส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการห้องสมุดโรงเรียน ประกอบด้วย

  1. การจัดการทรัพยากรห้องสมุด
  2. การเตรียมทรัพยากรห้องสมุดเพื่อให้บริการ
  3. การจัดบริการและกิจกรรมห้องสมุด

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอขอบคุณคณะทำงาน ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำหนังสือชุดส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการห้องสมุดโรงเรียนได้เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้บรรลุผลตามเป้าหมายทุกประการ

คำชี้แจง

หนังสือชุดส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการห้องสมุดโรงเรียน มุ่งเน้นให้เป็นแนวทางสำหรับครูหรือบุคลากรที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์ใช้ในการศึกษาหาความรู้และสร้างทักษะในการปฏิบัติงานห้องสมุด ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพของห้องสมุดให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล หนังสือชุดนี้ ประกอบด้วย

1. การจัดการทรัพยากรห้องสมุด ให้ความรู้เรื่องความหมายและความสำคัญของการจัดการทรัพยากรห้องสมุด ประเภทของทรัพยากรห้องสมุด การจัดหาทรัพยากรห้องสมุด การลงทะเบียนทรัพยากรห้องสมุด และการจัดหมวดหมู่ทรัพยากรห้องสมุด

2. การเตรียมทรัพยากรห้องสมุดเพื่อให้บริการ ให้ความรู้เรื่องความหมายและความสำคัญของการเตรียมทรัพยากรห้องสมุดเพื่อให้บริการ การเตรียมทรัพยากรห้องสมุดประเภทต่าง ๆ การสำรวจและจำหน่ายออก และการอนุรักษ์หนังสือ

3. การจัดบริการและกิจกรรมห้องสมุด ให้ความรู้เรื่องความหมายและความสำคัญของการจัดบริการและกิจกรรมห้องสมุด บริการพื้นฐาน บริการเชิงรุก การจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ห้องสมุด การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การจัดกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป และการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และการประชาสัมพันธ์ห้องสมุด รวมทั้งการประเมินเพื่อการพัฒนา

ตัวอย่างไฟล์

1. การจัดการทรัพยากรห้องสมุด

ดาวน์โหลด หนังสือชุดคู่มือห้องสมุดโรงเรียน จำนวน 3 เล่ม โดย สำนักวิชาการ สพฐ.
ดาวน์โหลด หนังสือชุดคู่มือห้องสมุดโรงเรียน จำนวน 3 เล่ม โดย สำนักวิชาการ สพฐ.
การจัดการทรัพยากรห้องสมุด

การจัดการทรัพยากรห้องสมุด หมายถึง การดำเนินการด้วยวิธีต่าง ๆ อย่างมีระบบให้ได้มาซึ่งทรัพยากรห้องสมุดที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ได้แก่ การสำรวจความต้องการ การจัดหา การลงทะเบียน การจัดหมวดหมู่ การลงรายการในฐานข้อมูลห้องสมุด การจัดทำเครื่องมือสืบคันข้อมูล การเตรียมทรัพยากรห้องสมุดเพื่อให้บริการ การนำทรัพยากรห้องสมุดออกให้บริการ และการจำหน่ายทรัพยากรห้องสมุด ปัจจุบันมีการผลิตทรัพยากรห้องสมุดประเภทต่าง ๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก การจัดการทรัพยากรห้องสมุดอย่างมีระบบจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับห้องสมุดทุกประเภทเพราะจะอำนวยความสะดวกในการจัดหา การจัดระบบให้เข้าถึงได้ง่าย และนำมาใช้อย่างคุ้มค่า

2. การเตรียมทรัพยากรห้องสมุดเพื่อให้บริการ

ดาวน์โหลด หนังสือชุดคู่มือห้องสมุดโรงเรียน จำนวน 3 เล่ม โดย สำนักวิชาการ สพฐ.
การเตรียมทรัพยากรห้องสมุดเพื่อให้บริการ

การเตรียมทรัพยากรห้องสมุดเพื่อให้บริการ หมายถึง กระบวนการนำเอาทรัพยากรห้องสมุดมาเตรียมการให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุดโดยปกติการเตรียมทรัพยากรห้องสมุดเพื่อให้บริการ ได้แก่ การตรวจความเรียบร้อยของหนังสือ การเปิดหนังสือใหม่ การประทับตราห้องสมุด การติดสันและเลขทะเบียนหนังสือการติดบัตรกำหนดส่ง และการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น

ความสำคัญของการเตรียมทรัพยากรห้องสมุดเพื่อให้บริการ เป็นการช่วยให้ทรัพยากรห้องสมุดที่ได้รับใหม่จัดเข้าระบบการบริการตามกระบวนการของห้องสมุดให้ความสะดวก รวดเร็ว และคล่องตัว ทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ ตลอดจนทำให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดสามารถคันหาได้ด้วยตนเอง

3. การจัดบริการและกิจกรรมห้องสมุด

ดาวน์โหลด หนังสือชุดคู่มือห้องสมุดโรงเรียน จำนวน 3 เล่ม โดย สำนักวิชาการ สพฐ.

บริการห้องสมุด เป็นงานสำคัญที่นำผู้ใช้ห้องสมุดเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวข้องกับผู้ใช้โดยตรง ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีผู้ใช้ห้องสมุดมากขึ้น การบริการที่จัดได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดได้เป็นอย่างดี เพราะจะทำให้ผู้ใช้เกิดความประทับใจ บอกต่อ และต้องการที่จะกลับมาใช้บริการห้องสมุดอีกในโอกาสต่อไป

บริการห้องสมุดโรงเรียน เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรในโรงเรียนและบริเวณใกล้เคียง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน บุคลากรอื่นในโรงเรียน เช่นเจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่การเงิน นักการภารโรง รวมถึงชุมชนรอบโรงเรียน เช่น ผู้ปกครองศิษย์เก่าของโรงเรียน พ่อค้าแม่ค้า ผู้ขับรถรับจ้าง พระสงฆ์สามเณร เป็นต้น

การจัดบริการห้องสมุดที่ดีควรเริ่มตั้งแต่การสร้างบรรยากาศของห้องสมุดโดยจัดสถานที่ให้ดึงดูดใจ น่าเข้าใช้ ทั้งภายนอกและภายในห้องสมุด เน้นความสะอาด สวยงาม ความเป็นระเบียบ และการอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้ให้เข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว มีทรัพยากรห้องสมุดที่มีคุณค่าเหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้ มีความทันสมัยและเพียงพอ มีเจ้าหน้าที่ให้บริการที่ดี มีการจัดการดี และมีการจัดแบ่งงานบริการได้อย่างเหมาะสม

ส่วนกิจกรรมห้องสมุด เป็นงานที่ห้องสมุดจัดขึ้นเป็นครั้งคราวเพื่อส่งเสริมการอ่านและการค้นคว้า การจัดกิจกรรมห้องสมุดจะทำให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมเห็นงานห้องสมุดในที่สุดจะเข้าใจการบริการห้องสมุดมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ครูบรรณารักษ์จึงควรหาโอกาสจัดกิจกรรมบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเข้าใช้บริการห้องสมุดให้มากขึ้น แต่การจัดกิจกรรมจะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ประกอบด้วย งบประมาณ เวล่า และบุคลากร

การจัดบริการห้องสมุด

ห้องสมุดโรงเรียนจะประสบความสำเร็จได้นั้นขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการจัดบริการ ดังนั้น องค์ประกอบที่สำคัญในการจัดบริการห้องสมุด ดังนี้

  1. ทรัพยากรห้องสมุด ครูบรรณรักษ์จะต้องพิจารณาจัดหาให้มีความหลากหลายตรงตามความต้องการ และความสนใจของผู้ใช้ และทันสมัย มีปริมาณให้เพียงพอต่อจำนวนผู้ใช้ห้องสมุด ตลอดจนทรัพยากรห้องสมุด จะต้องตอบสนองความต้องการของหลักสูตรการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ผู้ใช้บริการ ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้บริหาร บุคลากรของโรงเรียน และชุมชน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ทำให้การบริการประสบผลสำเร็จ ครูบรรณรักษ์จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการจัดบริการต่าง ๆ และเข้าใจผู้ใช้บริการแต่ละบุคคลหรือแต่ละกลุ่มที่มีความสนใจและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน เพื่อจัดการบริการให้อย่างเหมาะสม
  3. ผู้ให้บริการ ได้แก่ ครูบรรณรักษ์ ครูช่วยงานห้องสมุด เจ้าหน้าที่ ยุวบรรณารักษ์หรือนักเรียนช่วยงานและบุคคลอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่ให้บริการจะต้องมีความรู้ ทักษะในด้านต่าง ๆ มีจิตใจในการให้บริการ และมีทัศนคติที่ดีและเห็นคุณค่ของงนบริการเพื่อให้สามารถจัดบริกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นที่พี่งพอใจแก่ผู้ใช้บริการ
  4. วิธีการบริการ การจัดบริการห้องสมุดเพื่อเป็นการส่งเสริมการอ่านและการเรียนการสอน วิธีการจัดบริการให้มีประสิทธิภาพ ครูบรรณรักษ์ต้องคำนึงถึงความสะดวกของผู้ใช้บริการทั้งบริการภายในและภายนอกห้องสมุด ผู้ใช้บริการทุกคนมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรห้องสมุดได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ การบริการที่จัดขึ้นต้องให้มีความฉับไว และรวดเร็ว ตลอดจนครูบรรณารักษ์จะต้องให้ความสำคัญแก่ผู้ใช้บริการทั้งผู้ที่ใช้บริการอยู่แล้ว ผู้ที่จะมาใช้บริการ และผู้ที่ควรได้ใช้บริการ
  5. เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ และระบบสื่อสาร ซึ่ปัจจุบันมีบทบาทสำคัญต่อห้องสมุดเพราะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดบริหารจัดการห้องสมุด เช่น บริการยืม – คืน บริการสืบคันฐานข้อมูล เป็นต้น แต่สิ่งสำคัญที่ครูบรรณารักษ์ต้องคำนึงถึงในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งานห้องสมุด ได้แก่ งบประมาณในการบำรุงรักษา ความคุ้มค่า และความพร้อมของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ
  6. สถานที่และสภาพแวดแล้อม ได้แก่ บรรยากาศทางกายภาพของห้องสมุดที่จัดขึ้นต้องอำนวยความสะดวกทั้งในเรื่องอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการใช้บริการ เช่น สถานที่ตั้ง การตกแต่งภายในห้องสมุด การจัดวางวัสดุครุภัณฑ์ แสงสว่าง อากาศ เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับความต้องการและจำนวนของผู้ใช้ เป็นต้น

ขอบคุณที่มา : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. (obec.go.th)

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่