ดาวน์โหลดฟรี แบบฝึกทักษะคัดลายมือ ก-ฮ ไฟล์เวิร์ด แก้ไขได้ แบบฝึกคัดไทย doc

ดาวน์โหลดฟรี แบบฝึกทักษะคัดลายมือ ก-ฮ ไฟล์เวิร์ด แก้ไขได้ แบบฝึกคัดไทย doc

ดาวน์โหลดไฟล์ แบบฝึกทักษะคัดลายมือ ก-ฮ แบบฝึกคัดไทย ใช้ฝึกนักเรียนเพื่อคัดลายมือให้สวยงาม การประกวดแข่งขัน  จึงขอให้ฝึกอย่างเต็มที่ แบบฝึกคัดไทยตามเส้นปะ (เริ่มฝึกใหม่) โปรดดาวน์โหลดลงเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนสั่งพิมพ์ ขอบคุณไฟล์ โรงเรียนเทศบาลอากาศอำนวย(ชุมชนอุปถัมภ์)

การคัดลายมือ เป็นการฝึกเขียนเบื้องต้นที่จำเป็นต้องฝึกปรือตั้งแต่เยาว์วัยให้เคยชินกับการเขียนที่สวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อบ เพราะเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การเขียนได้ถูกต้องคล่องแคล่ว รวดเร็วสวยงาม น่าอ่าน บางคนคิดว่าลายมือไม่สำคัญนัก ถ้าการเขียนนั้นมีเนื้อเรื่องดี มีการแสดงความคิดเห็น ลีลาและสำนวนโวหารดีก็เพียงพอแล้วถือเป็นความเข้าใจผิด เพราะลายมืออ่านไม่ออกไม่ชัดเจน ผู้อ่านก็อ่านไม่ออก ทำให้ไม่เข้าใจ ไม่ทราบคุณค่าของงานเขียนว่าดีอย่างไร

จุดประสงค์ของการคัดลายมือ ดังนี้

  1. เพื่อฝึกการเป็นผู้มีสมาธิในการเขียนตัวอักษรไทย
  2. เพื่อให้เขียนตัวอักษรไทยได้ถูกต้องตามหลักวิธีการต่าง ๆ
  3. เพื่อให้รู้จักการจัดระเบียบ การเว้นวรรคและเว้นช่องไฟได้ประณีตและมีความสม่ำเสมอ ทำให้อ่านง่าย ดูสบายตา
  4. เพื่อให้รู้จักสังเกตแบบอย่างตัวอักษรที่ถูกต้องสวยงามและนำไปเป็นตัวอย่างในการเขียนได้ต่อไป
  5. เพื่อให้มีความภาคภูมิใจ ศรัทธาและรักการเขียนภาษาไทยอันเป็นมรดกและภาษาประจำชาติไทย

ตัวอย่างไฟล์

ดาวน์โหลดฟรี แบบฝึกทักษะคัดลายมือ ก-ฮ ไฟล์เวิร์ด แก้ไขได้ แบบฝึกคัดไทย doc
ดาวน์โหลดฟรี แบบฝึกทักษะคัดลายมือ ก-ฮ ไฟล์เวิร์ด แก้ไขได้ แบบฝึกคัดไทย doc
ดาวน์โหลดฟรี แบบฝึกทักษะคัดลายมือ ก-ฮ ไฟล์เวิร์ด แก้ไขได้ แบบฝึกคัดไทย doc
ดาวน์โหลดฟรี แบบฝึกทักษะคัดลายมือ ก-ฮ ไฟล์เวิร์ด แก้ไขได้ แบบฝึกคัดไทย doc 4

ดาวน์โหลดไฟล์

การคัดลายมือสำคัญอย่างไร

ภาษาไทยเป็นวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ประจำชาติที่ใช้ในการสื่อสาร เพื่อสื่อความหมายและสร้าง ความเข้าใจของคนในสังคม เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความงดงาม และมีคุณค่าอันสูงยิ่ง เป็นสิ่งสะท้อน ที่ แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของชาติ ภาษาไทยเป็นภาษาที่งดงามที่มีความสมบูรณ์ทั้งด้านภาษาพูด และภาษาเขียน สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบของร้อยแก้วและร้อยกรอง ในภาษาเขียนที่นิยมใช้ส่วนใหญ่ เป็นลักษณะแบบร้อยแก้ว มีทั้งการเขียนแบบเรียงความ การเขียนบทความ ฯลฯ แต่การเขียนและการออกเสียงภาษาไทยของเยาวชนไทยในปัจจุบันได้ผิดเพี้ยนไปจากอักขรวิธีของภาษาไทย และขาดทักษะในการเขียน ภาษาไทยให้ถูกสวยงามตามแบบไทย โดยเฉพาะการเขียนลายมือที่ผิดไปจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ อาจารย์เปลื้อง ณ นคร แบ่งประเภทการเขียนลายมือไว้เป็น 3 แบบ คือ


1. เขียนตัวบรรจง หมายถึง เขียนตัวอักษรเต็มบรรทัด (ขนาดตัวหนังสือสูง 8 มิลลิเมตร หรือ 1 เซนติเมตร เป็นอย่างมาก) จะเริ่มฝึกตั้งแต่นักเรียนเริ่มเรียนหนังสือ ในการการเขียนตัวบรรจง ตัวอักษรต้องตรง เรียบ การวางสระ วรรณยุกต์ ช่องไฟถูกต้อง
2. เขียนหวัดแกมบรรจง หมายถึง เขียนตัวอักษรครึ่งบรรทัดเล็กน้อย เป็นการเขียนตามความถนัด ต้องการความรวดเร็ว แต่ยังต้องเขียนตัวอักษรให้เป็นตัว คือ ตัวอักษรต้องชัดเจน
3. เขียนหวัด หมายถึง การเขียนอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องใช้ความประณีตหรือความชัดเจนอะไรนัก สำหรับรูปแบบของตัวอักษรไทยที่ใช้กันในปัจจุบัน แบ่งตามลักษณะอักษรได้ 2 ประเภท คือ


1. ประเภทตัวเหลี่ยม มีเส้นตรงเป็นส่วนประกอบได้แก่ แบบอาลักษณ์ แผนกอาลักษณ์ กองประกาศิต สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีใช้เป็นแบบคัดของทางราชการ เป็นลายมือไทยที่สวยงาม ใช้เขียนเพื่อใช้ในงานเกียรติยศต่าง ๆ


2. ประเภทตัวกลมหรือตัวมน มีส่วนโค้งเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ แบบขุนสัมฤทธิ์วรรณการ กระทรวงธรรมการใช้เป็นแบบฝึกหัดลายมือของนักเรียนในสมัยก่อน และโรงพิมพ์ต่าง ๆ ใช้เป็นแบบทำสมุดคัดลายมือจำหน่าย แบบกระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการได้ดัดแปลงจากตัวอักษรแบบ ขุนสัมฤทธิ์วรรณการ เพื่อทำเป็นแบบฝึกหัดคัดลายมือใช้ในโรงเรียนประถมศึกษาของโรงเรียน รัฐบาลทั่วประเทศตั้งแต่ พ.ศ.2520 แบบราชบัณฑิตยสถาน เป็นแบบตัวอักษรตัวกลม ซึ่งราชบัณฑิตยสถานกำหนดขึ้น (ในปี 2540) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างตัวอักษรไทยทั้งการเขียน และการพิมพ์รวมทั้งเพื่อประโยชน์ในการออกแบบ ตัวอักษรไทยมาตรฐานที่จะใช้ในกิจการคอมพิวเตอร์

การเขียนเป็นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารของมนุษย์ในเชิงแสดงออกโดยที่ใช้ตัวอักษรแทนคำพูด เพื่อให้ผู้อื่นได้รับทราบ และเกิดการตอบสนองตามที่ผู้เขียนต้องการ การเขียนจึงเป็นทั้งศิลป์และศาสตร์อยู่ในตัวเอง การเขียนเป็นศิลปะที่ต้องประกอบด้วยความประณีต ภาษาที่งดงาม สามารถสื่อสารได้ทั้งความรู้ ความคิด อารมณ์ และความปรารถนาให้ได้ ซึ่งการใช้ภาษาให้งามนั้นนับเป็นศิลปะชั้นสูงอย่างหนึ่งของมนุษย์ ส่วนที่กล่าวว่าการเขียนเป็นศาสตร์ก็เพราะการเขียนทุกชนิดต้องประกอบด้วยความรู้ หลักการวิธีการและทฤษฎีต่าง ๆ การเขียนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในโลกของการสื่อสารปัจจุบัน ซึ่งสามารถสรุปความสำคัญของการเขียนไว้ดังนี้


– การเขียนทำให้เกิดความรู้ ความคิด เกิดความเข้าใจกัน
– การเขียนทำให้เกิดอาชีพและการพัฒนาอาชีพ
– การเขียนทำให้ทราบความต้องการของบุคคลและสังคม
– การเขียนเป็นสื่อทำให้เกิดนันทนาการ
– การเขียนทำให้สังคมสงบสุข
– การเขียนเป็นเครื่องมือแสดงภูมิปัญญาของมนุษย์
– การเขียนหากยึดเป็นอาชีพก็เป็นอาชีพที่ได้รับความยกย่องมากอย่างหนึ่งในปัจจุบัน

ฉะนั้น การเขียนเป็นวิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพอีกวิธีหนึ่งที่มนุษย์สามารถถ่ายทอดความรู้ ข้อเท็จจริง ความคิด จินตนาการ ความรู้สึกและอารมณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ส่วนการเขียนจะมีคุณภาพมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับ ความสามารถของผู้เขียนและการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอเป็นสำคัญ

ขอบคุณไฟล์ โรงเรียนเทศบาลอากาศอำนวย(ชุมชนอุปถัมภ์)

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่