การลดธงครึ่งเสาที่ถูกวิธี – ความหมายของ การลดธงครึ่งเสา

การลดธงครึ่งเสา (ภาษาอังกฤษ half-staff, half-mast) คือ ชักธงขึ้นที่เสาธงใดๆ เพียง 1 ใน 3 หรือ 2 ใน 3 ของความยาวเสาธงหรือเสาธงเรือ (ขึ้นอยู่กับกรณีตามที่แต่ละประเทศกำหนด) เพื่อเป็นเครื่องหมาย แสดงความเคารพหรือการไว้ทุกข์ ต่อผู้ตาย ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญ

การลดธงครึ่งเสาที่ถูกวิธี – ความหมายของ การลดธงครึ่งเสา

การลดธงครึ่งเสาที่ถูกวิธี

ให้ทำตาม ดังนี้

  1. หลังจากที่ชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาแล้ว
  2. ให้ลดธงลงมาที่ความสูง 1 ใน 3 ของเสา (นับจากยอด) ไม่ใช่ลดธงลงมาที่ตำแหน่งครึ่งเสาอย่างในภาษาพูด
  3. และเมื่อลดแล้ว ธงของบริษัทหรือธงตราสัญลักษณ์สำคัญในวาระต่างๆ ที่ทางราชการประกาศออกมา จะต้องถูกลดตามไปด้วย โดยจะต้องลดลงมาไม่ให้ธงที่เหลือโดยรอบ อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าธงชาติ ถึงแม้ว่าจะไม่มีประกาศจากทางราชการ แต่เพราะความในพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522 ได้มีการระบุอย่างชัดเจนว่า “ห้ามธงอื่นใดในราชอาณาจักรถูกชักสูงกว่าธงชาติไทย”

ช่วงเวลาในการลดธง – ช่วงเช้า – ช่วง 6 โมงเย็น

สำหรับการลดธงชาตินั้น ช่วงเช้าจะทำหลังจากที่ธงได้ขึ้นสู่ยอดเสาแล้ว ส่วนช่วง 6 โมงเย็น ให้ชักธงชาติขึ้นจนสุดยอดเสาก่อนเพลงชาติเริ่มต้น และลดธงลงจากเสาตามปกติจนจบเพลงชาติ จึงปลดธงชาติแล้วพับวางบนพาน นำไปเก็บที่อันสมควร

การไว้ทุกข์ด้วยธงชาติในบางประเทศ

สำหรับบางประเทศ ยังอาจมีธรรมเนียมที่ต่างออกไป เช่น

ในกรณีของประเทศญี่ปุ่น จะมีการเพิ่มแถบผ้าสีดำไว้เหนือธงชาติ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการไว้ทุกข์
ธงชาติซาอุดีอาระเบียไม่มีการลดธงครึ่งเสา : สำหรับธงชาติซาอุดีอาระเบีย ธงชาติโซมาลีแลนด์ ธงชาติอิหร่าน ธงชาติอัฟกานิสถานและธงชาติอิรัก ถือเป็นธงชาติที่จะไม่มีการลดธงครึ่งเสา เนื่องจากข้อความชะฮาดะฮ์ หรือ(และ) ตักบีร์บนธง มีความหมายถึง พระนามของอัลลอฮ์ (พระเจ้า) จึงไม่อาจใช้ธงนี้เป็นสัญลักษณ์ในการแสดงความอาลัยได้

การลดธงครั้งแรกในไทย

การลดธงครึ่งเสาเพื่อแสดงความไว้อาลัย ต่อการสูญเสียบุคคลสำคัญของประเทศ ครั้งแรกในสยาม เกิดขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อคราว สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีสวรรคต (ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ สิ้นพระชนม์) เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2404 บรรดาฝรั่งลดธงลงครึ่งเสา 3 วัน

ขอบคุณที่มา : https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/135375.html

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่