6 ขั้นตอนการเขียน Mind Mapping ให้ถูกต้อง แบบง่าย ใช้งานได้จริง

6 ขั้นตอนการเขียน Mind Mapping ให้ถูกต้อง แบบง่าย ใช้งานได้จริง

ชวนทุกท่านมารู้จักกับ มายแมพ หรือ มายแมพปิ้ง ที่ทุกคนรู้จักกันนั่นเอง การทำแผนที่ความคิดหรือ Mind Mapping เป็นการสรุปองค์ความรู้ให้อยู่ในรูปแบบภาพวาด เชื่อมโยงความรู้ ให้เกิดความคิดที่เป็นอิสระจากปัญหาที่เป็นศูนย์กลาง ออกไปสู่วิธีแก้ปัญหาต่างๆ ที่แปลกและแตกต่างจากเดิม

MIND MAP (มายด์แม็ป) หรือ แผนที่ความคิด คือ เทคนิคการคิด และวิธีการจดบันทึกความคิดของเรา เปรียบเสมือนการจำลองความคิดจากสมองลงสู่กระดาษ โดยออกมาในลักษณะคล้ายแผนที่ แผนภาพ ที่แตกแขนงออกเหมือนกิ่งไม้ และเชื่อมโยงกัน เหมือนเซลล์ประสาทในสมอง โดยจะใช้ภาพ เส้น สี สัญลักษณ์ และคำสำคัญ มาใช้วาดจากตรงกลางแล้วกระจายความคิดออกไป แทนการเขียนบันทึกด้วยตัวอักษรเรียงเป็นบรรทัดยาว ๆ ตัวอย่าง การเขียน mind map ออกแบบมายแมพปิ้งสวยๆ มายแมพปิ้งสวยๆ ง่ายๆ mind mapping สวยๆ ดังนี้

เทคนิคการเขียน Mind Mapping ให้ถูกต้อง
เทคนิค การเขียน Mind Mapping ให้ ถูกต้อง
ที่มา : https://dol.thaihealth.or.th

6 ขั้นตอนการเขียน Mind Mapping

การเขียน mind map มี กี่ ขั้น ตอน

6 ขั้นตอนการเขียน Mind Mapping ให้ถูกต้อง แบบง่าย ใช้งานได้จริง
มายแมพรากไม้ ที่มา :: https://learningfundamentals.com.au/resources/

1. เริ่มวาดที่จุดกึ่งกลางของกระดาษ

โดยการเริ่มต้นที่จุดกึ่งกลางจะทำให้สมองของเราเป็นอิสระ พร้อมที่แตกหน่อความคิดออกไปยังทุกทิศทางเรียงตามลำดับที่เราต้องการได้เลย

2. ใช้รูปภาพหรือวาดรูปประกอบ

ทั้งนี้ รูปภาพมีความหมายนับล้านคำและยังช่วยให้เราได้ใช้จินตนาการไปในตัวอีกด้วย ภาพที่อยู่ตรงกึ่งกลางเราควรที่จะทำให้เด่น ดูน่าสนใจ จะช่วยทำให้เรามีจุดโฟกัสที่แน่นอน

3. ใช้ปากกาหลากหลายสี เพื่อสร้างความจดจำ สีสันและจินตนาการ

โดยสามารถนำ ปากกาหลากหลายสี มาเติมแต่ง Mind Mapping ของเราให้ออกไปในรูปแบบที่ต้องการ ซึ่งสีจะทำให้สมองของเราได้ตื่นตัว สีสันจะทำให้ดูมีชีวิตชีวาน่าอ่านมากยิ่งขึ้น แถมการนั่งวาดภาพระบายสียังทำให้เราได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์ไปในตัวอีกด้วย

4. วาดกิ่งออกมาจากภาพตรงกลาง เพื่อเชื่อมโยง 

แล้วแตกกิ่งก้านสาขาออกมาตามที่สมองเราจะคิดได้ ต้องให้เส้นเชื่อมต่อกัน เพราะว่าสมองของมนุษย์ทำงานแบบเชื่อมโยงเข้าหากันเช่นกัน

5. วาดเส้นกิ่งให้โค้งดีกว่าวาดแบบเส้นตรง

เพราะการวาดเส้นตรงมันดูน่าเบื่อและไม่น่าสนใจนั่นเอง

6. ใช้เพียงแค่คีย์เวิร์ดเท่านั้น เป็นคำสั้นๆ เพื่อแตกข้อมูลอธิบายเพิ่ม

สำหรับเส้นกิ่งแต่ละเส้นควรใช้คำที่สั้นๆ หรือที่เป็นคีย์เวิร์ดเข้าใจง่าย เพราะการที่เราใช้คำที่เป็นคีย์เวิร์ดนั้น จะทำให้เราสามารถยืดหยุ่น Mind Mapping ได้ดียิ่งขึ้นและจำได้เร็วมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นจุดเด่นทำให้เราสามารถอ่านได้ง่าย

ลองนำทริคที่แนะนำไปทำ Mind Mapping เพื่อเสริมข้อมูล ถือเป็นการจัดระเบียบและกระตุ้นสมองไปอีกทางหนึ่งอีกด้วย

ขอบคุณที่มา : https://campus.campus-star.com/ | LearnEducation 

1 ความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่