ตัวอย่าง การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ ทุกระดับ ตามกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ กฎกระทรวงฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๑๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติลูกเสือพ.ศ. ๒๕๐๗
เครื่องแบบผู้บังคับบัญชาลูกเสือ เหล่าเสนา
การแต่งกายของผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียนและรองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน
การแต่งกายของผู้กำกับกลุ่มลูกเสือโรงเรียน
การแต่งกายของรองผู้กำกับกลุ่มลูกเสือโรงเรียน
การแต่งกายของผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
การแต่งกายของรองผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
เครื่องแบบผู้กำกับและรองผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (ชาย) เหล่าเสนา
เครื่องแบบผู้กำกับและรองผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (หญิง) เหล่าเสนา
เครื่องแบบผู้กำกับและรองผู้กำกับลูกเสือสามัญ (ชาย) เหล่าเสนา
เครื่องแบบผู้กำกับและรองผู้กำกับลูกเสือสามัญ (หญิง) เหล่าเสนา
เครื่องแบบลูกเสือ
การแต่งเครื่องแบบลูกเสือกางเกง ชายกางเกงขาสั้น
ผ้าผูกคอ ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8 เชียงราย,เชียงใหม่,น่าน,พะเยา,แพร่
,แม่ฮ่องสอน,ลำปางและลำพูน ใช้ผ้าผูกคอสีชมพูบานเย็น
ด้านหลังใช้เป็นตราของจังหวัด จังหวัดแพร่ รูปม้ายืนมีพระธาตุช่อแฮ่อยู่บนหลัง ข้อมูลผ้าผูกคอตามสังกัดเขตการศึกษาในอดีต, ข้อมูลตราจังหวัดทั่วประเทศ )
หมวก
ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ สวมหมวกทรงอ่อน(เบเรต์) สีเลือดหมู
ป้ายชื่อ
ทุกคนต้องติดป้ายชื่อที่เหนือกระเป๋าข้างขวาเมื่อแต่งเครื่องแบบครบ เขียนชื่อ-สกุล
เครื่องหมายหมู่ ใช้อนุโลมตามเครื่องแบบลูกเสือตามกฎกระทรวง
สำรอง ใช้ผ้าสีเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ติดแขนซ้ายให้มุมแหลมอยู่ด้านบน
สามัญและผู้นำ ใช้ริบบิ้นสีเป็นแถบยาว
สามัญรุ่นใหญ่ ใช้เครื่องหมายสี่เหลี่ยมแถบสีติดที่ไหล่
เครื่องหมายนายหมู่
สำรอง ใช้แถบผ้าสีเหลือง กว้าง 1 ซม. ยาวรอบแขนเสื้อและรองนายหมู่ข้างซ้าย ให้แถบแรกห่าง
จากปลายแขนเสื้อ 5 ซม. แถบที่ 2 ห่างจากแถบแรก 1 ซม. นายหมู่ใช้ 2 แถบ รองนายหมู่ใช้ 1 แถบ
สามัญและผู้นำ ใช้แถบผ้าสีขาว กว้าง 1.5 ซม. ยาวตามกระเป๋ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
สามัญรุ่นใหญ่ ใช้แถบผ้าสีเลือดหมู่ กว้าง 1.5 ซม. ยาวตามกระเป๋ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า นายหมู่ 2 แถบ รองนายหมู่ 1 แถบ พลาธิการใช้แถบผ้ามีอักษร “พ” สีตามประเภทติดเช่นเดียวกับเครื่องหมายนายหมู่ลูกเสือ ติดที่กระเป๋าเสื้อข้างซ้าย
วิสามัญ ใช้สีแดงลักษณะเช่นเดียวกับสามัญ ติดที่กระเป๋าเสื้อข้างซ้าย นายหมู่ใช้ 2 แถบ
รองนายหมู่ ใช้ 1 แถบ (ดูกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ)
เครื่องหมายพลาธิการ
ใช้แถบผ้ามีอักษร “พ” สีตามประเภท รูปสี่เหลี่ยมเช่น
เดียวกับเครื่องหมายนายหมู่ลูกเสือ ติดที่กระเป๋าเสื้อข้างซ้าย
การตั้งชื่อหมู่และสีประจำหมู่ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
1. หมู่ศรีอินทราทิตย์ สีน้ำเงินแก่ / สีเหลือง
2. หมู่รามคำแหง สีเขียว / สีขาว
3. หมู่อู่ทอง สีแดง / สีเหลือง
4. หมู่บรมไตรโลกนาถ สีน้ำเงิน/สีแดง
5. หมู่พระมหาจักรพรรดิ สีดำ / สีเหลือง
6. หมู่สุริโยทัย สีขาว/เขียว
7. หมู่นเรศวร สีน้ำตาล / สีเหลือง
8. หมู่เอกาทศรถ สีน้ำตาล / สีขาว
9. หมู่ปราสาททอง สีฟ้า / สีเหลือง
10. หมู่พระนารายณ์ สีเหลือง / สีดำ
11. หมู่โกษาปาน สีเขียว/สีเหลือง
12. หมู่โกษาเหล็ก สีเขียวแก่/สีฟ้า
13. หมู่พันท้ายนรสิงห์ สีเหลือง / สีน้ำเงินแก่
14. หมู่พระเจ้าตาก สีแดง / สีน้ำเงิน
15. หมู่พระพุทธยอดฟ้า สีฟ้า / สีขาว
16. หมู่เทพกษัตรีย์ สีขาว/สีฟ้า
17.หมู่ศรีสุนทร สีเขียวแก่/สีแดง
บทบาหน้าที่ความรับผิดชอบภายในหมู่ คือ
1. นายหมู่
2. รองนายหมู่
3. พลาธิการ
4. คนครัว
5. ผู้ช่วยคนครัว
6. คนหาน้ำ
7. คนหาฟืน
8. ผู้มีหน้าที่ช่วยเหลือทั่วไป
( อัตรากำลังของหมู่เป็นไปตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษ ฯลฯ หมู่ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่จัด 4 – 8 คน หมู่ลูกเสือวิสามัญ 4 – 6 คน จัดกลุ่ม-กอง จัดกองละ 2-6 หมู่ ในหนึงกลุ่ม มี 4กองเป็นต้นไป)
เครื่องแบบลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่เหล่าเสนา
เครื่องแบบเนตรนารีสามัญเหล่าเสนา
เครื่องแบบลูกเสือสามัญเหล่าเสนา
เครื่องแบบเนตรนารีสามัญเหล่าเสนา