จิตวิทยาสำหรับครูคืออะไร ความสำคัญของจิตวิทยาสำหรับครู

จิตวิทยาสำหรับครูคืออะไร ความสำคัญของจิตวิทยาสำหรับครู

งานหลักสำคัญของครู คือ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพทั้งค้านกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าสามารถพึ่งพาตนเอง
สร้งสรรค์ชุมชน สังคมและประเทศชาติ มีความรู้และมีคุณธรรมในการดำเนินชีวิต การที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ครูต้องให้ความสำคัญกับทุกองค์ประกอบ ได้แก่ ผู้เรียน
ผู้สอน วิธีสอน สื่อ ฯลฯ โดยเฉพาะตัวผู้เรียนซึ่งล้วนแต่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นการที่ครูมีความเข้าใจในจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้สู่เป้าหมาข
คังกล่าวจึงถือว่าสำคัญ จิตวิทยาสำหรับครู ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ด้านจิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาการศึกษา หลักและเทคนิคทางจิตวิทยา ที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอนการดูแลช่วยเหลือ การพัฒนาบุคลิกภาพผู้เรียน การสร้างความสัมพันธ์และบรรยากาศในการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างราบรื่นมีความสุข ย่อมส่งผลดีต่อการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและถือว่าเป็นภาระหน้าที่อันสำคัญของครู ดังคำกล่าวที่ว่า “ครูที่มีหลักทางจิตวิทยาย่อมจะสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้” เลสเซอร์ (Lesser. 1971) เป็นผู้หนึ่งในหลาย ๆ คน ที่มองเห็นว่า ความก้าวหน้าในการสอนจะเกิดขึ้นด้วยการจัดให้ครูได้รับความรู้หรือได้อภิปรายเกี่ยวกับเรื่องหลักทางพฤติกรรมศาสตร์ และการนำไปใช้ในชั้นเรียน ดังนั้นการ ให้ครูเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทางจิตวิทยา และสามารถนำไปใช้ได้ ข่อมเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการจัดการเรียนการสอน

จิตวิทยาสำหรับครู

ความหมายของจิตวิทยาการเรียนรู้

จิตวิทยาการเรียนรู้ หมายถึง จิตวิทยาที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ และมุ่งพัฒนาการทางสติปัญญา ความสามารถ ให้สามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้เรีขนไปแล้วมาใช้ในสถานการณ์ใหม่ได้
จิตวิทยาการเรียนรู้จะช่วยให้การศึกบาบรรลุเป้าหมายความหมายของการเรียนรู้ การเรียนรู้ (Learning) เป็นธรรมชาติที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นตามความจำเป็นของการดำรงชีวิต เป็นสิ่งที่มนุษย์ไส้รับมาจากประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน เช่น จากครอบครัว จากการทำงานจากการร่วมกิจกรรมในสังคมโดยไม่อาจรู้ใด้ว่าการเรียนรู้นั้นได้เกิดขึ้นเมื่อใดความหมายของการเรียนรู้จึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่บุคคลได้รับจากประสบการณ์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ (ที่มา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม)

ลักษณะของการเรียนรู้ ที่สำคัญมีดังนี้

  • ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคล
  • เป็นผลที่บุคคลได้รับมาจากการฝึกฝนหรือกระทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ
  • เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลที่ค่อนข้างถาวร ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงชั่วขณะการเรียนรู้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในค้านต่าง ๆ คังนี้
  1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านความรู้ (Cognitive Domain) ความคิด ความจำ ความเข้าใจ
  2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ (Affective Domain) ความรู้สึกนึกคิดจิตใจ เช่น ความเชื่อ ความสนใจ ทัศนคติ ค่านิยม เป็นต้น
  3. การเปลี่ยนแปลงด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (Psychomotor Domain) เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านของทักษะหรือความชำนาญ เช่น ร่างกาย การเล่นกีพา เป็นต้น

จะเห็นได้ว่ายุคนี้ จิตวิทยามีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอน หรือใช้ในชีวิตจริง โดยอาชีพครูการจะเป็นครูที่ดีนั้นจะต้องมีความเป็นครูออกมาจากเนื้อแท้ มีจิตวิญญาณ และที่สำคัญจิตวิทยาครูยังมีส่วนสำคัญอีกด้วย โดยมีดังนี้

ความสำคัญจิตวิทยาสำหรับครู

สุรางค์ โค้วตระกูล (2544) กล่าวว่า วิชาจิตวิทยาการศึกษาสามารถช่วยครูได้ในเรื่องต่อไปนี้ (ที่มา ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)

  1. ช่วยครูให้รู้จักลักษณะนิสัย (Characteristics) ของนักเรียน โดยทราบหลักพัฒนาการทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และบุคลิกภาพของนักเรียนในภาพรวม
  2. ช่วยให้ครูมีความเข้าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพของนักเรียน เช่น อัตมโนทัศน์ (Self-Concept ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และเรียนรู้ถึงบทบาทของครูในการที่จะช่วยนักเรียนให้มีอัตมโนทัศน์ที่ดีและถูกต้องได้อย่างไร
  3. ช่วยครูให้มีความเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อจะได้ช่วยนักเรียนเป็นรายบุคคลให้พัฒนาตามศักยภาพของแต่ละบุคคลในทิศทางที่เหมาะสม
  4. ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก่วัย และพัฒนาการของนักเรียน ในแต่ละขั้น เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจและอยากที่จะเรียนรู้
  5. ช่วยให้ครูทราบถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เช่น แรงจูงใจ อัตมโนทัศน์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการตั้งความคาดหวังของครูที่มีต่อนักเรียน เป็นต้น
  6. ช่วยครูในการเตรียมการสอน การวางแผนการเรียน เพื่อทำให้การสอนมีประสิทธิภาพและสามารถช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคลได้อย่างเต็มที่ โดยคำนึงถึงหัวข้อต่อไปนี้
    • 6.1) ช่วยครูเลือกวัตถุประสงค์ของบทเรียน โดยพิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน
    • 6.2) ช่วยครูในการเลือกหลักการสอนและวิธีสอนที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความแตกต่างของนักเรียน วิชาที่สอน และกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายบุคคล
    • 6.3) ช่วยครูในการประเมินความพร้อมของนักเรียน ผลการเรียนของนักเรียน และผลการสอนของครู เพื่อจะได้ทราบว่านักเรียนมีความก้าวหน้าหรือมีปัญหาในการเรียนรู้อะไรบ้าง
  7. ช่วยครูให้ทราบหลักการและทฤษฎีของการเรียนรู้ที่นักจิตวิทยาได้พิสูจน์แล้วว่าได้ผลดีซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
  8. ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งพฤติกรรมของครูที่มีการสอนอย่างมีประสิทธิภาพว่ามีอะไรบ้าง
  9. ช่วยครูให้ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเรียนรู้ เช่น ความพร้อม ความสนใจ อารมณ์แรงจูงใจ เจตคติ หรืออัตมโนทัศน์ของนักเรียน เป็นต้น
  10. ช่วยครูในการปกครองชั้นเรียน และการสร้างบรรยากาศของห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนรักและมีความสุขในการเรียนรู้ และอยากมาโรงเรียน

ครูที่สามารถนำหลักจิตวิทยามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน จะทำให้การสอนประสบความสำเร็จ ดังนั้นการเข้าใจเรื่องของจิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการเรียนรู้ ตลอดจน หลักการทางจิตวิทยาที่จะนำมาใช้ในชั้นเรียน การอบรมดูแล การสร้างความเข้าใจนักเรียน การพัฒนานักเรียนให้เป็นคนมีคุณภาพของสังคม จึงเป็นสิ่งสำคัญ การที่ครูเข้าใจพัฒนาการของผู้เรียนจะช่วยให้ครูยอมรับในความแตกต่างของเด็กแต่ละคน ช่วยให้ครูจัดการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับความพร้อมของเด็ก ส่งเสริมพัฒนาการได้เหมาะสม สามารถนำความรู้มาใช้ในการอบรมสั่งสอน พัฒนาบุคลิกภาพของเด็กได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งนับว่าเป็นหน้าที่หลักอันสำคัญของครูเพร าะงานครูคืองานส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเด็กให้ถึงที่สุด สร้างสรรค์ และปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้เป็นพลเมืองดีมีคุณภาพ อันจะเป็นทรัพยากรของธรรมชาติต่อไปจิตวิทยาสำหรับครูจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญต่องานครูเป็นอย่างยิ่ง

สรุปจิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาสำหรับครู

สรุปจิตวิทยาสําหรับครู ข้อสอบ จิตวิทยาสําหรับครู มีอะไรบ้าง จิตวิทยาสำหรับครู ในการจัดการ เรียนการสอน สำหรับอ่านสอบ รายละเอียดดังนี้

จิตวิทยา คืออะไร

จิตวิทยา คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม และกระบวนการของจิต โดยอาศัยวิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ในการค้นหาความรู้

จากความหมายของวิชาจิตวิทยา จะเห็นได้ว่า มีคำสำคัญอยู่ 3 คำ ได้แก่ พฤติกรรม(Behavior) กระบวนการทางจิต(Mental Process) และ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์(Scientific Study)

1.พฤติกรรม คืออะไร

พฤติกรรม หมายถึง
– การกระทำหรือการแสดงออกที่สามารถสังเกตได้หรือไม่ก็ตามหรือโดยเจ้าตัวจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว
– ตัวอย่างของพฤติกรรม การพูด การเดิน การหัวเราะ การเต้นของหัวใจ ความคิด เป็นต้น

พฤติกรรมอาจแบ่งออกได้ 2 ประเภท

1) พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior)
– เป็นการกระทำที่แสดงออกมาให้สังเกตเห็นได้ รับรู้ได้
– ใช้เครื่องมือตรวจสอบได้พฤติกรรมภายนอกมี 2 ลักษณะคือ
(1) โมลาร์ (Molar) คือ สังเกตเห็นได้ด้ายตาเปล่า เช่น การนั่ง การนอน การยืน ฯลฯ
(2)โมเลคิวลาร์ (Molecular) คือ ใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตรวจสอบ เช่น คลื่นสมอง คลื่นหัวใจ ความดันโลหิต เป็นต้น

2) พฤติกรรมภายใน(Covert Behavior)
– เรียกอีกอย่างก็คือ ความในใจ
– เป็นพฤติกรรมที่เจ้าตัวเท่านั้นจึงจะรู้ดี
– ถ้าไม่บอกใคร ไม่แสดงออกก็ไม่มีใครรู้ได้ดี
– ตัวอย่าง การจำ ความคิด จินตนาการ การฝัน เป็นต้น

ประเด็นข้อสอบจริง จิตวิทยาสำหรับครู

->(ข้อสอบจริงครูสพฐ. 63)
ข้อใดคือพฤติกรรมภายใน
ตอบ ความคิด ความรู้สึก

2. กระบวนการทางจิต คืออะไร

กระบวนการของจิต หมายถึง
– กระบวนการที่เกิดขึ้นภายในสมองของบุคคล หรืออินทรีย์(Organism)
– ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง
– ต้องอาศัยเครื่องมือบางอย่างเพื่อที่จะศึกษากระบวนการเหล่านี้ เช่น การฝันต้องอาศัยเครื่องมือวัดคลื่นสมอง ความจำต้องอาศัยการทดสอบ เป็นต้น
>> ตัวอย่าง ได้แก่ การรับรู้ การคิด การจำ การลืม ฯลฯ

3. การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์

การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ หมายถึง
– การใช้วิธีการสังเกต การพรรณา และการทดลอง
– เพื่อที่จะรวบรวมความรู้ แล้วจัดความรู้นี้ให้เป็นระบบ


กลุ่มแนวคิดทางจิตวิทยาการศึกษาที่สำคัญของโลก

1. กลุ่มโครงสร้างของจิต(Structuralism)

ผู้ก่อตั้งจิตวิทยาการศึกษา

ก่อตั้งโดย วุ้นท์(Wilhelm Maximilian Wundt) เขาเป็นบิดาแห่งจิตวิทยา หรือบิดาจิตวิทยาการทดลอง

จุดหมายของกลุ่มโครงสร้างของจิต

เป็นกลุ่มแรกที่มีแนวคิดเป็นวิทยาศาสตร์ พฤติกรรมของบุคคลเกิดจากการกระทำของร่างกายโดยการควบคุม สั่งการของจิต โดยจิตเป็นโครงสร้างจากองค์ประกอบเล็กๆที่เรียกว่า จิตธาตุ ซึ่งมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่
1) การสัมผัส คือ การที่อวัยวะสัมผัสรับพลังงานจากสิ่งเร้า เช่น มือแตะของร้อน เป็นต้น
2) ความรู้สึก คือ การแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้านั้นๆ
3) มโนภาพ คือ การคิดออกมาเป็นภาพในจิต

ประเด็นข้อสอบจริง

->(ข้อสอบครูกรณีพิเศษ. 60)
บิดาแห่งจิตวิทยาคือใคร
ตอบ วุ้นท์(Wilhelm Maximilian Wundt)

2. กลุ่มหน้าที่ของจิต (Functionalism)

ผู้ริเริ่มแนวคิดจิตวิทยาการศึกษา

– จอห์น ดิวอี้ (John Dewey)
– วิลเลียม เจมส์ (William James )

จุดหมายของกลุ่มหน้าที่ของจิต

– เน้นศึกษาการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ของตนเอง
– เน้นผู้เรียนให้ใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ตนเองโดยความรู้จะเกิดขึ้นได้จากความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
– บุคคลจะได้รับความรู้ก็ต่อเมื่อตนเองเป็นผู้ลงมือกระทำเอง(Learning by doing)
->>ผู้เป็นเข้าของแนวคิด Learning by doing ก็คือ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey)

ประเด็นข้อสอบจริง จิตวิทยาสำหรับครู

->(ข้อสอบจริงครูสพฐ. 57)
Leaning by doing เป็นการจัดการเรียนรู้นักจิตวิทยากลุ่มใด
ตอบ Fuctionalism(กลุ่มหน้าที่ของจิต)

3. กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)

ผู้ริเริ่มแนวคิดจิตวิทยาการศึกษา

– ซิกมันด์ ฟรอยด์(Sigmund Freud)

จิตวิทยาสำหรับครูคืออะไร ความสำคัญของจิตวิทยาสำหรับครู
จิตวิทยาสำหรับครูคืออะไร ความสำคัญของจิตวิทยาสำหรับครู
รูป ซิกมันด์ ฟรอยด์(Sigmund Freud)

จุดหมายของกลุ่มจิตวิเคราะห์

เชื่อว่าพฤติกรรมเกิดจากแรงขับทางเพศ โดยแบ่งจิตของมนุษย์เป็น 3 ระดับ ซึ่งเปรียบเสมือนภูเขา ที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร
1) จิตรู้สำนึก คือ การแสดงอะไรออกไปตามเหตุผล รู้ตัว
2) จิตใต้สำนึก คือ การไม่รู้ตัวในบางขณะ อาจเพราะลืม
3) จิตไร้สำนึก คือ สภาพของจิตภายในที่เจ้าตัวไม่รู้สึกตัวเลย ไม่รู้ตัวว่าอิจฉาคนอื่น

ทฤษฎีพลังจิตของฟรอยด์ มี 3 ลักษณะ คือ

1) อิด(Id)
– เป็นความต้องการโดยไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น
ตัวอย่าง เงินคนอื่นหล่นจะมีคนเห็นหรือไม่ก็ตาม คนประเภทนี้จะเอาทันทีไม่สนใจใครทั้งสิ้น

2) อีโก้ (Ego)
– เป็นส่วนที่พอประนีประนอมได้ระหว่าง Id กับ Super Ego
ตัวอย่าง เงินคนอื่นหล่น หากไม่มีคนเห็นขณะเราเก็บได้ก็จะเก็บเอาเป็นของตน แต่ถ้ามีคนเห็นขณะเก็บก็จะนำไปส่งคืน

3) ซูปเปอร์อีโก้ (Super Ego)
– เป็นการที่สามารถควบคุม Id และ Ego ได้
– เปรียบเสมือนคุณธรรมในจิต ด้านของความดี ความถูก ผิด เป็นที่พึงปารถนาสูงสุดของสังคม
ตัวอย่าง เก็บเงินได้แล้วนำเงินไปคืนเจ้าของโดยที่มีคนเห็นขณะเก็บหรือไม่ก็ตาม

ประเด็นข้อสอบจริง จิตวิทยาสำหรับครู

->(ข้อสอบจริงครูสพฐ. 57)
พฤติกรรมมนุษย์เกิดจากแรงขับทางเพศ คือจิตวิทยากลุ่มใด
ตอบ กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)

>(ข้อสอบจริงครูสพฐ. 57)
ข้อใดเป็นการแสดงให้เห็นถึงการมี super ego
ตอบ เก็บเงินได้แล้วนำเงินไปคืนเจ้าของโดยที่มีคนเห็นขณะเก็บหรือไม่ก็ตาม

>(ข้อสอบจริงครูกรณีพิเศษ 59)
ID คืออะไร
ตอบ ความต้องการโดยไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น

->(ข้อสอบจริงครูกรณีพิเศษ 59)
super ego คืออะไร
ตอบ คุณธรรมในจิตสูงสุด

->(ข้อสอบครูกรณีพิเศษ. 60)
จิตรู้สำนึก ไรสำนึก ใต้สำนึก ตรงกับหลักทฤษฎีของใคร
ตอบ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)

4. กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงของกลุ่มพฤติกรรมนิยม

=> ธอนไดค์ (Thorndike)
– เป็นบิดาจิตวิทยาการศึกษา
– เน้นการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก
=> วัตสัน (Watson)
– เป็นบิดาจิตวิทยาพฤติกรรม
– เป็นบิดาจิตวิทยาแผนใหม่
=> พาฟลอฟ (Palov)
– เจ้าของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค

แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม

– เชื่อมั่นว่า ถ้าสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ได้ จะทำให้มนุษย์คนนั้นมีพฤติกรรมอะไรก็ได้ตามที่ต้องการจะให้เป็น
– เชื่อว่าพฤติกรรมมีสาเหตุเกิดจาก การตอบสนองต่อสิ่งเร้า
– พฤติกรรมทำให้ทราบถึงเรื่องราวของจิตได้
– การวางเงื่อนไขเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
– พฤติกรรมส่วนใหญ่เกิดจากการเรียนรู้มากกว่าเกิดเองตามธรรมชาติ
– การเรียนรู้ของคนกับสัตว์ไม่ต่างกัน

5. กลุ่มทฤษฎีสติปัญญา(Cognitive Theory)

กลุ่มทฤษฎีสติปัญญามีหลายทฤษฎีที่ควรทราบได้แก่

1) ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์

บุคคลสำคัญของกลุ่มนี้

– เวอร์ไธแมอร์ (Max Wertheimer)
– คอฟก้า(Koffka)
– โคห์เลอร์(Kohler)**จำคนนี้ให้ได้
– เลวิน (Lewin)

แนวคิดของกลุ่มเกสตัลท์

– การเรียนรู้เกิดจากกระบวนการทางความคิด
– บุคคลจะเกิดการเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย

=>การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ

1) การรับรู้ (Perception) 
– เป็นการแปรความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัสทั้ง 5 ส่วนคือ หู ตา จมูก ลิ้นและผิวหนัง
– การรับรู้ทางสายตาจะประมาณร้อยละ 75 ของการรับรู้ทั้งหมด 

->กฎแห่งการจัดระเบียบการรับรู้มี 5 กฎได้แก่
1.1) กฎแห่งความชัดเจน (Clearness)
– เป็นการเรียนรู้ที่ดีต้องมีความชัดเจนและแน่นอน เพราะผู้เรียนมีประสบการณ์เดิมแตกต่างกัน

1.2) กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity)
– เป็นการวางหลักการรับรู้ในสิ่งที่คล้ายคลึงกันเพื่อจะได้รู้ว่าสามารถจัดเข้ากลุ่มเดียวกัน

1.3) กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity)
– เป็นการกล่างถึงว่าถ้าสิ่งใดหรือสถานการณ์ใดที่มีความใกล้ชิดกัน ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งนั้นไว้แบบเดียวกัน

1.4) กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Continuity)
– สิ่งเร้าที่มีทิศทางในแนวเดียวกัน ซึ่งผู้เรียนจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน

1.5) กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closer)
– สิ่งเร้าที่ขาดหายไปผู้เรียนสามารถรับรู้ให้เป็นภาพสมบูรณ์ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิม

2) การหยั่งเห็น (Insight)
– เป็นการเกิดความคิดแวบขึ้นมาทันทีทันใด ในขณะที่ประสบปัญหา
– มองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาตั้งแต่เริ่มแรกเป็นขั้นตอนจนสามารถแก้ปัญหาได้
– เป็นการมองเห็นสถานการณ์ในแนวทางใหม่ๆขึ้น
– เกิดจากความเข้าใจและความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์ว่าได้ยินได้ค้นพบแล้ว
– ผู้เรียนจะมองเห็นช่องทางการแก้ปัญหาขึ้นได้ในทันทีทันใด

การทดลองของโคเลอร์
– ทำการทดลองการหยั่งเห็นกับลิงชิมแฟนซีที่เลี้ยงไว้
– เพื่อแสดงให้เห็นว่า ลิงสามารถเรียนรู้การแก้ปัญหา โดยการหยั่งเห็นได้
วิธีการนำลิงติดตามไปเก็บผลไม้ในป่า และเมื่อลิงเห็นโคเลอร์ใช้ไม้สอยผลไม้ได้ ลิงจึงเกิดการเรียนรู้ทำตาม

สำหรับกลุ่มนี้ชอบข้อสอบชอบถามถึงการหยังเห็นครับ

ประเด็นข้อสอบจริง

->(ข้อสอบครูกทม. 58)
การหยั่งเห็นเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ของใคร
ตอบ โคเลอร์

->(ข้อสอบครูสพฐ. 63)
การหยั่งเห็นเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ของใคร
ตอบ Kohler

2) ทฤษฎีสนาม

บุคคลสำคัญของทฤษฎีสนาม

– เลวิน(Kurt Lewin)

แนวคิดของกลุ่มทฤษฎีสนาม

– เชื่อว่าบุคคลดำรงอยู่ในสนามอวกาศแห่งชีวิตเป็นโลกที่บุคคลสร้างขึ้นต่างหากไม่ใช่โลกจริง
– เป็นโลกของความนึกคิดที่สัมผัสกับโลกของคนอาศัยประสบการณ์
– จะรวมกันเป็นส่วนใหญ่มากกว่าที่จะกลายเป็นส่วนย่อยๆ

ประเด็นข้อสอบจริง จิตวิทยาสำหรับครู

->(ข้อสอบครูกทม. 58)
ทฤษฎีสนามเป็นทฤษฎีของใคร
ตอบ เลวิน(Kurt Lewin)

3) ทฤษฎีของเครื่องหมาย

บุคคลสำคัญของทฤษฎีเครื่องหมาย

– ทอลแมน(Edward Tolman)

แนวคิดของทฤษฎีเครื่องหมาย

– ทอลแมน ได้เสนอถึงทฤษฎีเครื่องหมาย หรือ ทฤษฎีความคาดหมาย (Expectancy Theory)
– เป็นการปรับปรุงมาจากทฤษฎีการแสดงพฤติกรรมสู่จุดหมายโดย
– การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง

ประเด็นข้อสอบจริง จิตวิทยาสำหรับครู

->(ข้อสอบครูกทม. 58)
ทฤษฎีเครื่องหมายเป็นทฤษฎีของใคร
ตอบ ทอลแมน(Tolman)

6. กลุ่มมนุษยนิยม (humanism)

บุคคลสำคัญของกลุ่มมนุษยนิยม

– มาสโลว์(Maslow) เจ้าของทฤษฎีความต้องการพื้นฐาน 5 ขั้น
– โรเจอร์ส (Rogers) บิดาจิตวิทยาไม่นำทาง

แนวคิดของกลุ่มมนุษยนิยม

– เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนพยายามปรับปรุงตัวเองให้เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้
– สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่ออนาคตผู้เรียนมากที่สุดก็คือ กรรมวิธีในการแสวงหาความรู้

=>จุดเน้นที่ออกข้อสอบบ่อย
ทฤษฎีความต้องการพื้นฐาน 5 ขั้นของ มาสโลว์(Maslow)
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางร่างกาย (Physiological Needs)
ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs)
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรัก (Love and Belonging Needs)
ขั้นที่ 4 ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs)
ขั้นที่ 5 ใช้ความสามารถให้เกิดผลสูงสุด (Self-Actualization Needs)

ประเด็นข้อสอบจริง

->(ข้อสอบครูสพฐ. 58)
ข้อใดเป็นความต้องการของมนุษย์ขั้นสูงสุ
ตอบ Self-Actualization Needs


จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology)

1.พัฒนาการกับการเจริญเติบโต

พัฒนาการ หมายถึง
– การเปลี่ยนแปลงที่เป็นระเบียบสามารถคาคคะเนได้ตามสมควร
– เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้าของบุคคลซึ่งเป็นผลจากวุฒิภาวะและประสบการณ์
– มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆของร่างกายเด็กแต่ละคนจะพัฒนาไปในทางที่ดีจึงส่งผลต่อร่างกาย อารมณ์ ทางสังคม และทางสติปัญญา ซึ่งจะเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดชีวิต
– มีวุฒิภาวะเป็นตัวควบคุม โดยไม่ต้องเร่ง เมื่อร่างกายพัฒนาการถึงความสามารถทางด้านต่างๆ ก็จะเป็นได้เองตามธรรมชาติ

ความเจริญเติบโต (Growth) หมายถึง
– การเปลี่ยนแปลงในด้านโครงสร้างของร่างกาย
– เป็นการเพิ่มเกี่ยวกับจำนวนและขนาด เช่น ความสูงรูปร่าง สัดส่วน ความหนาตลอดจนกระดูกและกล้ามเนื้อ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณ

2.ลักษณะของการพัฒนาการ

เกิดขึ้นในลักษณะที่ต่อเนื่อง เป็นไปตามแบบฉบับของตัวเองจะเกิดในอัตราที่ไม่เท่ากันเกิดเป็นทิศทางเฉพาะ

3.องค์ประกอบของพัฒนาการ

1) วุฒิภาวะ หมายถึง
– ความเจริญเติบโตทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมที่จะทำงานตามหน้าที่ได้
– ตัวอย่าง เด็กที่เกิดมาเมื่อเติบโตระดับหนึ่งจะสามารถ พูด หรือเดินได้โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งเร้าใดๆ

2) การเรียนรู้ หมายถึง
– กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร
– พฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ หรือวุฒิภาวะ จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น
– หากเป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวไม่ถือเป็นการเรียนรู้

ประเด็นข้อสอบจริง

->(ข้อสอบครูสพฐ. 63)
เติบโตขึ้นและทำอะไรได้มากขึ้น เพราะอะไร
ตอบ วุฒิภาวะและการเรียนรู้

4.ประเภทของพัฒนาการ

มนุษย์จะมีการพัฒนาการที่ดำเนินไปพร้อมกันทั้ง 4 ด้าน และทุกๆด้านย่อมสัมพันธ์กันเสมอได้แก่
1) ด้านร่างกาย ได้แก่ ส่วนสูงและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
2) ด้านอารมณ์ ได้แก่ การควบคุมพฤติกรรมขณะเกิดอารมณ์ได้ดีขึ้น
3) ด้านสังคม ได้แก่ การปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี
4) ด้านสติปัญญา ได้แก่ มีความคิดเป็นของตัวเอง

5.ทฤษฎีพัฒนาการของฟรอยด์ เกี่ยวกับความรู้สึกทางเพศ

1) ขั้นความพอใจอยู่บริเวณปาก (Oral Stage)
– อยู่ในช่วงแรกเกิด ถึง 1 ขวบ
– เป็นระยะที่ทารกมุ่งความสนใจไปที่ปาก การดูด การกัด
– การได้สัมผัสบริเวณปากจะนําความสุขมาให้ทารกมากที่สุด
– การดูดอาหารช่วยตอบสนองความหิวและผ่อนคลายความตึงเครียดทางร่างกาย

2) ขั้นความพอใจอยู่บริเวณทวารหนัก (Anal Stage)
– อยู่ในช่วงอายุ 1 – 3 ขวบ
– ระยะนี้เกิดเมื่อเด็กเรียนรู้เรื่องการขับถ่าย
– การขับถ่ายของเด็กควรเป็นไปโดยเด็กพอใจและไม่มีความรู้สึกขัดแย้ง
=> การวางกฎเกณฑ์บังคับเด็กหรือการบังคับให้เด็กถ่ายเป็นเวลา
จะทำให้เด็กมีความตึงเคียดทางอารมณ์

3) ขั้นความพอใจอยู่บริเวณอวัยวะเพศ (Phallic Stage)
– อยู่ในช่วงอายุ 3 – 5 ปี
– เป็นระยะที่ความพึงพอใจของเด็กขยับไปอยู่ที่อวัยวะสืบพันธ์
– ลักษณะที่เด่นชัดของขั้นนี้ คือ เด็กมีความสนใจและอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสภาพร่างกายซึ่งแตกต่างไปตามเพศ
– การเล่นอวัยวะเพศจะพบได้ในเด็กอายุช่วงนี้
– เรียนรู้ถึงบทบาทางเพศของตนโดยการเลียนแบบ (Identification) บทบาทของพ่อแม่

4) ขั้นก่อนวัยรุ่น (Latency Stage)
– อยู่ในช่วงอายุ 6 – 11 ปี
– เป็นระยะที่เด็กจะหันความสนใจจากความสัมพันธ์ภายในครอบครัวไปสู่เพื่อนฝูง
– ระยะนี้พลังต่าง ๆ ในขั้นที่ 3 ยังคงแฝงอยู่ไม่แสดงปรากฏออกมา

5) ขั้นวัยรุ่น (Genital Stage)
– อายุตั้งแต่ 12 ปีเป็นต้นไป
– เป็นขั้นที่เด็กมีความสนใจในเพศตรงข้ามมากทุกที
– การเริ่มต้นที่แท้จริงของความรักระหว่างเพศจะเกิดขึ้นในขั้นนี้

6.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

ทฤษฎีของเขาตั้งอยู่บนรากฐานขององค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เน้นเข้าใจธรรมชาติของเด็ก เป็นลำดับขั้นมากกว่าการไปกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการเร็วขึ้นมีลำดับขั้นดังนี้

ระยะที่ 1 ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว(Sensori-Motor Stage)
– ช่วงแรกเกิด-2 ปี
– เด็กจะพัฒนาการแก้ปัญหาโดยไม่ต้องใช้ภาษาสื่อสาร
– ยิ่งใช้ประสาทสัมผัสเท่าไรยิ่งจะช่วยให้พัฒนาเชาว์ปัญญาได้มากขึ้น
– เด็กรับรู้สิ่งที่เป็นรูปประธรรม

ระยะที่ 2 ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล(Preoperational Stage)
– ช่วงอายุ 2-7 ปี
– เป็นการพัฒนาเชาว์ปัญญาเน้นไปที่การเรียนรู้
– เริ่มมีพัฒนาการทางภาษาที่ดี พูดเป็นประโยคได้
– มีการสร้างคำได้มากขึ้น แต่ยังใช้สติปัญญาได้ไม่เต็มที่

ระยะที่ 3 ขั้นคิดเป็นรูปธรรมคิดอย่างมีเหตุมีผล(Concrete Operation Stage)
– ช่วงอายุ 7-11 ปี
– เด็กสามารถใช้สติปัญญาในการตัดสินใจปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น
– จินตนาการความคิดได้ เข้าใจการคงสภาพของสสารและปริมาณ
– มีการคิดเชิงเปรียบเทียบได้
– แยกหมวดหมู่ต่างๆ ได้มีความสามารถในการเรียงลำดับ คิดย้อนกลับได้

ระยะที่ 4 ขั้นคิดอย่างเป็นนามคิดอย่างมีเหตุมีผล (Formal Operational Stage)
– ช่วงอายุ 12 ปีขึ้นไป
– เริ่มคิดแบบผู้ใหญ่เป็นตัวของตัวเองได้ต้องการอิสระ
– เข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม ใช้เหตุใช้ผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7.ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม ของโคลเบอร์ก

ประกอบด้วยขั้นพัฒนาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม 6 ขั้น และระดับความคิดทางจริยธรรม 3 ระดับ ดังนี้

1) ระดับเริ่มมีจริยธรรม (Preconventional level)
– เป็นระดับก่อนเกณฑ์ (อายุ 2 – 10 ปี)
– เด็กในระดับนี้จะทำตามที่สังคมกำหนดว่าดีหรือไม่ดีมีพัฒนาการ 2 ขั้น คือ

ขั้นที่ 1 (อายุ 2 – 7 ปี) เด็กจะเคารพกฎเกณฑ์เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ
ขั้นที่ 2 (อายุ 7 – 10 ปี) ใช้หลักการแสวงให้รางวัล เด็กจะเลือกกระทําในสิ่งที่นําความพอใจ มาให้ตนเท่านั้น สิ่งใดที่สนองความต้องการของตนถือว่าสิ่งนั้นถูกต้อง การมองความสัมพันธ์ของคนยังแคบ เป็นลักษณะการแลกกัน เช่น “ถ้าเธอตีฉัน ฉันจะต้องตีเธอบ้าง”

2) ระดับมีจริยธรรมตามกฎเกณฑ์และประเพณีนิยม (Conventional level)
– เป็นระดับตามกฎเกณฑ์ (อายุ 10 – 16 ปี)
– เด็กในระดับนี้ทำตามความคาดหวังของครอบครัว ของสังคม หรือประเทศชาติ โดยไม่คํานึงถึงผลที่จะตามมา
– ระดับนี้จะมีพัฒนาการ 2 ขั้น คือ

ขั้นที่ 3 (อายุ 10 – 13 ปี) เป็นการทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ โดยเด็กมองว่าการทำดีคือการทำให้ผู้อื่นพอใจและการช่วยเหลือผู้อื่น ทำตามสังคมเพื่อให้ได้รับการยอมรับว่าเป็นเด็กดี
ขั้นที่ 4 (อายุ 13 – 16 ปี) เป็นการทำตามหน้าที่ทางสังคม ซึ่งกฎที่ผู้ปกครองหรือสังคมตั้งไว้ เป็นตัวกำหนดความประพฤติด้านจริยธรรมของเด็ก การทำถูกคือการทำตามหน้าที่ เคารพผู้ปกครองและทำ ตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่สังคมตั้งไว้เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกประณามจากสังคม

3) ระดับมีจริยธรรมของตนเอง (autonomous)
– เป็นระดับหลังเกณฑ์ (อายุ 16 ปีขึ้นไป)
– เด็กในระดับนี้จะมีพฤติกรรมตามความเชื่อส่วนตัว ถึงแม้จะไม่ตรงกับกลุ่มพวกพ้องก็ตาม
– ระดับนี้จะมีพัฒนาการ 2 ขั้น คือ

ขั้นที่ 5 (อายุ 16 ปีขึ้นไป) คำนึงถึงกฎที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม คำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคล ยอมรับกฎที่เป็นประชาธิปไตย
ขั้นที่ 6 (วัยผู้ใหญ่) เป็นการยึดหลักอุดมคติ คำนึงถึงหลักจริยธรรม ตัดสินความถูกผิดจาก จริยธรรมที่ตนยึดถือจากสามัญสํานึกตนเองและจากเหตุผล คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและเคารพสถานภาพของ บุคคลไม่คล้อยตามสังคม สามารถบังคับใจตนเองได้

ความแตกต่างของวัยเด็กและวัยรุ่น

จิตวิทยาวัยเด็ก
– เป็นวัยที่มีอายุอยู่ในช่วง 2-9 ปี
– เด็กเริ่มรู้จักบุคคล สิ่งแวดล้อม สิ่งของ
– สามารถใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้หลากหลาย
– เริ่มเข้าใจลักษณะการสื่อสารและสามารถใช้ภาษาได้มากขึ้น
– ลักษณะเด่นคือชอบแสดงความสามารถ ชอบอาสาช่วยเหลือ ช่างประจบ ซุกซน อยากรู้อยากเห็น
– เด็กวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพและมีพัฒนาการด้านจริยธรรมอย่างชัดเจน

จิตวิทยาวัยรุ่น
– เป็นวัยที่มีอายุอยู่ในช่วง 10-21 ปี
– วัยรุ่นเป็นวัยช่วงต่อระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่
– เป็นช่วงระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย
– พัฒนาการทางด้านอารมณ์ สังคมและจิตใจก็เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ไม่ค่อยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
– ทำให้เกิดความสับสน ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดประสบการณ์
– ช่วงวัยรุ่นถือว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่มีปัญหาทางด้านจิตสังคม อารมณ์และพฤติกรรมเสี่ยงมากกว่าช่วงอายุอื่นๆ

ประเด็นข้อสอบจริง จิตวิทยาสำหรับครู

->(ข้อสอบครูสพฐ. 63)
ข้อใดไม่ใช่พัฒนาการของเด็กประถมศึกษาปีที่ 1
ตอบ รับผิดชอบงานที่มอบหมายทุกอย่าง

->(ข้อสอบครูสพฐ. 63)
วัยรุ่นแตกต่างจากวัยเด็กในข้อใดมากที่สุด
ตอบ การใช้เหตุผลเชิงนามธรรม


ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซล(Gesell’ Maturation Theory)

– หน้าที่ของอวัยวะต่างๆและพฤติกรรมที่ปรากฏขึ้นเป็นรูปแบบที่แน่นอนและเกิดขึ้นเป็นลำดับขั้น
– ประสบการณ์และสภาพแวดล้อมเป็นองค์ประกอบรองที่ต่อเติมเต็มเสริมพัฒนาการต่างๆ
– วุฒิภาวะจะถูกกำหนดโดยพันธุกรรม ถ้าวุฒิภาวะหรือความพร้อมยังไม่เกิดขึ้นตามปกติในวัยนั้น
– สภาพแวดล้อมจะไม่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็ก

กีเซลได้สร้างกฎเกณฑ์มาตรฐานสำหรับวัดพฤติกรรมของเด็กแต่ละระดับ เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรม ซึ่งเขาได้แบ่งพัฒนาการของเด็กที่ต้องารวัดและประเมินผลออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

1) พฤติกรรมทางการเคลื่อนไหว (Motor behavior)
– ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย และความสัมพันธ์ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด
– พฤติกรรมกลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับการทรงตัว การควบคุมกล้ามเนื้อ การทรงตัวของศีรษะ การนั่ง ยืน คลาน เดิน จับยึดวัตถุและการจัดกระทำ (Manipulation) กับวัตถุ

2) พฤติกรรมทางการปรับตัว (Adaptive behavior)
– ครอบคลุมทางด้านความเชื่อมโยงของ การใช้มือและสายตาในการถือวัตถุและเข้าถึงวัตถุ การแก้ปัญหาในการปฏิบัติ การสํารวจและการจัด กระทำต่อวัตถุ เช่น การจัดกล่องรูปลูกบาศก์ การสั่นระฆัง การวาดภาพ ฯลฯ

3) พฤติกรรมทางด้านภาษา (Language behavior)
– ครอบคลุมทางด้านการติดต่อสื่อสาร ด้วยการแสดงออกทางใบหน้า การใช้อวัยวะต่างๆ
– ตัวอย่าง มือหรือศีรษะถ่ายทอดความคิด การออกเสียง การใช้ ภาษา รวมทั้งความเข้าใจจากการสื่อสารของผู้อื่นด้วย

4) พฤติกรรมทางสังคม – ตัวบุคคล (Personal – social behavior)
– ครอบคลุมถึงการตอบสนองของเด็กต่อบุคคลอื่นในด้านวัฒนธรรมทางสังคม
– ตัวอย่าง การเลี้ยงดู การฝึกขับ – ถ่าย และการตอบสนองต่อการฝึกหัดในสังคมต่างๆ การเล่น พัฒนาการทางด้านความเป็น “เจ้าของ” การยิ้มและการตอบสนองต่อบุคคลอื่น ต่อวัตถุบางอย่าง เช่น กระจกเงา เป็นต้น

จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology)

1.จิตวิทยาการศึกษากับการเรียนรู้

จิตวิทยาการศึกษา หมายถึง
– วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ การเรียนการสอน
– เน้นพฤติกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาความสารถของผู้เรียน
– ตลอดจนวิธีนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน

=> จุดมุ่งหมายของจิตวิทยาการศึกษา คือ
– เพื่อความเข้าใจ เพื่อทำนาย และเพื่อควบคุม

=> จิตวิทยาการศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
– เป็นสิ่งที่มีความหมายเหมือนกัน

การเรียนรู้ คือ
– การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากระสบการณ์ค่อนข้างถาวร
– การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้เกิดมาจากการฝึกฝนและเป็นผลมาจากประสบการณ์
– ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาจาก ภาวะชั่วคราว การตอบสนองเองตามธรรมชาติ วุฒิภาวะ หรือสัญชาตญาณ

การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับ 3 ตัวแปร ได้แก่
1) สิ่งเร้า(Stimulus : S)
2) ประสาทสัมผัสหรืออินทรีย์ (Oganism : O)
3) การรับรู้หรือการตอบสนอง (Response : R)

2.ทฤษฎีการเรียนรู้

2.1 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขบบคลาสสิคของพาฟลอฟ (Pavlov)

จิตวิทยาสำหรับครูคืออะไร ความสำคัญของจิตวิทยาสำหรับครู

ผู้คิดค้นทฤษฎี
– พาฟลอฟ (Pavlov) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย
– เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยา
– มีบทบาทสำคัญในกลุ่มพฤติกรรมนิยม
– ผลงานสำคัญ ทฤษฎีวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)

=>สรุปผลการทดลองของพาฟลอฟ
– เขาทดลองการวางเงื่อนไขกับสุนัข
– สรุปได้ว่าการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือ การตอบสนองที่เป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อนำสิ่งเร้าใหม่มาควบคู่กับสิ่งเร้าเดิม ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกพฤติกรรมการตอบสนองนี้ว่า พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์

=>กฎแห่งการเรียนรู้ของพาฟลอฟ มี 4 กฎ
1) กฎแห่งการลดภาวะ คือ การตอบสนองจะไม่ปรากฏถ้านำสิ่งเร้านั้นออก
2) กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพ คือ หลังจากลบพฤติกรรมไปแล้วไม่เกิดพฤติกรรมที่วางเงื่อนไขนั้นอีก แต่บางครั้งนานไปอาจเกิดพฤติกรรมนั้นได้อีกเช่น เลิกกับแฟนเก่าแต่นานไปก็ลืมแต่วันหนึ่งก็กลับมาคิดถึงเมื่อผ่านไปนานแสนนาน
3) กฎแห่งความคล้ายคือ จากการทดลองถ้าเปลี่ยนกระดิ่งเป็นเคาะจานก็อาจเกิดน้ำลายไหลได้
4) กฎแห่งความแตกต่าง คือ กรณีจากการทดลอง เมื่อเคาะจานแล้วไม่มีอาหารสนุขก็รู้ว่าของปลอม ก็แยกแยะได้ น้ำลายจึงไม่ไหลเมื่อ เคาะบ่อยๆแล้วไม่มีอาหาร

2.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ของวัตสัน (Watson)

ผู้คิดค้นทฤษฎี
– วัตสัน (Watson) ผู้ก่อตั้งกลุ่มพฤติกรรมนิยม
– เขานักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
– เขาได้รับยกย่องให้เป็นเป็นบิดาจิตวิทยาแผนใหม่ และบิดาแห่งจิตวิทยาพฤติกรรม
– ผลงานสำคัญของเขา คือ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขคลาสสิกของวัตสัน (Classical Conditioning)

=> สรุปการทดลองการวางเงื่อนไขของวัตสัน
– วัตสันได้นำทฤษฎีการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟมาใช้กับมนุษย์และสำเร็จ จึงรับการยกย่องเป็น บิดาจิตวิทยาแผนใหม่ บิดาแห่งจิตวิทยาพฤติกรรม
– เขานำทฤษฏีของฟาฟลอฟไปใช้กับมนุษย์ ชื่อเด็กชายอัลเบอร์ต
– จากการทดลองได้ผลคือ การวางเงื่อนไขสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ได้ และเขาสามารถสร้างให้เด็กเป็นอะไรก็ได้โดยการวางเงื่อนไข

2.3 ทฤษฎีการเรียนรู้ของ ธอร์นไดค์(Thorndike)

ผู้คิดค้นทฤษฎี
– ธอร์นไดค์(Thorndike) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันและบิดาจิตวิทยาการศึกษา
– เน้นการการสอนแบบลองผิดลองถูก

=>สรุปการทดลองของธอร์นไดค์(Thorndike)
– สัตว์ที่ใช้ทดลองคือ แมวในกรงเพื่อให้แมวเรียนรู้การเปิดกรงจากการกดคานไม้
– ได้ผลการทดลองว่า การเรียนรู้เกิดจากการลองผิดลองถูก

=>กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
1)กฎแห่งความพร้อม(Law of Readiness)
– การเรียนรู้จะได้ผลดีจะผู้ที่เรียนจะต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม
2)กฎแห่งการฝึกหัด(Law of Exercise)
– การฝึกฝนทำซ้ำๆ จะช่วยให้เกิดการจำได้ดี
3) กฎแห่งผลที่พึงพอใจ(Law of Effect)
– เมื่อผู้เรียนได้รู้ผลการเรียนรู้ที่ครูแจ้ง เขาย่อมอยากพัฒนาตนเอง เมื่อรู้ผลลัพธ์ที่ต้องพัฒนาไปทางไหน

ประเด็นข้อสอบจริง จิตวิทยาสำหรับครู

->(ข้อสอบครู สพฐ. 58)
เจ้าของทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
ตอบ Thorndike

->(ข้อสอบครู สพฐ. 58)
การลองผิดลองถูกเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ของใคร
ตอบ ธอร์นไดค์(Thorndike)

->(ข้อสอบครู กทม.59)
ข้อใดเป็นกฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
ตอบ กฎความพร้อม กฎการฝึกหัด กฎแห่งผล

->(ข้อสอบครู สพฐ.63)
เด็กง่วงนอนทำให้เรียนไม่รู้เรื่องสอดคล้องกับกฎข้อใดของธอร์นไดท์
ตอบ (กฎความพร้อม)


2.4 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning)

ผู้คิดค้นทฤษฎี
– สกินเนอร์ (B.F. Skinner)
– เขาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยามิเนโซตาแห่งสหรัฐอเมริกา
– เขาเป็นผู้อยู่กลุ่มพฤติกรรมนิยม
– เน้นเรื่องการเสริมแรง

=>สรุปผลการทดลองของสกินเนอร์
– เป็นการทดลองเกี่ยวกับการเสริมแรง
– ใช้กล่องที่มีชื่อเรียกว่า Skinner Box ใช้กับ หนูและคานกด เพื่อทดลองการเรียนรู้ในการกดอาหารกิน
– ก่อกำเนิดเป็นทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning)

=>สรุปเรื่องการเสิรมแรง
การเรียนรู้เกิดจากการเสริมแรง และการเสริมแรง มี 2 แบบ

1) การเสริมแรงทางบวก คืออะไร
– เป็นการให้สิ่งที่บุคคลพึงพอใจ
– มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
– ตัวอย่างการเสริมแรงทางบวก คำชมเชย รางวัล อาหาร

2) การเสริมแรงทางลบ คืออะไร
– เป็นสิ่งเร้าใดชนิดหนึ่งเมื่อตัดออกไปจากสถานการณ์นั้นแล้วจะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะดีขึ้น
– ตัวอย่างการเสิรมแรงทางลบ เสียงดัง แสงสว่างจ้า คำตำหนิ ร้อนหรือเย็นเกินไป ฯลฯ

=>สรุปเกี่ยวกับการลงโทษ

1) การลงโทษทางบวก คืออะไร
– เป็นการนำเสนอสิ่งเร้าที่ไม่พึงปรารถนาออกหลังจากแสดงพฤติกรรม
– ผลที่ตามมาในอนาคตคือพฤติกรรมมีแนวโน้มลดลง
– เช่น นักเรียนถูกดุเมื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่เสร็จ

2) การลงโทษทางลบ คืออะไร
– เป็นการนำสิ่งเร้าที่พึงปรารถนาออกหลังจากแสดงพฤติกรรม
– ผลที่ตามมาในอนาคต คือ พฤติกรรมมีแนวโน้มลดลง
– เช่น นักเรียนถูกงดการได้อภิสิทธิ์หรือสิทธิพิเศษบางประการเมื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่เสร็จ

การเสริมแรงทางลบ และการลงโทษเป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ ?
– สกินเนอร์อธิบายว่าต่างกัน
– เขาเน้นว่าการลงโทษเป็นการระงับ หรือหยุดยั้งพฤติกรรม
– แต่การเสริมแรงทางลบคือเอาสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อพฤติกรรมที่ไม่ดีออกไป

ผลงานของสกินเนอร์ที่มักเจอในข้อสอบ
– บทเรียนสำเร็จรูป หรือบทเรียนโปแกรม
– เครื่องมือช่วยในการสอน (Teaching Machine)

ประเด็นข้อสอบจริง

->(ข้อสอบจริงครูสพฐ. 61)
การเสริมแรงแบบใดช่วยให้เกิดพฤติกรรมใหม่
ตอบ เสริมแรงเป็นครั้งคราว

->(ข้อสอบครู สพฐ. 61)
ทฤษฎีการเสริมแรงเป็นทฤษฎีของใคร
ตอบ สกินเนอร์

->(ข้อสอบครู สพฐ. 59)
ครูสมศักดิ์ นำเกมมาประกอบการเรียนการสอนเพื่อลดความเครียดให้กับนักเรียน
ตอบ เสริมแรงทางบวก

->(ข้อสอบครู สพฐ. 59)
ครูสมศรีให้นักเรียนที่ไม่ทำการบ้านส่งคัดไทยเพิ่ม 10 หน้ากระดาษ
ตอบ ลงโทษทางบวก

->(ข้อสอบครู สพฐ. 59)
ครูสมใจยึดโทรศัพท์นักเรียนที่เล่นระหว่างเรียนจนหมดชั้วโมงการเรียนการสอน
ตอบ ลงโทษทางลบ

->(ข้อสอบครู กทม.58)
บทเรียนโปรแกรมเป็นทฤษฎีของใคร
ตอบ สกินเนอร์ (B.F. Skinner)

->(ข้อสอบครู สพฐ. 63)
ครูให้คะแนนเพิ่ม 10 คะแนน กับนักเรียนที่แต่งโคลงสี่สุภาพได้ดี
ตอบ เสริมแรงบวก

->(ข้อสอบครู สพฐ. 63)
ครูให้งานคัดคำศัพท์ 10 หน้า แต่บอกกับนักเรียนว่าถ้าตั้งใจเรียนจะลดให้เหลือคัดคำศัพท์ 5 หน้า
ตอบ เสริมแรงลบ

->(ข้อสอบครู สพฐ. 63)
ครูให้นักเรียนคัดคำศัพท์ 20 คำ เพราะว่านักเรียนไม่ทำการบ้านมาส่ง
ตอบ ลงโทษทางบวก

->(ข้อสอบครู สพฐ. 63)
ยึดโทรศัพท์มือถือ นักเรียนที่เล่นโทรศัพท์ในเวลาเรียน
ตอบ ลงโทษทางลบ


บิดาจิตวิทยา(จำเป็นต้องท่องจำ)

1. ซิกมันฟรอย
– เป็นบิดาจิตวิทยาวิเคราะห์
– เป็นบิดาจิตวิทยาโลก*

2. วัตสันต์
– เป็นบิดาจิตวิทยาพฤติกรรม
– บิดาจิตวิทยาแแผนใหม่*

3. วุ้นต์
– เป็นบิดาจิตวิทยาการทดลอง

4. ธอร์นไดร์
– เป็นบิดาจิตวิทยาการศึกษา*

5. เฟอร์เบล
– เป็นบิดาจิตวิทยาอนุบาล

6. โรเจอร์ส
– เป็นบิดาจิตวิทยาการแนะนำแบบไม่นำทาง

7. แฟรงพาสัน
– เป็นบิดาจิตวิทยาการแนะแนว

ขอบคุณที่มา :: https://mrkron.com/

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่