ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีจุดประสงค์ให้การจัดการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วนเรื่องการเตรียมคนสู่ศตวรรษที่ 21 จึงประกาศนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ดังนี้

หลักการ

  1. ให้ความสําคัญกับประเด็นคุณภาพและประสิทธิภาพในทุกมิติ ทั้งบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการพลเรือน ผู้บริหารทุกระดับ ตลอดจนสถานศึกษาทุกระดับทุกประเภท และเป็นการศึกษาตลอดชีวิต
  2. บูรณาการการทํางานร่วมกันระหว่างส่วนราชการหลัก องค์การมหาชนในกํากับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีความคล่องตัว รวมทั้งหน่วยงานสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในพื้นที่ภูมิภาคให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้ เพื่อดําเนินการปฏิรูปการศึกษาร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนตามนโยบายประชารัฐ

ระดับก่อนอนุบาล
เน้นประสานงานกับส่วนราชการและชุมชนในการเตรียมความพร้อมผู้เรียน ทั้งด้านสุขภาพและโภชนาการ และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับระบบโรงเรียนปกติ

ระดับอนุบาล
เน้นสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน เพื่อออกแบบกิจกรรมการพัฒนาทักษะที่สําคัญด้านต่าง ๆ เช่น ทักษะทางสมอง ทักษะความคิดความจํา ทักษะการควบคุมอารมณ์ ทักษะการรู้จักและประเมินตนเอง

ระดับประถมศึกษา
มุ่งคํานึงถึงพหุปัญญาของผู้เรียนรายบุคคลที่แตกต่างกันตามศักยภาพ ดังนี้

  1. ปลูกฝังความมีระเบียบวินัย ทัศนคติที่ถูกต้อง โดยใช้กระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด
  2. เรียนภาษาไทย เน้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้วิชาอื่น
  3. เรียนภาษาอังกฤษและภาษาพื้นถิ่น (ภาษาแม่) เน้นเพื่อการสื่อสาร
  4. เรียนรู้ด้วยวิธีการ Active Learning เพื่อพัฒนากระบวนการคิด การเรียนรู้ จากประสบการณ์จริงหรือสถานการณ์จําลองผ่านการลงมือปฏิบัติ และเปิดโลกทัศน์มุมมองร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับครูด้วยการจัดการเรียนการสอนในเชิงแสดงความคิดเห็นมากขึ้น
  5. สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้
  6. จัดการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะการคิดแบบมีเหตุผลและเป็นขั้นตอน (Coding)
  7. พัฒนาครูให้มีความชํานาญในการสอนภาษาอังกฤษและภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding)
  8. จัดให้มีโครงการ 1 ตําบล 1 โรงเรียนคุณภาพ เน้นปรับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกบริเวณโรงเรียนให้เอื้อต่อการสร้างคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะ

ระดับมัธยมศึกษา
มุ่งต่อยอดระดับประถมศึกษา ด้วยจุดเน้น ดังนี้

  1. จัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม คณิตศาสตร์ (STEM) และภาษาต่างประเทศ (ภาษาที่สาม)
  2. จัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อสร้างทักษะพื้นฐานที่เชื่อมโยงสู่การสร้างอาชีพและการมีงานทํา

ระดับอาชีวศึกษา
มุ่งจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทําและสร้างนวัตกรรมตามความต้องการของพื้นที่ชุมชน ภูมิภาค หรือประเทศ รวมทั้งการเป็นผู้ประกอบการเองด้วยจุดเน้น ดังนี้

  1. จัดการศึกษาในระบบทวิภาคี ให้ผู้เรียนมีทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
  2. เรียนภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มทักษะสําหรับใช้ในการประกอบอาชีพ
  3. เรียนรู้การใช้ดิจิทัล เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสําหรับในการสร้างอาชีพ
  4. จัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากําลังคนอาชีวศึกษาในภูมิภาค

หากทางกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 นอกเหนือจากนี้ซึ่งมีความสอดคล้องกับหลักการในข้างต้น ให้ถือเป็นหน้าที่ของส่วนราชการหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องเร่งรัด กํากับ ติดตาม ตรวจสอบให้การดําเนินการเกิดผลสําเร็จและมีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรมด้วยเช่นกัน

ที่มา : กระทรวงศึกษาธิการ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่