ผลนิด้าโพล เผยผลสำรวจ ส่วนใหญ่เห็นด้วยเปิดเทอม1 ก.ค. ส่วนเรื่องเรียนออนไลน์ส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วย

ผลนิด้าโพล เผยผลสำรวจ ส่วนใหญ่เห็นด้วยเปิดเทอม1 ก.ค. ส่วนเรื่องเรียนออนไลน์ส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้ว

ผลนิด้าโพล เผยผลสำรวจ ส่วนใหญ่เห็นด้วยเปิดเทอม1 ก.ค. ส่วนเรื่องเรียนออนไลน์ส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วย
ผลนิด้าโพล เผยผลสำรวจ ส่วนใหญ่เห็นด้วยเปิดเทอม1 ก.ค. ส่วนเรื่องเรียนออนไลน์ส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วย

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “เรียนออนไลน์” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18 – 21 พฤษภาคม 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,256 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับการศึกษาระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจ เมื่อถามถึงการมีบุตรหรือเป็นผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังเรียนหนังสือในระดับอนุบาล ประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษา ในประเทศไทย พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.87 ระบุว่า มีบุตรหรือเป็นผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังเรียนหนังสือ ขณะที่ ร้อยละ 47.13 ระบุว่า ไม่มีบุตรหรือเป็นผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังเรียนหนังสือ

ซึ่งผู้ที่ระบุว่ามีบุตรหรือเป็นผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังเรียนหนังสือในระดับอนุบาล ประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษา ในประเทศไทย พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.61 ระบุว่า มีบุตรหรือเป็นผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังเรียนหนังสือในระดับประถมศึกษา รองลงมา ร้อยละ 29.37 ระบุว่า ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 27.26 ระบุว่า ระดับอนุบาล และร้อยละ 14.91 ระบุว่า ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

เมื่อถามผู้ที่มีบุตรหรือเป็นผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังเรียนหนังสือในระดับอนุบาล ประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษา ในประเทศไทย ถึงบุตรหลานศึกษาในสถานศึกษาของเอกชนหรือของรัฐบาล พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 81.48 ระบุว่า เป็นสถานศึกษาของรัฐบาล ขณะที่ ร้อยละ 23.19 ระบุว่า เป็นสถานศึกษาของเอกชน

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อคำสั่งให้เปิดเทอมสำหรับการศึกษาระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 

พบว่า ร้อยละ 51.51 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19 คงหมดแล้ว และโรงเรียนควรมีมาตรการป้องกันอย่างเข้มงวด เด็กๆควรจะสวมหน้ากากอนามัยไปเรียนทุกครั้ง , ร้อยละ 28.27 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะช่วงระยะเวลาที่จะเปิดเรียนน่าจะปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19 แล้ว และอยากให้เปิดทีละชั้นเรียนหรือผลัดกันเปิดของแต่ละชั้นเรียนเพื่อความปลอดภัยสำหรับเด็ก

ร้อยละ 9.87 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ อยากให้เปิดเร็วขึ้นกว่านี้ เนื่องจากการปิดเทอมนานทำให้พัฒนาการเด็กช้าลง และจะทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน , ร้อยละ 8.28 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะอยากให้เปิดเรียนเป็นวันที่ 16 มิถุนายน 2563 เนื่องจาก วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 นานเกินไป และบางพื้นที่ก็ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19 แล้ว และร้อยละ 2.07 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ 

ความคิดเห็นของประชาชนต่อการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับการศึกษาระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.90 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยในทุกระดับ เพราะเด็กมีความพร้อมด้านอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ไม่เท่ากัน โดยเฉพาะเด็กต่างจังหวัด และบางครอบครัวผู้ปกครองไม่มีเวลาคอยดูแลหรือให้คำแนะนำระหว่างเรียนออนไลน์ รองลงมา ร้อยละ 29.86 ระบุว่า เห็นด้วยในบางระดับ , ร้อยละ 22.05 ระบุว่า เห็นด้วยในทุกระดับ เพราะเด็กจะได้พัฒนาความรู้ระหว่างรอเปิดเทอม ได้ทบทวนเนื้อหาวิชาที่เรียน และทำให้ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดโควิด – 19 และร้อยละ 1.19 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ

ผู้ที่ระบุว่า เห็นด้วยในการสอนออนไลน์บางระดับ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.47 ระบุว่า ควรสอนออนไลน์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพราะมีวุฒิภาวะที่สามารถควบคุมตัวเองให้อยู่ในการเรียนได้ และมีความรับผิดชอบและความสามารถในการใช้อุปกรณ์สื่อสาร สื่อออนไลน์ได้ดี รองลงมา ร้อยละ 60.80 ระบุว่า ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพราะเด็กมีความรับผิดชอบ มีสมาธิ ในการเรียนด้วยตัวเองได้ดี และสามารถเรียนรู้เทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว

ร้อยละ 21.33 ระบุว่าเป็น ระดับประถมศึกษา เพราะ ควรจัดให้มีการเรียนการสอนออนไลน์ตั้งแต่ประถมศึกษา เป็นต้นไป เนื่องจากเด็กจะมีความเข้าใจมากกว่าระดับอนุบาล และร้อยละ 10.40 ระบุว่าเป็น ระดับอนุบาล เพราะ ช่วงเวลานี้เด็กอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองสามารถเรียนออนไลน์ได้

ขอบคุณที่มา : อีทีวีแม็ค เวทีสาธารณะเพื่อการศึกษา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่