ข้าราชการทุกคนต้องรู้!! แนวคิด ระบบราชการ 4.0 มิติการทำงานตามหลักภควันตภาพ

เพื่อรองรับนโยบาย ประเทศไทย 4.0 ภาครัฐ หรือ ระบบราชการจะต้องทําางานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน (Better Governance, Happier Citizens) หมายความว่าระบบราชการต้องปรับเปลี่ยน แนวคิด และวิธีการทำงานใหม่ เพื่อพลิกโฉม (transform) ให้สามารถเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจและเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง (Credible and Trusted Government) ดังนี้

แนวคิด ระบบราชการ 4.0  มิติการทำงานตามหลักภควันตภาพ

ระบบราชการ 4.0

1. เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน (Open & Connected Government)

คือ การทำ งานต้องเปิดเผยและโปร่งใส เปิดกว้างให้กลไกหรือภาคส่วนอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วม โอนถ่ายภารกิจที่ภาครัฐไม่ควรดำ เนินการเองไปให้ภาคส่วนอื่น ดำเนินการแทน จัดโครงสร้างการทำงานเป็นแนวระนาบ มากกว่าสายการบังคับบัญชาในแนวดิ่ง และเชื่อมโยงการทำงาน ราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้มีเอกภาพและสอดรับประสานกัน

2. ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-Centric Government)

ทำงานโดยมองไปข้างหน้า (คิดเสมอว่าประชาชนจะได้อะไร) มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาให้ประชาชน ให้บริการเชิงรุก ไม่ต้องรอให้ประชาชนมาขอความช่วยเหลือ จัดบริการสาธารณะที่ตรงกับความต้องการของประชาชน

3. มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย (Smart & High Performance Government)

การทำ งานต้องมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อเตรียมการล่วงหน้า นำองค์ความรู้ที่เป็นสหสาขาวิชามาสร้างนวัตกรรมหรือประยุกต์เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้ทันเวลา ปรับตัวให้เป็นสำ นักงานที่ทันสมัยมีขีดสมรรถนะสูง และทำ ให้ข้าราชการมีความผูกพันต่อการปฏิบัติงาน

การทำงานตามหลักภควันตภาพ

ภควันตภาพ (Ubiquitous) หมายถึง การทำงานที่อยู่ในทุกหนแห่ง สามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลาที่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ โดยมีองค์ประกอบที่ทำให้การทำงานแบบภควันตภาพประสบความสำเร็จ ได้แก่ การนำองค์กรของผู้บริหาร นโยบายและการวางแผน การนำสู่การปฏิบัติ การติดตามและประเมินผลลัพธ์ กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ โครงสร้างการบริหารงานขององค์กร งบประมาณ โครงสร้างพื้นฐาน และอุปกรณ์ ลักษณะงาน ข้อมูล รูปแบบและกระบวนการให้บริการ ระยะเวลาและสถานที่ การติดต่อสื่อสาร การบริหารบุคลากรและพฤติกรรมบุคลากร และวัฒนธรรมการทำงาน

ประโยชน์ของการทำงานตามหลักภควันตภาพ

1.ช่วยให้ผู้บริหารมีแนวทางในการใช้ระบบสารสนเทศหรือกลไกในการบริหารจัดการองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า

2. เป็นการปรับเปลี่ยนกลไกในการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองต่อความรวดเร็วของบริบทในการทำงาน

3. เป็นแนวคิดในการบริหารจัดการเพื่อให้บุคคลสามารถปฏิบัติงานบนพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร และการปรับใช้กับหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการ เช่น ระบบ AMSS++ ระบบ SMSS ระบบ Smart OBEC ระบบ e-Office เป็นต้น

ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม

ที่มา : https://www.opdc.go.th

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่