รู้จักทักษะในอนาคต 4CS คืออะไร ต้องฝึกกันอย่างไร

รู้จักทักษะในอนาคต 4CS คืออะไร ต้องฝึกกันอย่างไร

สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เรื่องของทักษะการคิด การทำงานเป็นทีม การใช้ภาษา และการใช้เทคโนโลยี คือสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เราจึงจำเป็นต้องส่งเสริมการศึกษาให้สอดคล้องกับทักษะดังกล่าวเพื่อให้เด็กเติบโตได้อย่างเหมาะสมในสังคมยุคใหม่ที่กำลังจะมาถึงในระยะเวลาอันใกล้

4Cs ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 4 ด้านเป็นรูปแบบการสอนที่ปลุกกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน ซึ่งจะเป็นทักษะสำคัญของคนในศตวรรษที่ 21
ภายในปี 2020 ความคิดสร้างสรรค์จะทวีความสำคัญมากขึ้นจนกลายเป็น 1 ใน 3 ทักษะที่สำคัญที่สุด และไม่เพียงเท่านั้น การคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา การสื่อสาร ถือเป็นทักษะอันดับต้นๆ ที่โลกใหม่กำลังมองหา
ความรู้เชิงวิชาการมีความจำเป็นเพื่อเป็นฐานไปสู่ความเชี่ยวชาญเชิงลึก แต่ทักษะเชิงความคิด(สร้างสรรค์ วิเคราะห์) และการเข้าสังคมกับผู้อื่น(ทำงาน สื่อสารกับผู้อื่น) หรือ ทักษะ4Cs คือสะพานเชื่อมพวกเขากับโลกการใช้ชีวิตจริง
การปลูกฝังทักษะ 4Cs ต้องเสริมสร้างทั้งจากครอบครัวและโรงเรียน ต้องอาศัยเวลา แรงกายใจสนับสนุน

4Cs หรือทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 4 ด้าน มีดังนี้

4Cs หรือทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 4 ด้าน
ที่มา SCB Foundation

1. Creativity and Innovation

รู้จักทักษะในอนาคต 4CS คืออะไร ต้องฝึกกันอย่างไร 7
  • คิดนอกกรอบและต่อยอดเป็น
  • มีกระบวนคิดเปิดกว้าง เป็นตัวของตัวเองไม่ซ้ำใคร (Originality) สามารถมองหาโอกาสและประเมินความเป็นไปได้
  • ถ่ายทอดความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้และยอมรับมุมมองผู้อื่นอย่างใจกว้าง
  • สามารถต่อยอดไอเดียความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นรูปธรรมขึ้น

2. Critical Thinking and Problem Solving

รู้จักทักษะในอนาคต 4CS คืออะไร ต้องฝึกกันอย่างไร 8
  • คิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาเองได้
  • ช่างสังเกต มองเห็นปัญหา ตั้งคำถาม
  • อธิบายเหตุและผลตามสถานการณ์และมุมมองที่หลากหลายได้ มองภาพรวมเพื่อไปสู่ผลลัพธ์ปลายทางจากระบบที่ซับซ้อนออก
  • ประเมินและตัดสินใจจากการสังเกต หารือหลากหลายมุมมอง หาข้อมูล หลักฐานข้อพิสูจน์ได้
  • ถอดบทเรียนความรู้ ข้อเสนอแนะหรือสิ่งที่ควรปรับปรุงจากประสบการณ์
  • แก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่ต่างไปจากเดิมหรือรู้จักประยุกต์หนทางแก้ปัญหามาใช้กับเรื่องใหม่ได้

3. Communication

รู้จักทักษะในอนาคต 4CS คืออะไร ต้องฝึกกันอย่างไร 9
  • สื่อสารได้ถูกต้องเหมาะสม
  • มีทักษะการพูด เขียน และสื่อภาษากายได้ตรงตามวัตถุประสงค์ (เช่น เพื่อแจ้งข่าว สอน โน้มน้าว หรือปลุกกระตุ้น)
  • รับข้อมูลและตีความหมายได้ถูกต้อง รวมถึงนำเสนอต่อผู้อื่นได้ชัดเจน
  • ปรับใช้สื่อและเทคโนโลยีให้เหมาะกับจุดประสงค์ และสามารถประเมินประสิทธิภาพของแต่ละสื่อได้
  • สื่อสารได้ในทุกบริบทที่แตกต่างหลากหลาย (รวมถึง ใช้ภาษาได้มากกว่า 1 ภาษา)

4. Collaboration

รู้จักทักษะในอนาคต 4CS คืออะไร ต้องฝึกกันอย่างไร 10
  • การทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • ทำงานเป็นทีม ยืดหยุ่น ปรับตัวให้ทำงานในสถานการณ์หรือทีมที่แตกต่างกันได้ เพื่อเป้าหมายเดียวกัน
  • ยอมรับความสามารถและความแตกต่างของปัจเจกบุคคลควบคู่ไปกับการมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

ทักษะ 4Cs สำคัญอย่างไร

ทักษะ 4Cs ไม่ใช่แนวทางสู่ความสำเร็จในบริบทการทำงานเพียงอย่างเดียว แต่ยังจำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างแยกไม่ออกด้วย วารสารและบทความทางการศึกษาในช่วงหลังล้วนมีเนื้อหาปลุกกระตุ้นความสำคัญเพื่อจุดประกายการเปลี่ยนแปลงในแวดวงการศึกษาให้เกิดขึ้น

อเล็กซ์ เกรย์ (Alex Gray) นักเขียนจากแวดวงวารสารซึ่งกำลังสนใจกับประเด็นการจ้างงานของตลาดโลกเศรษฐกิจสังคมใหม่นี้ หยิบยกรายงาน The Future of Jobs ซึ่ง World Economic Forum จัดทำขึ้นเมื่อปี 2016ได้สำรวจฝ่ายทรัพยากรบุคคลในองค์กรชั้นนำต่างๆ ที่ เพื่อดูแนวโน้มทักษะที่เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานปี 2020 มากล่าวถึงในบทความ ‘The 10 skills you need to thrive in the Fourth Industrial Revolution’ ของเธอว่า

ผลจากความรุดหน้าทางเทคโนโลยี ความต้องการของมนุษย์ที่อยากได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาช่วยให้ชีวิตและการทำงานสะดวกสบายขึ้น ภายในปี 2020 ความคิดสร้างสรรค์จะทวีความสำคัญมากขึ้นจนกลายเป็น 1 ใน 3 ทักษะที่สำคัญที่สุด และไม่เพียงเท่านั้น การคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา การสื่อสาร ถือเป็นทักษะอันดับต้นๆที่โลกใหม่กำลังมองหาเช่นกัน

รู้จักทักษะในอนาคต 4CS คืออะไร ต้องฝึกกันอย่างไร 11

มีเรียม ชุนนิง(Mirjam Schöning), Head of Learning through Play in Early Childhood programme, และ คริสตินา พิทโคมบ์ (Christina Witcomb), Senior Communication Manager แห่งสถาบัน The Lego Foundation ซึ่งคลุกคลีกับชั้นเรียนพัฒนาทักษะเด็กเล็กจากกิจกรรมการเล่น ก็นำรายงานการสำรวจชิ้นนี้มาอ้างถึงในบทความ ‘This is the one skill your child needs for the jobs of the future’ เช่นเดียวกัน

แนวการสอนแบบให้เด็ก ‘เล่นมากกว่าเรียน’ ขององค์กร The Lego Foundation เป็นตัวอย่างการสอนสมัยใหม่ ซึ่งตรงกันข้ามกับการสอนแบบเก่าที่ครูเขียนกระดานหน้าชั้นเรียนแล้วให้เด็กอ่าน ตามที่ The Lego Foundation เด็กจะเชื่อมโยงทักษะของตนที่ถูกพัฒนาจากการเล่นหรือทดลองทำสิ่งใหม่ๆ เข้ากับโลกภายนอก

งานวิจัยที่จัดทำขึ้นในนิวซีแลนด์เรื่อง ‘Children learning to read later catch up to children reading earlier’ โดย เซบาสเตียน เอลิซาเบธ และ อีเลน (Sebastian P.Suggate, Elizabeth A.Schaughency และ Elaine Reese) ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Early Child hood Research Vol. 28 ของ Science Direct สนับสนุนการสอนสไตล์นี้

มีเรียมและคริสตินามองว่าสำหรับนักเรียน องค์ความรู้เชิงวิชาการยังมีความจำเป็นอยู่เพื่อเป็นฐานไปสู่ความเชี่ยวชาญเชิงลึก แต่ทักษะเชิงความคิด(สร้างสรรค์ วิเคราะห์) และการเข้าสังคมกับผู้อื่น(ทำงาน สื่อสารกับผู้อื่น) หรือ ทักษะ4Cs คือสะพานเชื่อมพวกเขากับโลกการใช้ชีวิตจริงนั่นเอง

โดยสรุป การปลูกฝังทักษะ 4Cs ไม่มีรูปแบบขั้นตอน 1-2-3-4 และบรรทัดฐานตายตัว ในกระบวนการเสริมสร้าง ครอบครัวและโรงเรียน ต้องอาศัยเวลา แรงกายใจสนับสนุน เมื่อการปฏิรูปการศึกษายังเป็นเรื่องยาก อาจเริ่มจากทำอย่างไรจึงจะบูรณาการทักษะ 4Cs เข้าในการสอนเนื้อหาหลักด้านวิชาการได้บ้าง

สิ่งสำคัญอันดับแรกคือพ่อแม่ คุณครูต้องมีใจที่เปิดกว้าง รวมถึง บ้าน สังคมแวดล้อม โรงเรียนต้องมีบรรยากาศให้เด็กเห็นคุณค่าและเคารพความคิดทั้งของตนเองและผู้อื่น เปิดโอกาสให้แสดงความเห็น และกล้าลองทำสิ่งที่ท้าทายใหม่ๆ ฝึกให้คุ้นเคยกับการพึ่งพาตนเอง ตัดสินใจและรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ด้วยตนเอง โดยไม่เอาความล้มเหลวผิดพลาดเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ รวมทั้งให้คำแนะนำและแรงสนับสนุนเมื่อพวกเขาต้องการ ให้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมกับผู้อื่น เช่น กิจกรรมกีฬา ค่ายพัฒนา อาสาสมัคร น่าจะเป็นหนทางให้เขาได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะดังกล่าว จากการสำรวจความสัมพันธ์และผลกระทบระหว่างตนเอง คนรอบข้าง และเหตุผลจากแง่มุมต่างๆ ที่มีต่อสถานการณ์ ติดตัวต่อไปในอนาคต

อ้างอิง

ติดตามข่าวสารการศึกษา สื่อการสอน และเรื่องราวดีๆ ที่เป็นประโยชน์กับครูมืออาชีพ ได้ฟรีที่นี่ Kruachieve.com : ครูอาชีพดอทคอม มากกว่าอาชีพครู คือการเป็นครูมืออาชีพ หรือทางเฟชบุ้ค Kruachieve.com

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่