อำนาจหน้าที่ คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา อำนาจหน้าที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
มาตรา ๒๓ ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจและหน้าที่
(๑) พิจารณากำหนดนโยบายการบริหรงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งการกำหนดจำนวน และอัตราตำแหน่ง และเกลี่ยอัตรากำลังให้สอดคล้องกับนโยบาย การบริหารงานบุคคล ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
(๒) พิจารณาให้ความเห็นชอบการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๓) ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการพิจารณาความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ‘และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๔) พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทรรณ์ และการร้องทุกข์ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
(๕) ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา การเสริมสร้างขวัญกำลังใจ การปกป้องคุ้มคอง ระบบคุณธรรม การจัดสวัสดิการ และการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในหน่วยงานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา
(๖) กำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๗) จัดทำ และพัฒนาฐานข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงาานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๘) จัดทำรายงานประจำปีที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูแบะบุลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาทีเสนอ ก.ค.ศ.
(๙) พิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องการบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษาที่ไม่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของผู้บริหารของหน่วยงานการศึกษา
(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้กฎหมายอื่น หรือตามที่ ก.ค.ศ. มอบหมาย
หน้าที่ของเลขานุการ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
การจัดทำระเบียบวาระการประชุมและรายงานการประชุม อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
ตัวอย่างระเบียบวาระการประชุม อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา
ประมาณการค่าใช้ง่ายในการจัดการประชุม อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
๑. ค่าตอบแทนกรรมการตามมาตรา ๗(๒) มาตรา ~ และ มาตรา ๑๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการพ.ศ.๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
(๑) ประธานอนุกรรมการ ๑,๒๕๐ บาท
(๒) อนุกรรมการ ๑,๐๐๐ บาท
หมายเหตุ ยกว้นข้าราชการประจำที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
๒. ค่าใช้จ่ายในการประชุม ค่าอาหาร ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าถ่ายเอกสาร ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด
อ้างอิง
๑. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ยในการเดินทาง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๔ และหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค .๔o๖.๔/ว๕ ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๔ เรื่อง หลักณณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและฝึกอบรมภายในประเทศ
๒. หนังสือ สพฐ. ที่ ศร ㆍ๔๐๐๒/ว๓๐๒๗ ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เรื่อง ปรับหลักเกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ค่าใช้จ่ายในการจัดงานและค่าใช้จ่ายในการประชุมราชการ
๓. หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค ㆍ๔๐๙.๖/ว ๔๒ ลงวันที่ ๒ว กรกฎาคม ๒๕๕๐ เรื่อง หลักเกณฑ์การเบิกค่าพาหนะรับจ้างข้ามเขตจังหวัด เงินชดเชยและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ
การประชุมของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
องค์ประชุม
1) ต้องมีอนุกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนอนุกรรมการทั้งหมด
๒) ถ้าประธานอนุกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคนใดคนหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมแทน
๓) กรณีที่อนุกรรมการผู้ถูกคัดค้านต้องออกจากที่ประชุม ให้ถือว่า อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาหรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ.ตั้งในส่วนราชการ ประกอบด้วยอนุกรรมการทุกคนที่ไม่ถูกคัดค้าน
การประชุมลับของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
๑) “ชั้นความลับ”
(๑) ลับที่สุด
(๒) ลับมาก
(๓) ลับ
๒) หลักการประชุมลับ
การประชุมลับเป็นการร่วมกันปรึกษาหารือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการซึ่งอาจเป็นการหาข้อยุติ ข้อพิจารณาความเห็น การอภิปราย บรรยายสรุป
๓) วิธีการประชุมลับ
(๑) ต้องจัดทำระเบียบวาระการประชุม แยกออกจากระเบียบวาระการประชุมจากเรื่องปกติ
(๒) กำหนดพื้นที่ที่มีการรักษาความปลอดภัย
(๓) ประสานงานการรักษาความปลอดภัย
(๔) กำหนดการเข้าถึงของบุคคล
(๕) ต้องจดปันทึกการประชุมลับแยกออกจากระเบียบวาระการประชุม
(๖) ความลับของทางราชการที่ปรากฎในการประชุมลับต้องไม่รั่วไหลออกไปสู่บุคคลที่ไม่มีความเกี่ยวข้อง
การลงมติในการประชุมของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
1. การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก อนุกรรมการ คนหนึ่งให้มีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
2. เรื่องใด ถ้าไม่มีผู้คัดค้านให้ประธานถามที่ประชุมว่า”มีผู้เห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ ถ้าไม่มีผู้เห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือว่าที่ประชุมลงมติเห็นชอบ” ในเรื่องนั้น
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ : สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ (obec.go.th)