วิชาชีพเฉพาะทุกวิชาชีพ ใช้คำว่า "ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ" เหตุใดจึงจะให้วิชาชีพครูใช้แค่ "ใบรับรอง"

วิชาชีพเฉพาะทุกวิชาชีพ ใช้คำว่า “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ” เหตุใดจึงจะให้วิชาชีพครูใช้แค่ ใบรับรอง

วิชาชีพเฉพาะทุกวิชาชีพ ใช้คำว่า "ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ" เหตุใดจึงจะให้วิชาชีพครูใช้แค่ ใบรับรอง
วิชาชีพเฉพาะทุกวิชาชีพ ใช้คำว่า “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ” เหตุใดจึงจะให้วิชาชีพครูใช้แค่ “ใบรับรอง”
ขอบคุณที่มา : Facebook สมบัติ นพรัก 

๕ คำถาม จาก”ใบอนุญาต” สู่ “ใบรับรอง” หรือความหมายจะวิบัติในกฎหมายการศึกษา?รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรักประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทยประธานที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทยคณบดีวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

#คำถามที่ ๑.ทำไมครูต้องมี”ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”?

ผมเป็นครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนสวรรควิทยา อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๒๕

ผมจึงไม่มีวาสนาได้มี”ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” เนื่องจาก”ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” เริ่มมีขึ้นครั้งแรก ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖มาตรา ๔ ดังนี้“ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา” หมายความว่า ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัตินี้“ใบอนุญาต” หมายความว่าใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งออกให้ผู้ปฏิบัติงานในตําแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามพระราชบัญญัตินี้

ครูจึงถูกกำหนดให้ต้องมี”ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๖ เป็นต้นมา

##คำถามที่ ๒ คำว่า “วิชาชีพ” (profession) ต่างกับ คำว่า “อาชีพ”(occupation) อย่างไร?

#คำว่า “วิชาชีพ”(profession) หมายถึง อาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านเรียกว่า วิชาชีพ เช่น วิศวกร แพทย์ พยาบาล ทนายความ#คำว่า “อาชีพ”(occupation) หมายถึง รูปแบบการดำรงชีพในสังคมมนุษย์ปัจจุบัน อาชีพเป็นหน้าที่ของบุคคลในสังคม การที่บุคคลประกอบอาชีพจะได้มาซึ่งค่าตอบแทน หรือ รายได้ เพื่อใช้จ่ายในการดำรงชีวิต

##ผู้ประกอบ”วิชาชีพ”(profession) นอกจากต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านแล้ว ยังต้องมีใบอนุญาต(license) มีจรรยาบรรณ (ethics)กำกับการประกอบวิชาชีพ โดยมีองค์กรหรือหน่วยงานกำกับควบคุมการประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพด้วย

###คำถามที่ ๓ ประเทศไทยมีวิชาชีพกี่ประเภทที่ต้องได้รับใบอนุญาต?

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)“ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ” เป็นใบอนุญาตให้สามารถประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ตามสาขาที่เรียนมา โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะต้องมีคุณสมบัติตามที่องค์กรออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกำหนดไว้ ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะไม่สามารถประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ได้ ถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษตามที่องค์กรวิชาชีพแต่ล่ะองค์กรกำหนดไว้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศไทยปัจจุบัน มีวิชาชีพที่ต้องมีใบอนุญาตเพื่อประกอบวิชาชีพ ดังนี้

* ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ออกโดย แพทยสภา
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม ออกโดย ทันตแพทยสภา
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ออกโดย สัตวแพทยสภา
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ออกโดย สภาเภสัชกรรม
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ออกโดย สภาการพยาบาล
* ใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ออกโดย สภาการแพทย์แผนไทย
* ใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ออกโดย สภาการแพทย์แผนไทย
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ออกโดย สภาเทคนิคการแพทย์
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด ออกโดยสภากายภาพบำบัด
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ออกโดย สภาการสาธารณสุขชุมชน
* ใบอนุญาตให้เป็นทนายความ ออกโดย สภาทนายความ
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ออกโดย สภาวิศวกร
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ออกโดย สภาสถาปนิก
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ออกโดย คุรุสภา
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม ออกโดย สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบัญชี ออกโดย สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสอบบัญชี ออกโดย สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์
* ใบประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ออกโดย สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์

ดังนั้น ครูในประเทศไทย จึงต้องมี”ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” ที่ออกโดย”คุรุสภา”

####คำถามที่ ๔ “ใบอนุญาต” (license)แตกต่างกับ”ใบรับรอง” (certificate) อย่างไร?

“ใบอนุญาต” (license)น. หมายถึง ใบอนุมัติ เอกสารสิทธิ์ เช่น ใบอนุญาตขับรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ใบอนุญาตสำหรับคนขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถจ้าง (license; a permit from an authority to own or use something, do a particular thing, or carry on a trade (especially in alcoholic beverages).”a gun license”)“ใบรับรอง” (certificate) หมายถึง หนังสือรับรอง ใบสุทธิ เอกสารที่แสดงการรับรอง เช่น ใบรับรองแพทย์(certificate; an official document attesting a certain fact.)

#####คำถามที่ ๕ เปลี่ยนจาก”ใบอนุญาต” เป็น “ใบรับรอง” ใช่ความวิบัติในกฎหมายการศึกษาหรือไม่?

กฎหมายที่กำหนดให้ครูในประเทศไทย ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูในปัจจุบัน มี ๒ ฉบับคือ

๑)พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 53 ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษามีฐานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพ ในกำกับของกระทรวง มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ #ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา ให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นทั้งของรัฐและเอกชนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่กฎหมายกำหนด

๒)พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖มาตรา ๔ ในพระราชาบัญญัติฉบับนี้“ใบอนุญาต” หมายความว่า “#ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ”ซึ่งออกให้ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่ง ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามพระราชบัญญัตินี้

ส่วน(ร่าง)พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ….หลักการ ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กำหนดดังนี้ครับมาตรา ๓๗ ครูซึ่งจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) (ข) ต้องมี”#ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู”ความเป็นครู เว้นแต่ เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและจัดกระบวนการเรียนรู้วิชาหนึ่งวิชาใดเป็นการเฉพาะตาม หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กระทรวงศึกษาธิการกําหนด

###หมายเหตุ ข้อความใน(ร่าง)ปัจจุบัน มาจาก(ร่างเดิม)ที่กำหนดใช้”ใบรับรองความเป็นครู” เมื่อมีการวิพากษ์กันมาก ก็ปรับเปลี่ยนเป็น “ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู” เปลี่ยนจาก”รับรองตัวครู” เป็น”รับรองการประกอบวิชาชีพครู”

###หากพิจารณาความหมาย จากคำถามที่ ๔ ที่ว่า”ใบอนุญาต” (license)แตกต่างกับ”ใบรับรอง” (certificate) อย่างไร? จะสามารถตีความได้ว่า “ผู้ที่มีใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู” คือผู้ที่เป็นครูแล้ว จึงมี#ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู” และใบรับรองฯที่ผมเข้าใจ คือ”บัตรประจำตัวข้าราชการครู” ซึ่งมีความหมายแตกต่างกับ”ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” นั่นคือ ผู้ที่จะเป็นครูได้ต้องมี”ใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครู”ก่อน(แม้แต่ผู้ที่เรียนจบวุฒิการศึกษาในหลักสูตรครูโดยตรง ก็ไม่สามารถเป็นครูได้ “ถ้าไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”)

##ผมผู้ไม่เคยมี”ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” ต้องขอบคุณสถาบันผลิตครูที่หล่อหลอมผมมาให้ชอบตั้งคำถามเชิงปรัชญาเพื่อหาคำตอบตั้งแต่ โรงเรียนฝึกหัดครูอุตรดิตถ์ (ป.กศ.) วิทยาลัยครูเทพสตรี (ป.กศ.สูง.) และวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร (กศ.บ.) วิชาเอกภาษาอังกฤษ วิชาโทภาษาไทยผมยังยืนยันว่า “ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู” เป็นความวิบัติทางความหมายของ(ร่าง) พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ…….ที่จะนำมาใช้ทดแทน”ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”

###ของเก่าดีอยู่แล้ว ถ้าเปลี่ยนแปลงดีขึ้นก็จะสรรเสริญ

#####แต่เปลี่ยนแปลงแล้วเป็นความวิบัติทางความหมาย จะเปลี่ยนแปลงไปเพื่ออะไร? ไม่ทราบ?

ขอบคุณที่มา : Facebook สมบัติ นพรัก 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่