แบบทดสอบออนไลน์ หลักสูตร : การจัดการเรียนการสอนแบบ HyFlex Classroom วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565 ผ่านเกณฑ์ รับเกียรติบัตรฟรี โดยมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี
การอบรมออนไลน์ หลักสูตร “การจัดการเรียนการสอนแบบ HYFLEX CLASSROOM” วันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2565 ผ่านระบบ Microsoft Teams
โดย ศาสตราจารย์ ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์
อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เข้าอบรมย้อนหลังทาง :: ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
HyFlex Learning คืออะไร
คำว่า HyFlex มาจากคำว่า
- Hybrid Learning หมายถึง รูปแบบการเรียนรู้แบบเผชิญหน้า ณ เวลาเดียวกัน หรือ Face-to-Face Driving โดยมีสองรูปแบบให้ผู้เรียนได้เลือกตามความเหมาะสมของตนเอง ประกอบไปด้วย เข้าเรียนในชั้นเรียนปกติ (On Site – Synchronous) หรือ เลือกเข้าชั้นเรียนเสมือน (Online – Remote Synchronous) ผ่านระบบการประชุมทางไกล เช่น Zoom MS-TEAMS Google Meet Webex เป็นต้น
- Flexible Learning หมายถึง รูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นต่อผู้เรียน โดยผู้พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ควรจัดโครงสร้างหลักสูตรให้เกิดความยืดหยุ่น (Flexible Course Structure) สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือ เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของตัวผู้เรียนเองได้ เช่น การให้ผู้เรียนมีสิทธิ์เลือกรูปแบบการเรียนรู้แบบวิดีโอตามประสงค์ On Demand ที่บันทึกไว้ ซึ่งเป็นสื่อการเรียนรู้นอกเหนือจาก Hybrid Learning ดังนั้นผู้เรียนจะมี 3 ตัวเลือกในการเรียนรู้จากผู้สอน ซึ่งเป็นการขยายโอกาสการเรียนรู้ของผู้เรียน (Expanding Learning Opportunities) และเมื่อผู้เรียนมีตัวเลือกการเรียนรู้หลายวิธี เป็นผลให้การวัดและการประเมินผลผู้เรียนจำเป็นต้องมีหลากหลายวิธีเช่นกัน เพื่อเป้าหมายคือผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่พึงประสงค์ (Learning Outcome)
หลักการการออกแบบหลักสูตรที่เป็นรูปแบบ HyFlex มีเสาหลักสำคัญที่ต้องคำนึง 4 เสา ซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ Student/Learner Centricดังนี้
- Learner Choice ผู้เรียนต้องมีตัวเลือกการเรียนรู้ เพื่อโอกาสทางการเรียนรู้ เช่น เปิดโอกาสเลือกเรียนรู้ ดังนี้
- On-Site Classroom หรือ Sychronous เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มีเอกลักษณ์ คือ การได้รับผลป้อนกลับแบบทันทีทันใด (Immediate Feedback) ทั้งผู้เรียนและผู้สอน
- Online หรือ Virtual Classroom หรือ Remote Asynchronous เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มีเอกลักษณ์ คือ การติดต่อสื่อสารทางไกลได้ และสามารถได้รับผลป้อนกลับแบบทันทีทันใด (Immediate Feedback) ทั้งผู้เรียนและผู้สอน แต่ผู้เรียนและผู้สอนต้องมีความพร้อมทางด้านอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึงตัวของผู้เรียนเองจำเป็นต้องมีวินัย และมีสมาธิจดจ่อ
- On-Demand หรือ Video On-Demand หรือ Remote Asynchronous เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มีเอกลักษณ์ คือ ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ ณ เวลาเดียวกับการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน โดยผู้เรียนสามารถดูคลิปวิดีโอการสอนที่ถูกบันทึกไว้ระหว่างการสอนได้ แต่การเรียนวิธีนี้ไม่ได้รับผลการป้อนกลับแบบทันทีทันใด อาจใช้การสอบถามผู้สอนภายหลังผ่านทางการแชท อีเมล เป็นต้น ผู้เรียนจำเป็นต้องมีความพร้อมทางด้านอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึงตัวของผู้เรียนเองจำเป็นต้องมีวินัย ความรับผิดชอบ และมีสมาธิจดจ่อสูง
- Equivalency การเรียนรู้ต้องได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เท่าเทียมกัน ผ่านการสร้างหลักสูตรที่มีการออกแบบการวัดและการประเมินผลที่หลากหลายเหมาะกับผู้เรียนและรูปแบบการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเลือก (On Site/Online/On Demand)
- Reusability สื่อการสอนและการบรรยายต้องอยู่ในรูปแบบที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้เสมอ เช่น มีการบันทึกระหว่างสอนเพื่อสร้างเป็นสื่อ On Demad เพื่อให้ผู้เรียนที่มีความประสงค์ทบทวน หรือ ผู้ที่มีความประสงค์เรียนนอกเวลาได้มีโอกาสในการเรียนรู้
- Accessibility สามารถเข้าถึงเนื้อหาและกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ได้เสมอ เช่น ผู้เรียนที่เรียนในห้องเรียนและผู้เรียนในห้องเรียนออนไลน์สามารถทำกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน/เพื่อร่วมห้อง ได้ ผ่านทาง กระดานออนไลน์ หรือ ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ก่อนเรียน หรือที่เรียกว่า Pre-Class Content เพื่อรับข้อมูล สารสนเทศ เนื้อหา ไอเดีย และใช้ในการพิจารณาตัดสินใจเลือกรูปแบบการเรียนรู้ (On Site/Online/On Demand) ที่เหมาะสมกับหัวข้อนั้นๆ หรือ รายวิชานั้นๆ
วิธีการทำแบบทดสอบ
1.เข้าเว็บไซต์ https://dlp.obec.go.th/
2. เลือกหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนแบบ HyFlex Classroom วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565
3. คลิกทำแบบทดสอบ จำนวน 15 ข้อ
4. เมื่อผ่านเกณฑ์สามารถดาวน์โหลดเกียรติบัตรได้ทันที
ตัวอย่างเกียรติบัตร
ขอบคุณที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี