การประกวดภาพถ่าย ภายใต้ “โครงการศิลปินร่วมสมัย สู้ภัยโควิด ด้วยจิตสำนึก” ในหัวข้อ “บันทึกคนไทย น้ำใจไม่มีหมด”

การประกวดภาพถ่าย ภายใต้ “โครงการศิลปินร่วมสมัย สู้ภัยโควิด ด้วยจิตสำนึก” ในหัวข้อ “บันทึกคนไทย น้ำใจไม่มีหมด” เปิดรับผลงานระหว่างวันที่ 1 – 20 มิถุนายน 2563

การประกวดภาพถ่าย ภายใต้ “โครงการศิลปินร่วมสมัย สู้ภัยโควิด ด้วยจิตสำนึก” ในหัวข้อ “บันทึกคนไทย น้ำใจไม่มีหมด”
การประกวดภาพถ่าย ภายใต้ “โครงการศิลปินร่วมสมัย สู้ภัยโควิด ด้วยจิตสำนึก” ในหัวข้อ “บันทึกคนไทย น้ำใจไม่มีหมด”

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กำหนดจัดกิจกรรมการประกวดภาพถ่าย ภายใต้ “โครงการศิลปิน ร่วมสมัย สู้ภัยโควิด ด้วยจิตสำนึก” ในหัวข้อ “บันทึกคนไทย น้ำใจไม่มีหมด” ชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 1,818,000 บาท และ โล่รางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีใจรักในการถ่ายภาพ ถ่ายทอดความคิดและสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 อาทิ

  • เหตุการณ์ที่น่าประทับใจภายใต้ภาวะวิกฤต
  • การปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิต (New Normal) ในมุมมองเชิงบวกและสร้างสรรค์
  • การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาในการดำรงชีวิต
  • การช่วยเหลือ การให้กำลังใจ การเยียวยา และการแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ร่วมกัน
  • ฯลฯ

เพื่อรวบรวมเป็นบันทึกประวัติศาสตร์และภาพความทรงจำสำหรับคนไทยทั้งประเทศในยามวิกฤตครั้งนี้

โดยผลงานภาพถ่ายทั้งหมดที่สร้างสรรค์ขึ้นจะเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และจะนำมาเผยแพร่สู่สาธารณชนผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย สื่อออนไลน์ เว็บไซต์ และช่องทางอื่น ๆ ที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาด้านศิลปะร่วมสมัย การประชาสัมพันธ์กิจกรรม และภารกิจที่เกี่ยวข้องของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยต่อไป

ประเภทรางวัล

1. ประเภทนักเรียน/นักศึกษา

ผู้ส่งผลงาน จะต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปี โดยศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีหรือต่ำกว่า และแสดงหลักฐานการเป็นนักเรียน/นักศึกษา รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 50,000 บาท พร้อมโล่รางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และเกียรติบัตร

  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท พร้อมโล่รางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และเกียรติบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 20,000 บาท พร้อมโล่รางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และเกียรติบัตร
  • รางวัลชมเชย จำนวน 20 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

2. ประเภทประชาชนทั่วไป

ผู้ส่งผลงาน จะต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศไทย

  • รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 100,000 บาท พร้อมโล่รางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และเกียรติบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 50,000 บาท พร้อมโล่รางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และเกียรติบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท พร้อมโล่รางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และเกียรติบัตร
  • รางวัลชมเชย จำนวน 40 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลภาพถ่ายดีเด่นประจำภูมิภาค จำนวน 76 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร โดยแบ่งเป็น 6 ภูมิภาค ดังนี้ ภาคเหนือ จำนวน 9 รางวัล
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 20 รางวัล
    • ภาคกลาง จำนวน 21 รางวัล
    • ภาคตะวันออก จำนวน 7 รางวัล
    • ภาคตะวันตก จำนวน 5 รางวัล
    • ภาคใต้ จำนวน 14 รางวัล
  • ภาพที่ร่วมแสดง จำนวน 858 ภาพ จะได้รับเงินค่าสร้างสรรค์ผลงาน ภาพละ 1,000 บาท

เกณฑ์การตัดสิน

  • ภาพถ่ายสามารถสะท้อนมุมมองของผู้ถ่ายภาพในเชิงสร้างสรรค์
  • ภาพถ่ายต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ขนบธรรมเนียม ประเพณี และต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
  • ภาพถ่ายมีคุณค่าและความงามในเชิงศิลปะ

คณะกรรมการตัดสิน (The Panel of Judges)

  • นายวรนันทน์ ชัชวาลทิพากร (Mr. Waranun Chutchawantipakorn, Hon.F.RPST, National Artist)
    ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ศิลปะภาพถ่าย) พ.ศ. 2552
  • ดร. วิมลลักษณ์ ชูชาติ (Dr. Vimolluck Chuchart)
    ผู้อํานวยการสํานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย 
  • นายดาว วาสิกสิริ (Mr. Dow Wasiksiri)
    นายกสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • นายโกวิท ผกามาศ (Mr. Kowit Pakamart)
    รองผู้อํานวยการสํานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
  • นายวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ (Mr. Wasinburee Supanichvoraparch)
    ศิลปินศิลปาธร สาขาการออกแบบ ประจําปี 2553
  • นายตุลย์ หิรัญญลาวัลย์ (Mr. Tul Hirunyalawan)
    อุปนายกสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 
  • นางสาวสมลักษณ์ คล่องแคล่ว (Miss Somlak Klongklaew)
    ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมงานวิจิตรศิลป์ (ทัศนศิลป์) รักษาราชการ​แทนผู้อำนวยการศูนย์หอศิลป์​ สำนัก​งานศิลป​วัฒนธรรม​ร่วมสมัย​
  • นายอดุล ตัณฑโกศัย (Mr. Adul Tanthakosai)
    กรรมการบริหารสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • นายวรรณพงษ์ สุรโรจน์ประจักษ์ (Mr. Wannapong Surarochprajak, Hon.F.PVS)
    กรรมการบริหารสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ช่องทางการสมัครเข้าร่วมโครงการ

ผู้ประสงค์จะส่งภาพถ่ายเข้าประกวดจะต้องลงทะเบียนผ่านระบบเว็บไซต์ของสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศ ไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ http://www.rpst.or.th/covid-19-and-naamjai-photo-contest โดยผู้สมัคร จะต้องกรอกรายละเอียด พร้อมสร้าง Username และ Password ขึ้นมาเอง และจะสามารถทําการ Upload ภาพถ่ายทางออนไลน์ได้ทันทีเมื่อลงทะเบียนเรียบร้อย รวมถึงสามารถเปลี่ยนภาพที่ส่งประกวดได้ตลอดเวลา จนถึงวันปิดรับการส่งภาพ (ตั้งแต่วันที่ 1-20 มิถุนายน 2563 เวลา 18.00 น.)

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-209-3755, 097-250-0058

การประกวดภาพถ่าย ภายใต้ “โครงการศิลปินร่วมสมัย สู้ภัยโควิด ด้วยจิตสำนึก” ในหัวข้อ “บันทึกคนไทย น้ำใจไม่มีหมด”

กติกา และเงื่อนไขในการประกวด

  1. ผู้สมัคร เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
  2. ผู้สมัคร 1 คน มีสิทธิ์ส่งภาพเข้าประกวดไม่เกิน 10 ผลงาน
  3. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด ต้องเป็นภาพถ่ายที่ถ่ายด้วยตนเอง และไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น ทั้งนี้ ต้องเป็นภาพถ่ายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันหมดเขตรับภาพ (20 มิถุนายน 2563)
  4. ไฟล์ภาพที่ส่งต้องเป็นไฟล์ที่มีขนาดที่สั้นที่สุดของภาพต้องไม่ต่ำกว่า 2,400 พิกเซล และด้านยาวที่สุดของภาพต้องไม่เกินกว่า 4,000 พิกเซล ในรูปแบบ .jpg เท่านั้น
  5. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด ต้องเป็นภาพถ่ายที่ถ่ายโดยใช้กล้อง Digital ในทุกรูปแบบ (DSLR, Mirrorless, Compact, Action Camera และ Smartphone) หรือกล้องบรรจุฟิล์ม ในกรณีที่ใช้กล้องบรรจุฟิล์ม จะต้องนำฟิล์มไปสแกนเป็นไฟล์ภาพดิจิตอลความละเอียดสูง ไม่รับภาพจากอากาศยานไร้คนขับ (โดรน)
  6. ภาพที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่มีลายน้ำ เครดิตภาพ ตัวอักษร หรือกราฟิกใดๆ ลงบนภาพ รวมทั้งห้ามเว้นขอบภาพเป็นสีขาวหรือสีใด ๆ (หากผิดกติกาข้อนี้ จะถูกคัดเลือกออกโดยไม่มียกเว้นใด ๆ ทั้งสิ้น)
  7. สามารถปรับแต่งได้ แต่ห้ามทำการตัดต่อภาพจนผิดความเป็นจริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการตัดสิน
  8. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดใด ๆ มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการประกวดในเวทีสาธารณะ หรือการประกวดภายในของสมาคม ชมรม หรือองค์กรอื่นใด
  9. ผู้ที่ส่งภาพเข้าประกวดต้องรักษาภาพต้นฉบับไว้ ในกรณีที่คณะกรรมการตัดสินภาพมีข้อสงสัย สามารถเรียกให้ผู้เข้าร่วมประกวดแสดงภาพต้นฉบับได้
  10. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่มีข้อผูกมัดในเรื่องกรรมสิทธิ์ภาพจากหน่วยงานต่าง ๆ รวมไปถึงต้องไม่ใช่ภาพที่ส่งขายตาม Stock Photo ทุกแห่ง ทั้งนี้คณะผู้จัดงานจะไม่รับผิดชอบเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ ที่เจ้าของผลงานมีสัญญาผูกพันต่อบุคคลหรือหน่วยงานใด ๆ ซึ่งเจ้าของผลงานต้องเป็นผู้รับผิดชอบในกรณีนี้เอง
  11. หากปรากฏว่าภาพที่เข้าประกวดไม่เป็นไปตามกติกาข้อใดข้อหนึ่งที่กำหนดไว้ข้างต้น ผู้ส่งภาพเข้าประกวด ไม่มีสิทธิ์อ้างว่ากระทำผิดเพราะอ่านกติกาไม่ครบถ้วน คณะกรรมการฯ มีอำนาจในการตัดสินผู้ส่งภาพเข้าประกวด และการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ผู้ส่งภาพเข้าประกวดไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น
  12. ไฟล์ภาพถ่ายทุกไฟล์ที่ส่งเข้าประกวด สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยจะไม่ส่งคืนให้ผู้เข้าร่วมประกวด และไฟล์ภาพดังกล่าวจะเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย แต่ลิขสิทธิ์ของภาพยังคงเป็นของเจ้าของภาพอย่างสมบูรณ์
  13. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย มีสิทธินำภาพถ่ายทุกภาพที่ได้รับรางวัลและ/หรือค่าสร้างสรรค์ผลงาน ไปใช้ในการเผยแพร่ เพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แก่เจ้าของภาพ และไม่ต้องแจ้งให้เจ้าของภาพทราบล่วงหน้าภายในระยะเวลา 3 ปี นับจากวันประกาศผลรางวัล ทั้งนี้ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยจะระบุชื่อเจ้าของผลงานให้ทุกครั้งที่นำภาพถ่ายไปใช้ และเมื่อพ้นจากช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว หากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยมีความประสงค์จะใช้ภาพใด สำนักงานฯ จะติดต่อขออนุญาตจากเจ้าของภาพก่อน เป็นรายกรณี ในการนี้ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย มีสิทธิ์นำภาพที่ได้รับคัดเลือก เผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ อาทิ สื่อโซเชียลมีเดีย สื่อออนไลน์ เว็บไซต์ การแสดงนิทรรศการ การตีพิมพ์ภาพลงในสูจิบัตร รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ทางราชการอื่นใดที่ไม่หวังผลทางการค้าได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้เจ้าของภาพทราบล่วงหน้า
  14. บุคลากรในสังกัดสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และคณะกรรมการตัดสิน ไม่มีสิทธิ์ร่วมส่งภาพถ่ายเข้าประกวดในครั้งนี้
  15. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด และเงื่อนไข รวมถึงของรางวัล โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  16. การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

ระยะเวลาดำเนินการ

  • เปิดรับผลงานระหว่างวันที่ 1 – 20 มิถุนายน 2563
  • ตัดสินผลงานระหว่างวันที่ 29 – 30 มิถุนายน 2563
  • ประกาศผลการคัดเลือก วันที่ 6 กรกฎาคม 2563
  • ประกาศผลการตัดสินอย่างเป็นทางการวันที่ 15 กรกฎาคม 2563

หมายเหตุ วันเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

ที่มา และรายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.rpst.or.th/covid-19-and-naamjai-photo-contest/

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่