ดาวน์โหลดเอกสาร คู่มือการนิเทศภายในของสถานศึกษา โดยหน่วยศึกษานิเทศ สพฐ.
ดาวน์โหลดเอกสารการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการนิเทศภายในของสถานศึกษา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566
ความหมายของการนิทศภายในสถานศึกษา
การนิเทศภายใน หมายถึง กระบวนการในการปฏิบัติงานที่ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาร่วมมือกันจัดขึ้น โดยมีจุดประสงค์ในการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ ชี้แนะ เพื่อแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูให้มีประสิทธิภาพ ที่ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นไปในทางที่ดี หรือมีคุณภาพตามมาตรฐานของหลักสูตร
หลักการของการนิเทศภายใน
การนิทศภายในสถานศึกษาเป็นกระบวนการที่ผู้นิทศภายในสถานศึกษาดำเนินการโดยใช้ภาวะผู้นำเพื่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจ ประสานงาน และใช้ศักยภาพในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ อันจะส่งผลต่อการพัฒนางานของสถานศึกษานั้นโดยส่วนรวม โดยมีหลักการนิเทศภายในสถานศึกษา ดังนี้
- การปฏิบัติงานตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นการดำเนินการอย่างมีระบบ มีระเบียบแบบแผนซึ่งครอบคลุมถึงวิธีการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการ การวางแผนการนิเทศ การปฏิบัติการนิเทศการประเมินผลการนิเทศ ซึ่งควรมาจากการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และสรุปผลอย่างมีประสิทธิภาพเป็น
- การปฏิบัติงานตามวิธีทางประชาธิปไตย การเคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้เกียรติซึ่งกัน
และกัน เปิดใจกว้าง ยอมรับในการประเมินตนเอง ยอมรับในเหตุผลและปฏิบัติตามข้อตกลง ตลอดจนใช้ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน เพื่อให้งานนั้นไปสู่เป้าหมาย - การปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาสร้างสรรค์ โดยการแสวงหาความสามารถพิเศษของครูแต่ละบุคคล
เปิดโอกาสให้ได้แสดงออกและสนับสนุนส่งเสริมความสามารถเหล่านั้นอย่างเต็มที่ - การปฏิบัติงานตามกระบวนการกลุ่มและการมีส่วนร่วม เน้นความร่วมมือร่วมใจในการดำเนินงาน
โดยยึดวัตถุประสงค์การทำงานร่วมกัน การช่วยเหลือและแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ร่วมคิดร่วมพัฒนาทั้งนี้เพื่อความสำเร็จของงานโดยส่วนรวม - การปฏิบัติงานเพื่อประสิทธิภาพ เน้นการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ มีการควบคุม
ติดตามผลการดำเนินงานและผลผลิตอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผล ภายใต้เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด - การปฏิบัติงานโดยยึดวัตถุประสงค์ ก่อนการดำเนินการทุกครั้งมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของ
การทำงานไว้อย่างชัดเจน ออกแบบการดำเนินงานอย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ขอบคุณที่มา : สพป.น่าน เขต 1