อบรมออนไลน์ฟรี ในหัวข้อ ทักษะพลเมืองดิจิทัล วันจันทร์ที่ 3 เมษายน 2566 พร้อมรับใบประกาศจาก Think-Digital

อบรมออนไลน์ฟรี ในหัวข้อ ทักษะพลเมืองดิจิทัล วันจันทร์ที่ 3 เมษายน 2566  พร้อมรับใบประกาศจาก Think-Digital

มาแล้วครับ งานอบรมดีดี ที่ทั้งฟรี และมีใบประกาศ ขอเชิญคุณครูและผู้ที่สนใจเข้าร่วมอบรมออนไลน์ในหัวข้อ ทักษะ พลเมืองดิจิทัล โครงการอบรมทักษะพลเมืองดิจิทัล Think-Digital Workshop สำหรับคุณครู และผู้ที่สนใจเรียนรู้เรื่อง ทักษะ พลเมืองดิจิทัลสำหรับเยาวชน ฟรี!

เคยมีคำถามเหล่านี้ไหม

  • อยากให้เยาวชนใช้เทคโนโลยีนะ แต่ก็กลัวอันตรายที่จะตามมา แล้วต้องทำอย่างไร?
  • เด็กๆ เยาวชนใช้โทรศัพท์มือถือทั้งวันเลย ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี?
  • แนวทางการสอนให้เป็นพลเมืองดิจิทัลต้องทำอย่างไร

ลงทะเบียนอบรมออนไลน์ฟรี!!

วันจันทร์ที่ 3 เมษายน 2566 

เวลา 13:30 – 15:30 น.

ผ่านช่องทาง Zoom Application 

(ทางโครงการจะส่ง Link ให้ผู้เข้าร่วมทางอีเมลก่อนวันงาน)

ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับใบประกาศนียบัตร  และสื่อการสอนเรื่องพลเมืองดิจิทัลจากทางโครงการ

อบรมแบบฟังเพลิน รับความรู้ไปเต็มๆ กับพี่ธัญ อภิญญา หิรัญญะเวช
ประธานโครงการ Think-Digital
ในวันที่ 3 เมษายน 66 เวลา 13.30-15.30 น.

อบรมออนไลน์ฟรี ในหัวข้อ ทักษะพลเมืองดิจิทัล วันจันทร์ที่ 3 เมษายน 2566  พร้อมรับใบประกาศจาก Think-Digital
ลิงก์ลงทะเบียนรับเกียรติบัตร อบรมออนไลน์ฟรี ในหัวข้อ ทักษะพลเมืองดิจิทัล วันจันทร์ที่ 3 เมษายน 2566 พร้อมรับใบประกาศจาก Think-Digital 2

พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) คืออะไร

สำหรับความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) คือแนวคิดแนวปฏิบัติที่ให้พลเมืองได้เรียนรู้และมีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างชาญฉลาด มีการบริหารจัดการ กำกับตนเองได้ รวมถึงรู้เท่าทันและสามารถปกป้องตนเองจากความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งเคารพสิทธิตนเองและผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย

พลเมืองดิจิทัลนั้นควรมีทักษะและความรู้ด้านดิจิทัลหลายด้านที่ช่วยให้การใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น ทักษะความรู้ด้านสารสนเทศ และอื่นๆ ที่จะช่วยให้ใช้สื่อทางโลกดิจิทัลอย่างเข้าใจและรู้เท่าทันในการค้นหาข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ

ซึ่ง 8 ทักษะสำคัญในการเป็นพลเมืองดิจิทัล ซึ่งจะทำให้อยู่ในสังคมได้อย่างเข้าใจและปลอดภัย ได้แก่

ทักษะการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตัวเอง (Digital Citizen Identity) ความสามารถในการสร้างและจัดการภาพลักษณ์ของตนเองในสื่อโซเชียลในเชิงบวกภายใต้พื้นฐานความเป็นจริง รับผิดชอบในการกระทำ ไม่กระทำการผิดกฎหมายละเมิดจริยธรรม

ทักษะในการบริหารจัดการเวลาในโลกดิจิทัล (Screen Time Management) สามารถบริหารเวลาและควบคุมตนเองในโลกออนไลน์กับในชีวิตจริงได้อย่างสมดุล

ทักษะการรับมือการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ (Cyberbullying Management) มีความสามารถในการรับมือ ป้องกัน และมีภูมิคุ้มกันกับการข่มขู่บนโลกไซเบอร์อย่างเหมาะสม ไม่ใช้อารมณ์

ทักษะการรักษาความปลอดภัยของตนเองบนโลกไซเบอร์ (Cybersecurity Management) ความสามารถในการป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูลหรือถูกโจมตีในโลกออนไลน์ได้ เช่น การกำหนดรหัสผ่านต่างๆ ให้ปลอดภัย

ทักษะในการจัดการความเป็นส่วนตัว (Privacy Management) รักษาความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ของตนเองและผู้อื่นได้ เพื่อความปลอดภัยทางข้อมูล

ทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) สามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง วิเคราห์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ โดยใช้วิจารณญาณและการตรวจสอบที่ถูกต้อง เช่น ภาพตัดต่อต่างๆ

ทักษะในการบริหารจัดการข้อมูล ร่องรอยทางดิจิทัล (Digital Footprint) สามารถในการคิด เข้าใจความเป็นไปในโลกดิจิทัลว่าจะทิ้งร่องรอยและประวัติไว้เสมอ ซึ่งอาจส่งผลต่อในอนาคตและการใช้ชีวิต

ทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความเห็นอกเห็นใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น (Digital Empathy) มีความเห็นอกเห็นใจ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในโลกออนไลน์ มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ขอบคุณที่มา :: เรียนวิธีคิด ผ่านวิธีโค้ด by CodingThailand

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่