สสวท.จัดประกวด ผลงานดีเด่นด้านโค้ดดิ้ง CODING Achievement Awards ชิงโล่รางวัลจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่งผลงานภายใน 15 กรกฎาคม 2565

สสวท.จัดประกวด ผลงานดีเด่นด้านโค้ดดิ้ง CODING Achievement Awards ชิงโล่รางวัลจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่งผลงานภายใน 15 กรกฎาคม 2565

ขอเรียนเชิญคุณครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) ทั้งในระดับประถมและมัธยมศึกษา เข้าร่วมส่งผลงานประกวด CODING Achievement Awards เพื่อค้นหาสุดยอดคุณครูที่มีการจัดการเรียนรู้ด้าน Coding ดีเด่น ท้ังในรูปแบบ Unplugged และ Plugged Coding ชิงโล่รางวัลจากกระทรวงศึกษาธิการ มาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ไอเดียในชั้นเรียนกันดีกว่า Coding ง่ายกว่าที่คิด พิชิตยุคดิจิทัล

สสวท.จัดประกวด ผลงานดีเด่นด้านโค้ดดิ้ง CODING Achievement Awards ชิงโล่รางวัลจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่งผลงานภายใน 15 กรกฎาคม 2565
สสวท.จัดประกวด ผลงานดีเด่นด้านโค้ดดิ้ง CODING Achievement Awards ชิงโล่รางวัลจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่งผลงานภายใน 15 กรกฎาคม 2565

ที่มาและความสำคัญ

ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้มีการประกาศใช้มาตรฐานหลักสูตรการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) โดยเพิ่มเติมสาระที่ ๔ เทคโนโลยี ซึ่งมีวิชาวิทยาการคำนวณ (Computing Science) ที่ประกอบด้วยองค์ความรู้หลัก ๓ ด้าน ได้แก่ ๑) วิทยาการคอมพิวเตอร์ เช่น การแก้ปัญหา Coding การใช้ตรรกะ ๒) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหา ๓) การใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยและรู้เท่าทัน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดประกวด ผลงานดีเด่นด้านโค้ดดิ้ง ได้ร่วมกันขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณและโค้ดดิ้ง โดยมีการจัดอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และแนวทางการจัดการเรียนรู้ให้ครูผู้สอนสาระเทคโนโลยีทั้งในรูปแบบการอบรมออนไลน์และแบบพบหน้าทั่วประเทศ ในการนี้ สพฐ. และสสวท. เห็นพ้องต้องกันว่า ควรมีการจัดเผยแพร่องค์ความรู้และแสดงผลงานดีเด่นด้าน Coding ทั้งในรูปแบบ Unplugged และ Plugged ใน ๔ ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยเปิดรับสมัครให้คุณครูผู้สอนในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือกลุ่มสาระอื่นที่ได้นำองค์ความรู้ด้านโค้ดดิ้งไปบูรณาการให้เข้ากับบริบทของท้องถิ่นอย่างเหมาะสมทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ร่วมส่งผลงานเพื่อคัดเลือกเป็นผลงานดีเด่นรวมทั้งสิ้นจำนวน ๔๐ ผลงานในแต่ละภูมิภาค โดยมีผลงานรวมทั้งสิ้น ๑๖๐ ผลงาน

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อติดตามผลการนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในชั้นเรียนอย่างเป็นรูปธรรม

๒. เพื่อคัดเลือกนวัตกรรมหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้าน Coding ที่สามารถเผยแพร่เป็นแบบอย่างให้กับครู

๓. เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติและสร้างขวัญกำลังใจให้กับครูผู้สอน

ประเภทรายการครูดีเด่น

๑. Unplugged Coding ระดับประถมศึกษา จำนวน ๑๐ ผลงาน/ภูมิภาค รวม ๔๐ ผลงาน

๒. Unplugged Coding ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑๐ ผลงาน/ภูมิภาค รวม ๔๐ ผลงาน

๓. Plugged Coding ระดับประถมศึกษา จำนวน ๑๐ ผลงาน/ภูมิภาค รวม ๔๐ ผลงาน

๔. Plugged Coding ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑๐ ผลงาน/ภูมิภาค รวม ๔๐ ผลงาน

ผู้ส่งผลงาน

ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งเป็นครูผู้สอนในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือกลุ่มสาระอื่นที่ได้นำองค์ความรู้ด้าน Coding ไปบูรณาการให้เข้ากับบริบทของท้องถิ่นอย่างเหมาะสม สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ ๒ ประเภทตามระดับชั้นที่สอน คือ

๑. การจัดการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ Unplugged Coding

๒. การจัดการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมแบบใช้คอมพิวเตอร์ Plugged Coding

ทั้งนี้ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สามารถส่งรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ๑ ผลงานต่อ ๑ ประเภทตามระดับชั้นที่สอน ในการเข้าร่วมการคัดเลือกเท่านั้น

กำหนดการคัดเลือกผลงาน

สสวท.จัดประกวด ผลงานดีเด่นด้านโค้ดดิ้ง CODING Achievement Awards ชิงโล่รางวัลจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่งผลงานภายใน 15 กรกฎาคม 2565 3

ขั้นตอนการดําเนินงานการเผยแพร่องค์ความรู้และแสดงผลงานดีเด่นด้าน Coding ในส่วนภูมิภาค

๑. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนการเผยแพร่องค์ความรู้และแสดงผลงานดีเด่นด้าน Coding
ของภูมิภาค

๒. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ เขตเจ้าภาพ ประชุมคณะทำงานทำงานด้านวิชาการ และด้านการจัดแสดงผลงาน

๓. สพฐ. และสสวท. จัดทำหนังสือแจ้งประชาสัมพันธ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อประชาสัมพันธ์ คุณครูส่งผลงานดีเด่นด้าน Coding ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ในวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ โดยให้เขตพื้นที่การศึกษาแต่ละเขตจัดทำแบบฟอร์มรับสมัครของตนเอง

๔. ครูในภูมิภาคดำเนินการจัดส่งแสดงผลงานดีเด่นด้าน Coding ปีการศึกษา ๒๕๖๔-๒๕๖๕ ไปยังเขตพื้นที่การศึกษา ระหว่างวันที่ ๑ มิถุนายน – ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๕

๕. จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงาน โดยให้มีการแจ้งทุกเขตพื้นที่การศึกษา โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ ภายในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๕

๖. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและจัดทำรายงานการคัดเลือกผลงานดีเด่นด้าน Coding ส่วนภูมิภาค

๗. จัดประชุมชี้แจงเกณฑ์การตัดสินให้คณะกรรมการแต่ละภูมิภาคทราบผ่านแอปพลิเคชัน Zoom โดยสพฐ.ร่วมกับสสวท. ภายในเดือนมิถุนายน

๘. เขตพื้นที่การศึกษาคัดเลือกผลงาน เขตละ ๑ ผลงาน/ประเภท ส่งคณะกรรมการตัดสินผลงานดีเด่นด้าน Coding ส่วนภูมิภาค ภายในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕

๙. คณะกรรมการคัดเลือกผลงานดีเด่นด้าน Coding ส่วนภูมิภาค ภูมิภาคละ ๔๐ ผลงาน ระหว่างวันที่ ๑ – ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยคณะกรรมกรตัดสินจะต้องไม่ประเมินผลงานของผู้สอนในเขตพื้นที่ของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้

  • กรรมการต้องไม่ตัดสินในกรณีสถานศึกษาของตนเข้าแข่งขัน
  • กรรมการต้องไม่ตัดสินในกรณีสถานศึกษาในสังกัดเข้าแข่งขัน
  • กรรมการที่มาจากครูผู้สอนควรแต่งตั้งให้ตัดสินในระดับชั้นที่ทำการสอน
  • กรรมการควรมีที่มาจากเขตพื้นที่การศึกษาอื่นอย่างหลากหลาย

๑๐. คณะกรรมการสรุปผลการประเมิน และแจ้งผลสรุปการคัดเลือกจำนวน ๔๐ ผลงานต่อภูมิภาค เพื่อเสนอผลการคัดเลือกต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ ฯ

๑๑. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขตเจ้าภาพ ประกาศผลการคัดเลือก ภายในวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๕ และดำเนินการประสานครูเจ้าของผลงานในการเข้าร่วมในการแสดงผลงานดีเด่นด้าน Coding

๑๒. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขตเจ้าภาพ จัดงานเผยแพร่องค์ความรู้และแสดงผลงานดีเด่นด้าน Coding และมอบเกียรติบัตร พร้อมโล่รางวัลจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้กับครูที่ได้รับการคัดเลือก ภายในวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕

หลักเกณฑ์การประกวด

ผู้ส่งผลงาน

ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ โดย ๑ คนสามารถส่งผลงานเข้าคัดเลือกได้เพียง ๑ ประเภท คือ Unplugged หรือ Plugged Coding เท่านั้น โดยเป็นผลงานการสอนในปีการศึกษาที่ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕

องค์ประกอบผลงานที่ส่งเข้าประกวด

๒.๑ รูปเล่มการจัดการเรียนรู้ Coding ไม่เกิน ๕๐ หน้า (ให้บันทึกเป็น .pdf) ประกอบด้วย

๒.๑.๑ ปก คำนำ สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ

๒.๑.๒ ส่วนที่ ๑ รายงานการดำเนินการวิเคราะห์จัดการเรียนรู้ Coding อย่างเป็นระบบ มีองค์ประกอบแสดงถึงแนวทางการวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์เพื่อการจัดการเรียนรู้ Coding

๒.๑.๓ ส่วนที่ ๒ แผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมง จำนวน ๑ แผน โดยในแผนจะต้องมีใบกิจกรรมหรือใบงาน อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างน้อย ๑ อย่าง เกณฑ์การวัดและประเมินผล บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ และได้รับการรับรองแผนการจากผู้บริหารสถานศึกษา/รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ และหัวหน้ากลุ่มการเรียนรู้ ที่แนบต่อท้ายมาด้วย

๒.๑.๔ ส่วนที่ ๓ หลักฐานการจัดการเรียนรู้ Coding และหลักฐานการรับรองความถูกต้องด้านเนื้อหา และสื่อการสอนที่ปรากฏในวีดิทัศน์นำเสนอการจัดการเรียนรู้ Coding จากครูผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น/รองหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้/หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้

๒.๑.๕ ส่วนที่ ๔ หลักฐานผลที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ Coding

๒.๒ วีดิทัศน์การจัดการเรียนรู้ Coding ที่มีความยาวไม่เกิน ๑๕ นาที สร้างขึ้นด้วยตนเอง ไม่เคยเผยแพร่ ไม่เคยได้รับรางวัล ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ใดของบุคคลอื่น โดยนำวีดิทัศน์ดังกล่าวไปเผยแพร่ในช่องทาง Youtube จำนวน ๑ วีดิทัศน์

วิธีการส่งผลงานเข้าประกวด

๓.๑ จัดส่งรูปเล่มการจัดการเรียนรู้ Coding เป็น Google drive และส่ง Url ตาม Google form ที่กำหนด

๓.๒ จัดส่งวีดิทัศน์การจัดการเรียนรู้ Coding โดยส่ง Url Youtube ตาม Google form ที่กำหนด

คู่มือและเกณฑ์การประกวด

รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://bit.ly/3GvZxzr

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่