คุรุสภาประกาศคัดเลือกรางวัลครูผู้สอนดีเด่น ประจำปี 2565 ส่งผลงานเพื่อพิจารณาคัดเลือกไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ภายในวันที่ 20 เมษายน 2565

คุรุสภาประกาศคัดเลือกรางวัลครูผู้สอนดีเด่น ประจำปี 2565 ส่งผลงานเพื่อพิจารณาคัดเลือกไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ภายในวันที่ 20 เมษายน 2565

คุรุสภาประกาศคัดเลือกรางวัลครูผู้สอนดีเด่น ประจำปี 2565 ผู้เสนอผลงานหรือได้รับการเสนอชื่อ กรอกข้อมูลเจ้าของประวัติและผลงานที่เสนอชื่อและผลงานตามแบบที่คุรุสภากำหนดและส่งผลงานเพื่อพิจารณาคัดเลือกไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ภายในวันที่ 20 เมษายน 2565

คุรุสภาประกาศคัดเลือกรางวัลครูผู้สอนดีเด่น ประจำปี 2565 ส่งผลงานเพื่อพิจารณาคัดเลือกไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ภายในวันที่ 20 เมษายน 2565
คุรุสภาประกาศคัดเลือกรางวัลครูผู้สอนดีเด่น ประจำปี 2565 ส่งผลงานเพื่อพิจารณาคัดเลือกไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ภายในวันที่ 20 เมษายน 2565

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ดำเนินการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพครูในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน และเป็นแบบอย่างที่ดีในการประกอบวิชาชีพครูให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม เพื่อคัดเลือกรับรางวัลครูผู้สอนดีเด่น ประจำปี 2565 จำนวน 14 ประเภท รวมจำนวนไม่เกิน 28 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติครูผู้สอนดีเด่นให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครูทั่วไป สร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง สร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานแก่ครูผู้สอนดีเด่นให้เกิดการพัฒนาตนเองและมีคุณภาพในการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนและเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับรางวัลได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ทางวิชาชีพ

รางวัลที่ได้รับ ผู้ประกอบวิชาชีพครูที่ได้รับการคัดเลือกรับรางวัลครูผู้สอนดีเด่น จำนวนไม่เกิน 28 คน (ประเภทละไม่เกิน 2 คน) แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ “ระดับดีเด่น” รางวัลที่จะได้รับ ประกอบด้วย โล่ประกาศเกียรติคุณ เข็มเชิดชูเกียรติ และเกียรติบัตร และ “ระดับดี” รางวัลที่จะได้รับ ประกอบด้วย เข็มเชิดชูเกียรติ และเกียรติบัตร

      ประเภทรางวัลครูผู้สอนดีเด่น แบ่งออกเป็น 14 ประเภท ได้แก่ 1) ครูผู้สอนปฐมวัยดีเด่น 2) ครูผู้สอนประถมศึกษาดีเด่น 3) ครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนดีเด่น 4) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยดีเด่น 5) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ดีเด่น 6) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดีเด่น 7) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมดีเด่น 8) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาดีเด่น 9) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะดีเด่น 10) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพดีเด่น 11) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศดีเด่น (ภาษาอังกฤษ) 12) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศดีเด่น (ภาษาจีน) 13) ครูผู้สอนการศึกษาพิเศษหรือการศึกษาพิเศษกรณีเรียนร่วมดีเด่น และ 14) ครูผู้สอนอาชีวศึกษาระดับ ปวช. ดีเด่น (วิชาสามัญและวิชาชีพ) ทั้งนี้ หน่วยงานทางการศึกษาใดเรียกประเภท/กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกันออกไปหากสอนในเนื้อหาวิชาลักษณะเดียวกัน ให้ถือเป็นประเภทเดียวกัน

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับรางวัล จะต้องเป็นผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาปฐมวัย หรือขั้นพื้นฐาน หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างต่อเนื่องรวมระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับถึงวันที่ออกประกาศนี้) และต้องมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ในแต่ละประเภทที่เสนอผลงานไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันออกประกาศ เป็นผู้ปฏิบัติงานและปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ไม่เคยมีประวัติการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพหรือมีพฤติกรรมเสื่อมเสียต่อวิชาชีพ หรืออยู่ในระหว่างการดำเนินการทางคดีหรือการสอบสวนทางวินัยใด ๆ เป็นผู้มีความประพฤติในการครองตน ครองคน ครองงาน เป็นแบบอย่างที่ดี และยอมรับของบุคคลในวิชาชีพและสังคม และไม่เคยได้รับรางวัลครูผู้สอนดีเด่นในระดับประเทศที่เสนอขอมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

เกณฑ์การพิจารณา แบ่งเป็น 2 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการจัดการเรียนรู้ จะต้อง (1) มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่เกิดจากการนำไปใช้และมีองค์ประกอบครบถ้วน จำนวน 3 แผนการจัดการเรียนรู้ หรือแผนการจัดประสบการณ์และสอดคล้องกับนวัตกรรมที่ขอเสนอผลงาน และ (2) มีผลที่เกิดกับผู้เรียนจากการจัดการเรียนรู้ตามแผนสอดคล้องกับตัวชี้วัดการจัดการเรียนการสอนในแต่ละระดับ และ 2) ด้านนวัตกรรม จะต้อง (1) มีนวัตกรรมในการพัฒนาผู้เรียนที่สอดคล้องหรือเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เสนอขอรับรางวัล โดยสามารถเสนอนวัตกรรมในลักษณะรูปแบบ วิธีการ สิ่งของหรือสิ่งประดิษฐ์ และงานวิจัย เอกสาร หรือบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ และ (2) มีผลการเรียนรู้ที่สะท้อนพัฒนาการหลังจากการใช้นวัตกรรมและผลการแก้ปัญหา หรือการพัฒนา มีการเผยแพร่ผลงาน/ชิ้นงาน จนเป็นที่ยอมรับหรือได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ

การเสนอผลงานเพื่อพิจารณา มี 2 วิธี คือ เสนอผลงานด้วยตนเอง หรือได้รับการเสนอชื่อจากบุคคล หรือองค์กร หน่วยงานทางการศึกษา สถานศึกษา สมาคม มูลนิธิ ชมรม เสนอผลงานให้ผู้บริหารสถานศึกษาลงนามรับรอง สามารถลงนามการเสนอได้มากกว่าหนึ่งคน ตามจำนวนที่เสนอขอได้ แต่ต้องไม่เสนอผลงานซ้ำอีก โดยจัดทำแบบรายงานประวัติผละผลงานนวัตกรรม จำนวน 1 เล่ม จำนวนไม่เกิน 30 หน้ากระดาษ แผนการจัดการเรียนรู้ หรือแผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 3 แผน และต้องสอดคล้องกับนวัตกรรมที่ขอเสนอผลงาน จำนวน 1 เล่ม วิดีทัศน์การสอนจริง ที่แสดงให้เห็นถึงการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ความยาวไม่เกิน 20 นาที ทั้งนี้ ให้ส่งผลงานไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ภายในวันที่ 20 เมษายน 2565

      วิธีดำเนินการคัดเลือกครูผู้สอนดีเด่น ในจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้แทนจากหน่วยงานต้นสังกัดทุกสังกัด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด สำนักงานการศึกษาเอกชน สำนักงาน กศน.จังหวัด สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด วิทยาลัยนาฏศิลป์ โรงเรียนกีฬาจังหวัด และโรงเรียนสาธิต จำนวนไม่เกิน 20 คน คัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพครูทุกสังกัดในจังหวัด ให้เหลือประเภท/กลุ่มสาระการเรียนรู้ละ 1 คน และให้บันทึกข้อมูลผู้ที่ได้รับการคัดเลือกลงในระบบ “ยกย่องวิชาชีพ งานรางวัลครูผู้สอนดีเด่น” (tepis2ksp.or.th) ได้ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2565

       เมื่อคัดเลือกเสร็จให้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือก ณ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพื่อรับฟังคำคัดค้านภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันประกาศรายชื่อและออกเกียรติบัตรให้แก่ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในจังหวัด และให้ส่งประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกฯ ไปยังสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา โดยไม่ต้องรอฟังคำคัดค้าน ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 เพื่อพิจารณาคัดเลือกต่อไป ในส่วนของการคัดเลือกครูผู้สอนดีเด่น ในกรุงเทพมหานคร สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาคัดเลือกแทนสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร

สำหรับการคัดเลือกครูผู้สอนดีเด่น ให้ได้รับรางวัล สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาดำเนินการคัดเลือกครูผู้สอนดีเด่นที่ผ่านการคัดเลือก ให้ได้รับรางวัล “ระดับดีเด่น” และ “ระดับดี” ตามประเภท/กลุ่มสาระการเรียนรู้ละ 2 คน จำนวน 14 ประเภท/กลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมจำนวนไม่เกิน 28 คน กรณีมีผู้คัดค้านให้อยู่ในดุลยพินิจของหน่วยคัดเลือก ที่จะพิจารณาคำคัดค้านและประกาศผลการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 10 วัน คำวินิจฉัยของหน่วยคัดเลือกถือเป็นที่สุด

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา จะประกาศผลการคัดเลือกรางวัลครูผู้สอนดีเด่น ประจำปี 2565 ภายในเดือนธันวาคม 2565 กำหนดมอบรางวัลในงานวันครู พ.ศ. 2566 หรือตามความเหมาะสม โดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพถือเป็นที่สุด ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลหากมีพฤติกรรมเสื่อมเสียต่อวิชาชีพหรือขัดต่อจรรยาบรรณของวิชาชีพ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีสิทธิเพิกถอนรายชื่อออกจากบัญชีผู้ได้รับรางวัล หรือเรียกรางวัลคืน แล้วแต่กรณี

คุรุสภาประกาศคัดเลือกครูภาษาไทยดีเด่น เพื่อรับรางวัลเข็มเชิดชูเกียรติจารึกพระนามาภิไธยย่อ สธ ประจำปี 2565

– ผู้เสนอผลงานหรือได้รับการเสนอชื่อ กรอกข้อมูลเจ้าของประวัติและผลงานที่เสนอชื่อและผลงานตามแบบที่คุรุสภากำหนดและส่งผลงานเพื่อพิจารณาคัดเลือกไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ภายในวันที่ 20 เมษายน 2565

คุรุสภาประกาศคัดเลือกครูภาษาฝรั่งเศสดีเด่น เพื่อรับรางวัลเข็มเชิดชูเกียรติจารึกพระนามาภิไธยย่อ กว ประจำปี 2565

– ผู้มีสิทธิเสนอผลงานหรือเสนอชื่อ ให้เสนอผลงานไปยังหน่วยงานที่ตนเองสังกัดอยู่ ภายในวันที่ 20 เมษายน 2565

รายละเอียดเพิ่มเติมที่ : เว็บไซต์คุรุสภา https://www.ksp.or.th/

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่