ก.ค.ศ. มีมติ อนุมัติ หลักการการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ก.ค.ศ. มีมติ อนุมัติ หลักการการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (เกณฑ์ PA) ลดความซ้ำซ้อนจากการประเมิน เน้นระบบการประเมินแบบ Performance-based Appraisal และ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ต้องทำ PA กับผู้บริหาร (ยกเว้นครูผู้ช่วย)

ก.ค.ศ. มีมติ อนุมัติ หลักการการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ก.ค.ศ. มีมติ อนุมัติ หลักการการประเมิน ผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
ก.ค.ศ. มีมติ อนุมัติ หลักการการประเมิน ผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 7/2564 ในวันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และมีมติอนุมัติ หลักการการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนี้

              สืบเนื่องจาก ก.ค.ศ. ได้มีการกำหนดมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะใหม่ รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกตำแหน่ง ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ดังกล่าว ได้กำหนดให้นำผลการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลงไปใช้เป็นองค์ประกอบในการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ประกอบกับตามที่สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้กำหนดนโยบายเร่งด่วนในการขับเคลื่อนการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 5 เรื่อง ซึ่งนโยบายที่ 2 คือ การปรับระบบการประเมินวิทยฐานะควบคู่กับระบบการประเมินเงินเดือน ดังนั้น จึงต้องมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ และหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะดังกล่าว โดยเห็นควรกำหนดหลักการการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน 6 ประเด็น ดังนี้

สภาพปัญหา

                       ปัจจุบันการประเมินเพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะและการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนเงินเดือนมีการกำหนดให้ใช้เครื่องมือ วิธีการ รวมทั้งการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายที่แตกต่างกัน ทำให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีภาระงานเพิ่มขึ้นจากการประเมินที่ซ้ำซ้อน

หลักการ

                         2.1 เพื่อลดความซ้ำซ้อนจากการประเมิน ลดภาระงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลดภาระด้านงบประมาณภาครัฐ รวมทั้งเกิดการเชื่อมโยงบูรณาการกันระหว่างการประเมินแต่ละระบบ ดังนั้น จึงกำหนดรูปแบบการประเมินที่ใช้ตัวชี้วัดเดียวกัน เพื่อให้สามารถนำผลการประเมินมาใช้ ทั้งในการประเมินเพื่อให้มีและเลื่อนวิทยฐานะ การประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ รวมทั้งการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนเงินเดือน

                       2.2 เน้นระบบการประเมินแบบ Performance-based Appraisal เป็นหลัก โดยใช้ระบบการประเมินแบบ Result-based Appraisal ร่วมด้วย

                       2.3 กำหนดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน (ยกเว้นตำแหน่งครูผู้ช่วย) ต้องจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานทุกปีงบประมาณเสนอต่อผู้บังคับบัญชา ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนางานของแต่ละตำแหน่ง โดยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแต่ละคนต้องปฏิบัติงานให้ได้ตามระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามตำแหน่งและวิทยฐานะของตนเอง ซึ่งในส่วนของการประเมินผลการปฏิบัติงานนั้น ผลการประเมินข้อตกลงการพัฒนางานจะนำมาใช้พิจารณาผลการประเมิน
ในองค์ประกอบที่ 1

องค์ประกอบการประเมิน

                       ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดองค์ประกอบการประเมิน 3 ข้อ ดังนี้

                       องค์ประกอบที่ 1 การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน    

                       (เน้นการประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง) 80 คะแนน

                       องค์ประกอบที่ 2 การประเมินการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา

                       (เน้นการประเมินการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานของตนเอง)  10 คะแนน

                       องค์ประกอบที่ 3 การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ (เน้นการประเมินพฤติกรรมและการปฏิบัติตน) 10 คะแนน

 เครื่องมือ

                       การประเมินข้อตกลงในการพัฒนางานเพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ (PA) การคงวิทยฐานะ และการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนเงินเดือน ใช้ตัวชี้วัดในการประเมินชุดเดียวกัน ซึ่งกำหนดจากงานตามมาตรฐานตำแหน่ง     

วิธีการประเมิน

                  องค์ประกอบที่ 1 

                    การประเมินผลการปฏิบัติงานครั้งที่ 1

                   1. นำข้อตกลงในการพัฒนางานมากำหนดขอบเขตของผลการปฏิบัติงานที่คาดหวัง

                   2. ให้ผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติงานตามขอบเขตของผลการปฏิบัติงานที่คาดหวัง

                    การประเมินผลการปฏิบัติงานครั้งที่ 2

                    ให้ผู้บังคับบัญชานำผลการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางานมาใช้ประกอบการพิจารณา

                   องค์ประกอบที่ 2 และ 3

                    การประเมินผลการปฏิบัติงานทั้ง 2 รอบการประเมิน ให้ผู้บังคับบัญชาประเมินตามสภาพการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน

การนำผลการประเมินไปใช้ 

                   ใช้ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน การประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ และใช้เป็นคุณสมบัติในการขอให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ

                   ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.ค.ศ. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์สำนักงาน ก.ค.ศ.

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่