บอร์ดกพฐ.กลับลำเลิกจำกัดรับนักเรียนต่อห้องปี 64 ย้ำ รร.ขยายห้องเรียนได้ไม่เกิน 10%

บอร์ดกพฐ.กลับลำเลิกจำกัดรับนักเรียนต่อห้องปี 64 ย้ำ รร.ขยายห้องเรียนได้ไม่เกิน 10% ทั้งนี้ในปีการศึกษา 2566 ก็ปรับลดสัดส่วนการรับนักเรียนจำนวนต่อห้องได้ไม่เกิน 5% และต่อในปีต่อๆไปจะล็อคสัดส่วนจำนวนรับนักเรียนไม่ให้เกิน 40 คนต่อห้อง

เมื่อวันที่ 16 ต.ค.รศ.ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์  เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ว่าที่ประชุมได้หารือถึงการรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ ม.4 ในปีการศึกษา 2564 ที่เดิมมติกพฐ.ให้จำกัดการรับนักเรียนจำนวนไม่เกิน 40 คนต่อห้อง 

แต่การจำกัดจำนวนนักเรียนดังกล่าวในบางพื้นที่อาจมีความจำเป็นที่สามารถรับนักเรียนตามจำนวนดังกล่าวได้ ดังนั้นที่ประชุมจึงมีข้อสรุปของสัดส่วนการรับนักเรียนในปี 2564 ใหม่ว่า โรงเรียนสามารถรับนักเรียนระดับม.1 ได้ตามความจำเป็นได้ไม่เกิน 10% โดยโรงเรียนเหล่านั้นจะต้องดำเนินการรับนักเรียนให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ทั้งนี้ในปีการศึกษา 2566 ก็ปรับลดสัดส่วนการรับนักเรียนจำนวนต่อห้องได้ไม่เกิน 5% และต่อในปีต่อๆไปจะล็อคสัดส่วนจำนวนรับนักเรียนไม่ให้เกิน 40 คนต่อห้อง  
            
ประธานกพฐ.กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้หารือถึงความสัมพันธ์ระหว่างการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต กับ การประเมินมาตรฐานโรงเรียน โดยโรงเรียนบางแห่งเราจะพบว่าการประเมินมาตรฐานจากสำนักงานรับรองคุณภาพและมาตรฐาน (สมศ.) กับผลทดสอบโอเน็ตไม่มีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติให้มีการทบทวนเรื่องการประเมินมาตรฐานโรงเรียนของสมศ.กับคะแนนโอเน็ตจะต้องมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันมากกว่านี้ เช่น หากประเมินว่าโรงเรียนนี้มีคุณภาพระดับดีมากแต่ผลโอเน็ตต้องดีตามไปด้วย เป็นต้น 

ขณะเดียวกันที่ประชุมยังได้หารือถึงการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยจะเริ่มควบรวมโรงเรียนขยายโอกาสที่มีนักเรียนต่ำกว่า 100 ลงคนลงไป ซึ่งจะวิเคราะห์จากการคมนาคมเป็นหลัก ซึ่งมีโรงเรียนขนาดเล็กที่ต้องเข้าสู่การบริหารจัดการทั้งการควบรวม ประมาณ 8,000 แห่ง  และโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อรอการยุบรวม จำนวน 200 แห่ง  
           
“ในการประชุมกพฐ.ครั้งนี้เราได้ร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) เพื่อนำหลักสูตรของ สพฉ.มาอบรมและพัฒนาครู ให้เรียนรู้หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือการการทำวิธีปฐมพยาบาลที่เพิ่มโอกาสรอดชีวติ หรือCPR โดยการอบมรมดังกล่าวจะดำเนินการในรูปแบบออนไลน์ และจะถือว่าเป็นช่วงโมงอบรมให้เป็นส่วนหนึ่งของการเลื่อนและมีวิทยาฐานะด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายในการอบรมสพฉ.จะเป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งนี้เชื่อว่าจะเกิดประโยชน์แก่ครูและนักเรียนเป็นอย่างมาก” รศ.ดร.เอกชัย 

ขอบคุณที่มาและอ่านต่อ : เว็บไซต์เดลินิวส์ออนไลน์ วันที่ 16 ตุลาคม 2563

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่