ก.ค.ศ.มีการปรับเกณฑ์การตัดสินตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ปรับเกณฑ์การผ่าน PA ลงวันที่ 28 เมษายน 2566
สรุปการปรับเกณฑ์การตัดสินตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ลงวันที่ 28 เมษายน 2566
1. ปรับปรุงเกณฑ์การตัดสินสำหรับการประเมินเฉพาะด้านที่ 1 และด้านที่ 2 ของตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา และ ศึกษานิทศก์ ทุกวิทยฐานะ โดยกำหนดให้ผู้ที่ผ่านเกณฑ์ การประเมินต้องได้คะแนนแต่ละด้าน ดังนี้
ด้านที่ 1 ต้องได้คะแนนจากกรรมการไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 คน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 สำหรับการขอมีวิทยฐานะชำนาญการ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 สำหรับการขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 สำหรับการขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ และไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 สำหรับการขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ
ด้านที่ 2 ต้องได้คะแนนจากกรรมการไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 คน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 สำหรับการขอมีวิทยฐานะชำนาญการ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 สำหรับการขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 สำหรับการขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ และไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 สำหรับการขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ
2.กำหนดแนวปฏิบัติในการนำผลการประเมินที่ไม่ผ่านตามเกณฑ์การตัดสินเดิมมาพิจารณาใหม่ ดังนี้
2.1 กรณีที่ สพท. หรือส่วนราชการได้แจ้งมติไม่อนุมัติไปแล้วให้ สพท. หรือส่วนราชการทบทวนผลการประเมินดังกล่าวตามเกณฑ์การตัดสินใหม่ แล้วแจ้งสำนักงาน ก.ค.ศ.เฉพาะกรณีผลการประเมินผ่นตามเกณฑ์การตัดสินใหม่เพื่อปรับปรุงข้อมูลผลการประเมินในระบบ DPA ให้สอดคล้องกับเกณฑ์การตัดสินใหม่ และเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาหรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้งแล้วแต่กรณี พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
2.2 กรณีที่ สพท. หรือส่วนราชการยังมิได้นำเสนอผลการประเมินที่ไม่ผ่านตามเกณฑ์การตัดสินเดิมต่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ ที่ ก.ค.ศ. ตั้งให้ทบทวนผลการประเมินตามเกณฑ์การตัดสินใหม่แล้วให้นำเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรืออ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาต่อไป
เมื่อคราวประชุม คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 5/2566 วันอังคารที่ 25 เมษายน 2566 ก.ค.ศ. ได้มีมติอนุมัติ การปรับเกณฑ์การตัดสินตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ตาม ว 9 – ว 11/2564 ดังนี้
ตามที่ ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ ตาม ว 9 – ว 11 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 และเปิดระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (Digital Performance Appraisal : DPA) ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ยื่นคำขอผ่านระบบ DPA ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป นั้น สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้พิจารณาแล้วมีความเห็น ดังนี้
เมื่อพิจารณาเทียบเคียงกับหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อเลื่อนตำแหน่งของข้าราชการประเภทอื่น ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน ประเภทวิซาการ และคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งกำหนดขึ้นภายหลังจากที่หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว 9 – ว 11/2564 ใช้บังคับ พบว่า เกณฑ์การตัดสินตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว 9 – ว 11/2564 ที่กำหนดให้ต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนผ่านเกณฑ์ มีความเหลื่อมล้ำกับเกณฑ์การตัดสินของข้าราชการพลเรือน/คณาจารย์ที่กำหนดเกณฑ์ผ่านโดยใช้เสียงข้างมาก ประกอบกับหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว 9 – ว 11/2564 เป็นการให้กรรมการประเมินได้มีการใช้ดุลยพินิจทางวิชาการในการให้คะแนนตามตัวชี้วัดและเกณฑ์การให้คะแนน ตลอดจนให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับผลการประเมินตามที่ ก.ค.ศ. กำหนดได้โดยอิสระผ่านระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (DPA) โดยไม่มีการประชุมคณะกรรมการ และกรรมการแต่ละคนจะไม่ทราบผลการประเมินของกรรมการคนอื่นจึงมีความเป็นไปได้ที่ผลคะแนนของกรรมการแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันมาก อันเนื่องมาจากการที่คณะกรรมการไม่ได้แลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดเห็นเชิงวิชาการที่มีต่อผลงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ขอรับการประเมินร่วมกัน
ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และเพื่อให้การประเมินมีมาตรฐานที่ใกล้เคียงกัน ก.ค.ศ. จึงได้พิจารณาอนุมัติ ดังนี้
1. ปรับปรุงเกณฑ์การตัดสินสำหรับการประเมินเฉพาะด้านที่ 1 และด้านที่ 2 ของตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ ทุกวิทยฐานะ โดยกำหนดให้ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินต้องได้คะแนนผ่านเกณฑ์จากกรรมการไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 คน
2. เนื่องจากปัจจุบันได้มี อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง พิจารณาผลการประเมินตามเกณฑ์การตัดสินเดิมและมีมติไม่อนุมัติ หรืออยู่ระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและส่วนราชการนำเสนอผลการประเมินต่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง ดังนั้น จึงเห็นควรกำหนดแนวปฏิบัติในการนำผลการประเมินที่ไม่ผ่านตามเกณฑ์การตัดสินเดิมมาพิจารณาใหม่ ดังนี้
2.1 กรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือส่วนราชการได้แจ้งมติไม่อนุมัติไปแล้ว ให้ทบทวนผลการประเมินดังกล่าวแล้วแจ้งสำนักงาน ก.ค.ศ. เฉพาะกรณีมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์การตัดสินใหม่เพื่อปรับปรุงผลการประเมินในระบบ DPA และเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง แล้วแต่กรณีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
2.2 กรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือส่วนราชการยังมิได้นำเสนอผลการประเมินที่ไม่ผ่านตามเกณฑ์การตัดสินเดิมต่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง ให้ทบทวนผลการประเมินตามเกณฑ์การตัดสินใหม่แล้วให้เสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง แล้วแต่กรณีเพื่อพิจารณาต่อไป