สรุปผลการรับฟังความเห็น (ร่าง) แผนการศึกษาแห่งชาติ 2563 โดยสภาการศึกษา

สรุปผลการรับฟังความเห็น (ร่าง) แผนการศึกษาแห่งชาติ 2563 โดยสภาการศึกษา สภาการศึกษาประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น เรื่อง (ร่าง) แผนการศึกษาแห่งชาติ 2563ดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๓ (The National Scheme of Education 2020)

สรุปผลการรับฟังความเห็น (ร่าง) แผนการศึกษาแห่งชาติ 2563 โดยสภาการศึกษา
สรุปผลการรับฟังความเห็น (ร่าง) แผนการศึกษาแห่งชาติ 2563 โดยสภาการศึกษา
สรุปผลการรับฟังความเห็น (ร่าง) แผนการศึกษาแห่งชาติ 2563 โดยสภาการศึกษา

โดยมี รองเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์) เป็นประธาน รองเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.อุษณีย์ ธโนศวรรย์) ประธานอนุกรรมการสภาการศึกษาเฉพาะกิจ ด้านการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๘) (ศาสตราจารย์ ดร. สุพจน์ หารหนองบัว) ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและประธานคณะทำงานปรับปรุงแผนการศึกษาแห่งชาติ (ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์) พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงาน ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนร่วมรับฟังกว่า ๒๐๐ คน ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร

ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ต้องการรับฟังข้อเสนอแนะโดยเฉพาะจากผู้ปกครอง ครู และนักเรียน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วยเสียต่อภาคการศึกษาโดยตรง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแผนการศึกษาแห่งชาติให้มีความสมบูรณ์และสอดคล้องกับสภาวการณ์ของโลกที่เปลี่ยนไป เนื่องจากแผนดังกล่าวจะเป็นแผนแม่บทที่มีลักษณะเชิงแนวคิด (Conceptual Design) ชี้นำทิศทางการพัฒนาการศึกษาของประเทศ และสามารถส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบการทำงานด้านการศึกษาได้

สรุปผลการรับฟังความเห็น (ร่าง) แผนการศึกษาแห่งชาติ 2563 โดยสภาการศึกษา
สรุปผลการรับฟังความเห็น (ร่าง) แผนการศึกษาแห่งชาติ 2563 โดยสภาการศึกษา

ที่ประชุมร่วมกันพิจารณา (ร่าง) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๓ ซึ่งในภาพรวมเห็นด้วยและเป็นแผนที่มีความชัดเจน โดยมีข้อเสนอแนะจากผู้ร่วมประชุมแบ่งตามกลุ่ม ดังนี้

กลุ่มนักเรียน :

๑) เสนอเรื่องการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันมีการสอบวัดผลหลายรูปแบบ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำจากค่าสมัครสอบ รวมถึงการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนกรุงเทพและต่างจังหวัดซึ่งควรให้มีมาตรฐานระดับเดียวกัน

๒) ควรมีการจัดแผนการเรียนตามความถนัดของผู้เรียน เนื่องจากชาเรียนไม่เหมาะสมกับระดับชั้น และบางวิชาไม่ได้ใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

๓) ควรจัดการสอบให้หมาะกับสายการเรียน เพราะขณะนี้ยังมีการสอบวัดผลนักเรียนแต่ละสายการเรียนที่ใช้รูปแบบเดียวกัน เช่น สายภาษาแต่ต้องสอบวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

๔) การศึกษาเปลี่ยนตามรัฐบาล ไม่ได้อิงจากตัวผู้เรียน จึงควรมีแผนการศึกษาหลักของชาติ

๕) ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษาด้วยการร่วมประเมินบุคลากร

๖) ควรมีตัวแทนของนักเรียนเข้าร่วมการประชุมสำคัญในการวางแผนอนาคตทางการศึกษา

กลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษา :

๑) เสนอให้เพิ่มนโยบายการศึกษาเรื่องการเรียนรู้ระบบทวิภาคี วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน เพื่อเสริมให้การเรียนสายอาชีพเป็นกำลังสำคัญให้การพัฒนาประเทศ

๒) เห็นด้วยเรื่องการเพิ่มค่าตอบแทนครู เสนอระบบคัดกรองครูที่กำหนดวิธีการสอบให้เน้นทักษะของครูตามความเฉพาะของสาขาวิชาและลดจำนวนเนื้อหาวิชาอื่น ซึ่งจะช่วยลดภาวะการขาดแคลนครู

๓) เสนอให้ลดการประเมิน การประกัน การประกวด และการประชุม เพื่อคืนครูสู่ห้องเรียนนอกจากข้อเสนอแนะในส่วนหลัก ผู้ร่วมประชุมตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติม อาทิ โครงสร้างของผู้บริหารสถานศึกษา ควรมีการกำหนดระดับการสอบของผู้อำนวยการสถานศึกษาให้มีการสั่งสมด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิ เพื่อให้มีความพร้อมในการบริหารสถานศึกษาอย่างแท้จริง รวมทั้งควรมีการศึกษาวิชาอื่นนอกตำราเรียน เช่น การออมเงิน การลงทุน การบริหารการเงินตั้งแต่วัยเด็กจนถึงกลุ่มผู้สูงอายุ

ทั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นออนไลน์ (ร่าง) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๓ ที่เว็บไซต์ www.onec.go.th

เพื่อปรับปรุงให้มีความถูกต้องและสมบูรณ์จากการมีส่วนร่วมของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเตรียมเสนอต่อที่ประชุมกรรมการสภาการศึกษาสิ้นเดือนกันยายนนี้

ขอบคุณที่มา : อีทีวีแม็ค เวทีสาธารณะเพื่อการศึกษา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่