สวท.สำรวจพบ 70% นร.-ครู-ผู้ปกครอง ไม่คุ้นเคยการเรียนออนไลน์ “ครู” ต้องปรับตัว เป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้

สวท.สำรวจพบ 70% นร.-ครู-ผู้ปกครอง ไม่คุ้นเคยการเรียนออนไลน์ “ครู” ต้องปรับตัว เป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้

สสวท.สำรวจพบ 70% นร.-ครู-ผู้ปกครอง ไม่คุ้นเคยการเรียนออนไลน์ 31% มีปัญหาขาดอุปกรณ์ ขาดความพร้อม 12% ขาดสมาธิระหว่างเรียน ชี้ นิวนอร์มัลการศึกษาไทย ต้องปรับ “ครู เป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ จะเป็นคานงัดการศึกษาไทย สอนครอบคลุมเกี่ยวกับการใช้ชีวิตจริง

ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวในเวที Recovery Forum ในหัวข้อ “School Reopening and Teacher Empowerment to cope with the Next Normal in Education” จัดโดยสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ว่า สสวท.ได้สำรวจข้อมูลการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ปัจจุบันของครูระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ในช่วงโควิด-19 พบว่า นักเรียน/ครู/ผู้ปกครอง ร้อยละ 70 ไม่คุ้นเคย/ไม่พร้อมกับการเรียนการสอนออนไลน์ ด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยี พบว่า ร้อยละ 31 ขาดอุปกรณ์ ขาดความพร้อม สัญญาณโทรศัพท์/อินเทอร์เน็ตไม่เสถียร ทางบ้านไม่มีกำลังสนับสนุน

ด้านพฤติกรรม พบว่า ร้อยละ 12 นักเรียนขาดสมาธิระหว่างเรียนออนไลน์ การสอนค่อนข้างจะเป็นแบบ One-way จะเป็น Two-way เฉพาะครูที่มีเทคนิคและปรับตัวเข้ากับสถานการณ์สอนออนไลน์ได้ดี และปัญหาของผู้ปกครองต้องทำงาน ไม่มีเวลาดูแลบุตรหลานให้ตั้งใจเรียน

ด้านการสนับสนุนจากส่วนกลาง พบว่า ร้อยละ 13 ครูที่สนใจการสอนออนไลน์ ต้องการแนวทาง หรือการฝึกอบรมจากส่วนกลางเกี่ยวกับวิธีการใช้โปรแกรม เทคนิคการสอนออนไลน์ การสนับสนุนงบประมาณด้านอุปกรณ์และโปรแกรม และสื่อ/ตำราเรียนออนไลน์ ซึ่งปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มีการจัดทำแนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในสถานการณ์โควิด-19 ทั้งในส่วนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนทั้งรูปแบบปกติ และการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน บทบาทในการเรียนของนักเรียน บทบาทในการสอนของครู การเรียนในชั้นเรียน (On-Site) การเรียนผ่านโทรทัศน์ (On-Air) และการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online) เป็นต้น

ขอบคุณที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 20 มิ.ย. 2563

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่