ก.ค.ศ.แก้ไข หลักเกณฑ์วิธีการ สอบบรรจุครูผู้ช่วยกรณีทั่วไป ว14/2566

ก.ค.ศ.แก้ไข หลักเกณฑ์วิธีการ สอบบรรจุครูผู้ช่วยกรณีทั่วไป ว14/2566

ครูอาชีพดอทคอม ขอแนะนำเกณฑ์สอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ 2566 เนื้อหาสอบครูผู้ช่วย 2566 ตามหนังสือที่อ้างถึง สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้แจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้ารชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ให้ส่วนราชการและหน่วยงานการศึกษาทราบและถือปฏิบัติ นั้น

ก.ค.ศ. พิจารณาแล้ว มีมติดังนี้
๑. ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ตามหนังสือที่อ้างถึง เฉพาะสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันฯ ที่กำหนดใหม่ ตามข้อ ๒ แทน

๒. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามสิ่งที่ส่งมาด้วย โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่บัตนี้เป็นต้นไป

ทั้งนี้ การใดที่อยู่ระหว่างการดำเนินการตามหนังสือที่อ้างถึง ก่อนหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ใช้บังคับให้ดำเนินการต่อไปจนแล้วเสร็จ

ก.ค.ศ.แก้ไข หลักเกณฑ์วิธีการ สอบบรรจุครูผู้ช่วยกรณีทั่วไป ว14/2566
ก.ค.ศ.แก้ไข หลักเกณฑ์วิธีการ สอบบรรจุครูผู้ช่วยกรณีทั่วไป ว14/2566

สอบอะไรบ้าง เตรียมสอบครูผู้ช่วย 2566 สังกัด สพฐ.

ก.ค.ศ.แก้ไข หลักเกณฑ์วิธีการ สอบบรรจุครูผู้ช่วยกรณีทั่วไป ว14/2566

หลักสูตรการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(แนบท้ายหลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ ๑๒๐๖.๖/ว ๑๔ ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖)

ภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไป (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)

๑. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน) ให้ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย ในเรื่องต่อไปนี้
๑.๑ การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา ได้แก่ การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย การจับใจความสำคัญ การสรุปความ การตีความจากบทความ ข้อความ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ
๑.๒ การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม ได้แก่ การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคำ ข้อความหรือรูปภาพ ตลอดจนการหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพ สถานการณ์หรือแบบจำลองต่าง ๆ
๑.๓ การคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ความเข้าใจ ความคิดรวบยอด และแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น การเปรียบเทียบและวิเคราะห์เชิงปริมาณ ตลอดจนการประเมินความเพียงพอของข้อมูล

๒. ทักษะภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน) ให้ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย เพื่อวัดความเข้าใจในหลักการสื่อสาร โดยใช้ศัพท์ สำนวน โครงสร้างประโยคที่เหมาะสมทั้งในเชิงความหมาย และบริบท แสดงถึงความสามารถในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การวัดความสามารถด้านการอ่าน โดยทดสอบการทำความเข้าใจในสาระของข้อความหรือบทความ และการวัดความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ ในระดับเบื้องตัน

๓. ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (คะแนนเต็ม ๕o คะแนน) ให้ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย เพื่อวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐานของการเป็นข้าราชการที่ดี ได้แก่ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง หน้าที่และความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตลอดจนเจตคติและจริยธรรมสำหรับข้าราชการ

ภาค ข มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)

๑. มาตรฐานความรู้ทั่วไปในการจัดการเรียนการสอน (คะแนนเต็ม ๗๕ คะแนน) ให้ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย ในเรื่องต่อไปนี้
๑.๑ การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก สังคม และแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๑.๒ จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยาให้คำปรึกษาในการวิเคราะห์และพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
๑.๓ หลักสูตร ศาสตร์การสอน และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้
๑ ๔ การวัดประเมินผลการเรียนรู้และการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
๑.๕ การออกแบบและการดำเนินการเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษา

๒. มาตรฐานความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน (วิชาเอก) (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน) ให้ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย

๓. ความรอบรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และแนวทางการปฏิรูปการศึกษา(คะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน) ให้ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย ในเรื่องต่อไปนี้

๓.๑ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
๑) รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน
๒) กฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ
๓) กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
๔) กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
๕) กฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
๖) กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
๗) กฎหมายว่าด้วยคุ้มครองเด็ก
๘) กฎหมายว่าด้วยการศึกษาปฐมวัย

๓.๒ แนวทางการปฏิรูปการศึกษา ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน

๑) ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
๒) แผนการศึกษาแห่งชาติ
๓ นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ

ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่ง วิชาชีพ และการปฏิบัติงานในสถานศึกษา(คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน) โดยมีองค์ประกอบการประเมิน ดังนี้

๑. คุณลักษณะส่วนบุคคล (คะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน ให้ประเมินจากการสัมภาษณ์ ดังนี้
๑.๑ บุคลิกลักษณะ ท่วงทีวาจา
๑.๒ วุฒิภาวะทางอารมณ์และการมีปฏิภาณการแก้ปัญหา
๑.๓ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เจตคติ และอุดมการณ์ความเป็นครู

๒. การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ (คะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน) ให้ประเมินจากแฟ้มสะสมงาน ดังนี้
๒.๑ ประวัติการศึกษา
๒.๒ ผลงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพและวิซาเอกที่สำเร็จการศึกษา
๒.๓ การเข้าถึงชุมชน และการมีจิตสาธารณะ
๓. ความสามารถด้านการสอน (คะแนนเต็ม ๕0 คะแนน) ให้ประเมื่นจากการนำเสนอที่แสดงถึงทักษะและศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอนของตนเองในสาขาวิชาที่สมัครในรูปแบบและวิธีการต่าง ๆตามที่ผู้ดำเนินการสอบแข่งขันกำหนด

ดาวน์โหลดหลักเกณฑ์

ขอบคุณที่มา :: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา – ประชาสัมพันธ์ ภบ. – ว14/2566 หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (otepc.go.th)

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่