หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม นมโรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2563

หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม นมโรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2563

คณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน กรมปศุสัตว์ ได้ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2563 ลงวันที่ 1 เม.ย. 2563 เพื่อเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการ อาหารเสริม (นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2563 ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย

คณะกรรมการจึงได้ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการ อาหารเสริม (นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2563 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 เม.ย. 2563 เพื่อให้การดำเนินงาน โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2563 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเข้ากับสถานการณ์ ลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือปฏิบัติตามประกาศทั้ง 2 ฉบับ โดยเคร่งครัด

สำหรับหลักเกณฑ์ ที่ให้ดำเนินตามประกาศฉบับแรก ใน 6 หมวดเดิม เช่น การสมัครเข้าร่วมโครงการ การจัดสรรพื้นที่ มาตรการควบคุมและกำกับดูแล หรือการกำหนดโทษไปแล้วนั้น ในฉบับที่ 2 ยังให้ปฏิบัติตามเกี่ยวเนื่องกับการลดการแพร่ระบาด โรคโควิด-19 เช่น ให้ผู้ประกอบการผลิตภัณ์นมต้องทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือกับหน่วยงานจัดซื้อให้แล้วเสร็จอย่างน้อย 5 วันทำการ ก่อนวันที่ 18 พ.ค. 2563 หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้ทำหนังสือแจ้ง อ.ค.ส.ภายใน 7 วัน หลังวันที่ 18 พ.ค. และทำสัญญาให้แล้วเสร็จภายในเดือน มิ.ย. 2563

ภาคเรียนที่ 1/2563 ให้เริ่มส่งนมยูเอชที ในวันที่ 18 พ.ค.จนถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2563 ตามจำนวนและวันที่หน่วยจัดซื้อกำหนด ทั้งนี้ตั้งแต่เปิดภาคเรียนวันที่ 1 ก.ค. ให้จัดส่งนมโรงเรียนตามสัญญาที่ระบุไว้ ซึ่งครอบคลุมนม ยู เอช ที สำหรับเด็กนักเรียนที่ยังไม่ได้รับในช่วง 18 พ.ค.- 30 มิ.ย. 2563

ส่วนภาคเรียนที่ 2/2563 ผู้ประกอบการฯ ต้องรับผิดชอบ ส่งนมโรงเรียนให้เด็กกนักเรียนวันเปิดภาคเรียนตั้งแต่วันแรก ยกเว้นเปิดภาคเรียนในช่วงถือศีลอดของศานาอิสลาม การส่งนมก่อนปิดภาคเรียนที่ 2/2563 ต้องส่งมอบนมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันทำการ

“หากมีการเปลี่ยนแปลงวันเปิด-ปิดภาคเรียน หน่วยจัดซื้อสามารถแจ้งความประสงค์เป็นลายลักษณ์อักษรในการเปลี่ยนแปลงวันและเวลาส่งมอบนมโรงเรียนให้ผู้ประกอบการผลิตนมทราบ และยังให้รับฟังความเห็นของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมที่ได้รับการจัดสรรสิทธิมากกว่า 5 ตันต่อวัน โดยให้เสนอความคิดเห็นการจัดสรรพื้นที่จำหน่าย ให้สอดคล้องตามมาตรการป้องกันโควิด-19”

ดาวน์โหลดเอกสารแนบ

ขอบคุณที่มา :

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่