เกณฑ์การแข่งขัน คัดลายมือสื่อภาษาไทย และแบบอักษรคัดลายมือ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565

เกณฑ์การแข่งขัน คัดลายมือสื่อภาษาไทย และแบบอักษรคัดลายมือ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565

เกณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๗๐ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สรุปกิจกรรมการแข่งขันกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ ๑๐ พ.ย. ๖๕)

เกณฑ์การแข่งขัน คัดลายมือสื่อภาษาไทย และแบบอักษรคัดลายมือ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565
เกณฑ์การแข่งขัน คัดลายมือสื่อภาษาไทย และแบบอักษรคัดลายมือ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565

การแข่งขันคัดลายมือสื่อภาษาไทย

เกณฑ์การแข่งขัน คัดลายมือสื่อภาษาไทย และแบบอักษรคัดลายมือ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 5
เกณฑ์การแข่งขัน คัดลายมือสื่อภาษาไทย และแบบอักษรคัดลายมือ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 6

๑. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

การแข่งขันแบ่งเป็น ๔ ระดับชั้น ดังนี้
๑.๑ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ เท่านั้น
๑.๒ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ เท่านั้น
๑.๓ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ เท่านั้น
๑.๔ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ เท่านั้น

๒. ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน

๒.๑ ประเภทเดี่ยว
๒.๒ จำนวนผู้เข้าแข่งขันระดับชั้นละ ๑ คน

๓. วิธีดำเนินการและหลักเกณฑ์การแข่งขัน

กำหนดเนื้อหาการเขียนให้เหมาะสมตามระดับชั้นของนักเรียน ใช้เวลาแข่งขัน ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที

  • ชั้น ป.๑ – ๓ ใช้ดินสอดำ ๒ B ตัวบรรจงเต็มบรรทัด ความยาว ๑0 – ๑๕ บรรทัด หรือไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ A ๔
  • ชั้น ป.๔ – ๖ ใช้ปากกาลูกลื่นสีดำ ขนาด ๐.๕ มม. ตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ความยาว ๑๕ – ๒๐ บรรทัด หรือไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ A ๔
  • ชั้น ม.๑ – ๓ ใช้ปากกาลูกลื่นสีดำ ขนาด ๐.๕ มม. ตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ความยาว ๒๐ – ๒๕ บรรทัด หรือไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ A ๔
  • ชั้น ม.๔ – ๖ ใช้ปากกาลูกลื่นสีดำ ขนาด ๐.๕ มม. ตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ความยาว ๒๐ – ๒๕ บรรทัด หรือไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ A ๔

ตัวอักษรแบบกระทรวงศึกษาธิการ

เกณฑ์การแข่งขัน คัดลายมือสื่อภาษาไทย และแบบอักษรคัดลายมือ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565

๔. เกณฑ์การให้คะแนน (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน) ดังนี้

๔.๑ ใช้ตัวอักษรแบบกระทรวงศึกษาธิการ ๕๐ คะแนน
๔.๒ ถูกต้องตามอักขรวิธี ๒๕ คะแนน
๔.๓ อ่านง่าย เป็นระเบียบ สะอาดเรียบร้อย ๒๕ คะแนน

๕. เกณฑ์การตัดสิน
ร้อยละ ๘๐ – ๑๐๐ ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง
ร้อยละ ๗๐ – ๗๙ ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน
ร้อยละ ๖๐ – ๖๙ ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง
ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ ได้รับเกียรติบัตร เว้นแต่กรรมการจะเห็นเป็นอย่างอื่น
ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

๖. คณะกรรมการการแข่งขัน ระดับชั้นละ ๓ – ๕ คน
คุณสมบัติของคณะกรรมการ
๑ ผู้ทรงคุณวุฒิ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านภาษาไทย หรือ
๒) ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หรือ
๓) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ข้อควรคำนึง
๑ กรรมการที่เป็นครูต้องไม่ตัดสิน กรณีที่มีนักเรียนในสถานศึกษาของตนเข้าแข่งขันในระดับชั้นนั้น และกรรมการที่เป็นศึกษานิเทศก์ต้องไม่ตัดสิน กรณีที่มีนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดเขตของตนเข้าแข่งขัน
๒) กรรมการควรมีการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตัดสิน
๓) กรรมการควรมาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต่าง ๆ หลายเขตพื้นที่ในภาคเดียวกัน
๔) กรรมการควรให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมแก่นักเรียนที่ชนะลำดับที่ ๑ – ๓

๗. สถานที่ทำการแข่งขัน
ควรเป็นห้องที่มีโต๊ะ เก้าอี้ สำหรับผู้เข้าแข่งขันนั่งตามเลขที่ โดยจัดให้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละระดับชั้น

๘. การเข้าแข่งขันระดับภาค และระดับชาติ
๘.๑ ให้ผู้ที่เป็นตัวแทนของเขตพื้นที่การศึกษาเข้าแข่งขันระดับภาค ทุกกิจกรรมต้องได้คะแนนระดับเหรียญทอง ลำดับที่ ๑ (คะแนนร้อยละ ๘- ขึ้นไป และผู้ที่เป็นตัวแทนระดับภาคถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลระดับชาติ จะต้องได้คะแนนระดับเหรียญทอง ลำดับที่ ๑ – ๓ (คะแนนร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป)
๘.๒ กรณีแข่งขันระดับเขตพื้นที่การศึกษา ที่มีผู้ชนะลำดับสูงสุดได้คะแนนเท่ากัน และระดับภาคมีมากกว่า ๓ คน ให้พิจรณาลำดับที่ตามลำดับข้อของเกณฑ์การให้คะแนน เช่น มีผู้ที่ได้คะแนนข้อที่ ๑ เท่ากันให้ดูข้อที่ ๒ ผู้ที่ได้คะแนนข้อที่ ๒ มากกว่าถือเป็นผู้ชนะ แต่ถ้าข้อ ๒ เท่ากัน ให้ดูข้อถัดไป กรณีคะแนนเท่ากันทุกข้อให้ประธานกรรมการตัดสินเป็นผู้ขี้ขาด

ขอบคุณที่มา : https://sillapa.net/home/

บทความที่เกี่ยวข้อง


ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่