ครูรัก(ษ์)ถิ่น กลับมาเป็นครูพัฒนาบ้านเกิด

เดินหน้า ครูรัก(ษ์)ถิ่น ผลิตครูพัฒนาบ้านเกิด ปีละ 300 ทุน เริ่มปี กศ.63 ดร.อุดม วงษ์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาครู นักศึกษาครู และสถานศึกษา สำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กรณีของครูใหญ่โรงเรียนตชด.บ้านห้วยสลุง อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก สอดคล้องกับแนวคิด โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง 6 หน่วยงาน ประกอบด้วย

  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม(อว.) กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาในการสนับสนุนทุนสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนยากจนด้อยโอกาสจากครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำที่สุดร้อยละ 20 แรกของประเทศในพื้นที่ห่างไกลที่อยากเป็นครูได้เรียนครูจนจบปริญญาตรี และกลับมาเป็นครูในโรงเรียนท้องถิ่นของตน ด้วยการสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษา รุ่นละ 300 ทุนทั้งหมด 5 รุ่น รวม 1,500 ทุน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป

“อยากให้ครูรุ่นใหม่ตามโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นของเรามีลักษณะเช่นเดียวกันนี้เพราะว่าปัญหาบางอย่างที่ครู ตชด. ท่านนี้เคยเจอ เคยแก้ไขจนสำเร็จหรือเทคนิคการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในบางเรื่องได้มาจากประสบการณ์ของคนที่มีทักษะ รู้จักธรรมชาติ ลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น และเป็นเรื่องที่การสอนทฤษฏีตอบโจทย์ไม่ได้”

เดินหน้า ครูรัก(ษ์)ถิ่น ผลิตครูพัฒนาบ้านเกิด ปีละ 300 ทุน เริ่มปี กศ.63 3

ดร.อุดม กล่าวอีกว่า ผู้ที่จะมาเป็นครูรุ่นใหม่ ควรได้เรียนรู้จากครูท่านนี้ เป็นวิธีที่คิดที่ได้จากความรู้พื้นฐานในท้องถิ่นมาช่วยผลักดันให้เกิดองค์ความรู้จากฐานความรู้ที่ต่างกันในแต่ละพื้นที่เด็กชาติพันธุ์ ประเพณีวัฒนธรรมแตกต่างแต่ละที่บริบทการเรียนบางเรื่องต่างกันโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นจึงตั้งเป้าหมายที่จะเติมเต็มเรื่องนี้ให้เด็กให้นักเรียนทุนของเราได้ตระหนักว่าการได้อยู่ในพื้นที่จริง ได้ทำอะไรในเชิงปฏิบัติ นำไปสู่การมีโอกาสในการศึกษาเรื่องต่างๆเพิ่มจากตำราในมุมของเอง สร้างองค์ความรู้ของท้องถิ่นและกลับมาเป็นครูในบ้านเกิดตัวเอง กลับมาถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่นๆมองเห็นความสำคัญของการช่วยกันดูแลพัฒนาท้องถิ่นให้ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ดร.อุดม กล่าวอีกว่า  ดังนั้นนักเรียนที่จบจากโรงเรียน ตชด. ที่มีความต้องการที่จะเป็นครู มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ก็สามารถที่จะขอรับทุนจากโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น และเมื่อเรียนจบก็จะได้กลับมาเป็นครูในพื้นที่ชุมชนตัวเอง ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาครูประจำการโยกย้ายบ่อยในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลเพราะไม่ใช่คนท้องถิ่น ลดปัญหาความเลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่ๆ ห่างไกลได้ ตลอดจนเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศได้อีกทางหนึ่งด้วย

เหนืออื่นใด  โครงการทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น  เป็นทุนสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน(Protected School/Standalone)

จากการวิเคราะห์ของคณะวิจัยธนาคารโลก ร่วมกับการสอบทานฐานข้อมูล สพฐ. พบว่าประเทศไทยมีโรงเรียนราว 2,000 แห่ง ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและไม่อาจจะควบรวมเช่น โรงเรียนบนพื้นที่สูง ตามแนวชายขอบ หรือตั้งอยู่บนเกาะแก่ง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ (Protected School หรือ Standalone) เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนในท้องถิ่น

          อย่างไรก็ตามพบว่า ปัญหาของโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลคือ ครูขอย้ายบ่อยเพราะไม่ใช่คนท้องถิ่น และไม่มีครูมาทดแทน ครูจึงไม่พอกับชั้นเรียน โดยเฉพาะครูที่สอนระดับชั้นประถมศึกษา วัตถุประสงค์

        1.ผลิตและพัฒนาครูรุ่นใหม่สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนในชุมชนพื้นที่ห่างไกลจำนวน 5 รุ่น ๆ ละ 300 คน (1,500 คน)

        2.ส่งเสริมการทำงานร่วมกันของหน่วยงานหลักในการผลิตและพัฒนาครู กับหน่วยงานที่ใช้ครูตั้งแต่ต้นทาง

        3.ปรับระบบการผลิตและพัฒนาครูให้ตรงกับลักษณะงาน และตามบริบทของโรงเรียนและชุมชนในพื้นที่ห่างไกล และสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน

ที่มาของข่าว : คม ชัด ลึก 24 พฤศจิกายน 2562

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่