เปิดองค์ประกอบอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ พร้อมปฏิทินสรรหาและแต่งตั้ง

เปิดองค์ประกอบอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ พร้อมปฏิทินสรรหาและแต่งตั้ง

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 11/2565 ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมี รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นเลขานุการการประชุม ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เปิดองค์ประกอบอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ พร้อมปฏิทินสรรหาและแต่งตั้ง
เปิดองค์ประกอบอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ พร้อมปฏิทินสรรหาและแต่งตั้ง 3
เปิดองค์ประกอบอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ พร้อมปฏิทินสรรหาและแต่งตั้ง 4

และมีมติที่สำคัญ ดังนี้

1. เห็นชอบในหลักการของ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการกำหนดจำนวน องค์ประกอบ การได้มา คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2565 สืบเนื่องจากที่รัฐสภามีมติเห็นชอบ (ร่าง) พระราชบัญญัติแก้ไขคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19/2560 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 ซึ่งจะต้องโอนอำนาจการบริหารงานบุคคลจาก กศจ. ไปยัง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา นั้น ขณะนี้ พ.ร.บ. ดังกล่าว ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ก.ค.ศ. จึงต้องดำเนินการให้ได้มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ พ.ร.บ.นี้บังคับใช้ ซึ่งตามมาตรา 9 พ.ร.บ.ดังกล่าว กำหนดให้มี “อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา” และ “อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา” ดังนั้น สำนักงาน ก.ค.ศ. จึงได้ดำเนินการจัดทำ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการกำหนดจำนวน องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มา คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2565 ขึ้น โดยการกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ นั้น ได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่ง (ร่าง) หลักเกณฑ์ดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

1. องค์ประกอบของอนุกรรมการ จำนวน 11 คน ประกอบด้วย

1) ประธานอนุกรรมการ จำนวน 1 คน

2) อนุกรรมการผู้แทน จำนวน 3 คน ได้แก่ ผู้แทน กศจ. นายอำเภอหรือผู้แทน และผู้แทน ก.ค.ศ.

3) อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ด้าน ๆ ละ 1 คน ได้แก่ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมาย และด้านการศึกษาหรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานบุคคล

4) อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 3 คน ได้แก่ ข้าราชการครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น

5) อนุกรรมการและเลขานุการ จำนวน 1 คน

ทั้งนี้ ผู้ที่เข้ามาเป็นอนุกรรมการต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสม มีความหลากหลายและเข้าใจบริบทของพื้นที่เป็นอย่างดี โดยอนุกรรมการหนึ่งคนจะเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ทั้งนี้ การกำหนดองค์ประกอบของอนุกรรมการเป็นองค์คณะไตรภาคี ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ผู้แทนจากหน่วยงาน/ส่วนราชการ จำนวน 3 คน และผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จานวน 3 คน เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม และเป็นองค์คณะที่ไม่ใหญ่มากจนเกินไป เน้นการกระจายอานาจและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

2. คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของประธานอนุ กรรมการ และอนุกรรมการ

1) สัญชาติไทย

2) วุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี

3) อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์

4) ไม่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ ที่ปรึกษา หรือผู้มีตำแหน่งบริหารในพรรคการเมือง

5) ได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสียทำงจริยธรรม จรรยาบรรณ ไม่เคยกระทำผิดจนได้รับ โทษทางวินัย หรือกระทำผิดวินัยแต่ได้รับการงดโทษหรือไม่ได้รับโทษเพราะเหตุพ้นระยะเวลาการสั่งลงโทษ ตำมที่กฎหมายกำหนด

6) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตำมที่กำหนดในกฎ ก.ค.ศ.

7) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ถูกสั่งพักราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือถูกสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือถูกสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งศาลอาญาหรือศาลอาญาทุจริต หรือกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงแม้ว่าจะได้รับการงดโทษหรือไม่ได้รับโทษ เพราะเหตุพ้นระยะเวลาการสั่งลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม

9) ไม่เป็นผู้เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

10) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต

การกำหนดคุณสมบัติ/ลักษณะต้องห้าม และการได้มาของแต่ละตำแหน่ง นอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่ได้กำหนดเบื้องต้นเหมือนกันทุกตำแหน่งแล้ว ต้องมีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเฉพาะแต่ละตำแหน่งด้วย สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

ประธานอนุกรรมการ (1 คน)

เพื่อให้ได้ผู้ทำหน้าที่ประธานที่มีความรู้ ความสามารถ มีศักยภาพ มีความเป็นกลางและเข้าใจการบริหารงานบุคคลเป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้การบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษาสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และเกิดความเป็นธรรม เห็นควรให้ สพฐ. และสำนักงาน ก.ค.ศ. เสนอชื่อบุคคลพร้อมประวัติ เขตพื้นที่การศึกษาละไม่เกิน 2 คน (รวมเป็น 4 คน) แล้วเสนอ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจที่ ก.ค.ศ. ตั้งพิจารณาคัดเลือกให้เหลือเขตพื้นที่การศึกษาละ 1 คน

อนุกรรมการผู้แทน (3 คน)

อนุกรรมการผู้แทน กศจ. และอนุกรรมการนายอำเภอหรือผู้แทน เป็นการกำหนดองค์ประกอบของอนุกรรมการตามมาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. 2565 สำหรับอนุกรรมการผู้แทน ก.ค.ศ. เป็นตำแหน่งที่กำหนดไว้เพื่อให้มีผู้แทนขององค์กรกลางในการบริหารงานบุคคล ซึ่ง ก.ค.ศ. แต่งตั้งจากส่วนราชการหรือจากส่วนกลาง ซึ่งเป็นบุคคลที่มีวุฒิภาวะ มีความรู้ ความเข้าใจและมีประสบการณ์เกี่ยวกับ กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลเป็นอย่างดี ไปทำหน้าที่ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งจะส่งผลให้กระบวนการบริหารงานบุคคลของเขตพื้นที่การศึกษาและของสถานศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว เกิดความเข้มแข็ง และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (3 คน) ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการศึกษาหรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และด้านกฎหมาย ด้านละ 1 คน เพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์เฉพาะด้าน มาช่วยขับเคลื่อนการบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษาให้เกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และเพื่อเป็นการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมในการบริหารงานบุคคลเห็นควรให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ กศจ. เสนอชื่อบุคคลพร้อมประวัติ ด้านละ 2 คน ต่อ 1 เขตพื้นที่การศึกษา (รวมเป็น 4 คน ต่อ 1 เขตพื้นที่การศึกษา) แล้วส่งไปยัง สพฐ. เพื่อตรวจสอบรายชื่อว่าซ้ำกันหรือไม่ กรณี สพท. และ กศจ. เสนอรายชื่อยังไม่ครบด้านละ 4 คน ต่อ 1 เขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้ถูกเสนอชื่อขาดคุณสมบัติ ให้ สพฐ. เสนอรายชื่อให้ครบด้านละ 4 คน ต่อ 1 เขตพื้นที่การศึกษา แล้วเสนอ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจที่ ก.ค.ศ. ตั้ง คัดเลือกให้เหลือด้านละ 1 คน ต่อ 1 เขตพื้นที่การศึกษา

อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (3 คน)

เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งผู้ที่ดำรงตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นได้มีส่วนร่วมในการเป็นอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลของเขตพื้นที่การศึกษา เห็นควรให้ตนเองหรือผู้บังคับบัญชาเสนอชื่อพร้อมประวัติ แล้วให้เพื่อนร่วมงานที่ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่การศึกษานั้นรับรอง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและเป็นที่ยอมรับของสังคมหรือคนในพื้นที่อย่างแท้จริง

ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.ค.ศ. ดำเนินการปรับรายละเอียดตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์ต่อไป โดย อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่ได้อีก แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเดิมเกิน 2 วาระไม่ได้ ยกเว้น ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งดำรงตำแหน่งอนุกรรมการและเลขานุการ และอนุกรรมการคนหนึ่งจะเป็นอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น

2. เห็นชอบ ตั้ง อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจคัดเลือกบุคคลเพื่อเสนอ ก.ค.ศ. แต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ได้ผู้มีความรู้ความสามารถและมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ จึงเห็นควรตั้ง อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจคัดเลือกบุคคลเพื่อเสนอ ก.ค.ศ. แต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้แทนสำนักงาน ก.ค.ศ. รองเลขาธิการ ก.ค.ศ. หรือผู้เชี่ยวชาญ สำนักงาน ก.ค.ศ. ที่เลขาธิการ ก.ค.ศ. มอบหมาย เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการ ก.ค.ศ. แต่งตั้งข้าราชการในสำนักงาน ก.ค.ศ. ไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ จำนวน 3 คณะ ดังนี้

คณะที่ 1 ให้ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ เพื่อเสนอให้ ก.ค.ศ. แต่งตั้งเป็นประธานอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา และอนุกรรมการผู้แทน กศจ. ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่มีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมมากกว่าหนึ่งจังหวัด

คณะที่ 2 ให้ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ เพื่อเสนอให้ ก.ค.ศ. แต่งตั้งเป็นอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา

คณะที่ 3 ให้ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

3. เห็นชอบ กำหนดการดำเนินการได้มาซึ่งอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางกำรศึกษา ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การดำเนินการให้ได้มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาตามที่กาหนดไว้ในมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560ฯ ได้ภายในระยะเวลา 90 วัน จึงเห็นชอบกำหนดการดำเนินการได้มาซึ่งอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อเป็นกรอบระยะเวลาในการดำเนินการ ดังนี้

วันที่ 22 พ.ย. 2565 – 7 ธ.ค. 2565 (15 วัน)

สำนักงาน ก.ค.ศ. ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการฯ

วันที่ 8 ธ.ค. 2565 – 6 ม.ค. 2566 (30 วัน)

เสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม รวมทั้งตรวจสอบ และวินิจฉัยคุณสมบัติบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ

ภายในวันที่ 10 ม.ค. 2566

ส่งรายชื่อถึงสำนักงาน ก.ค.ศ.

วันที่ 11 – 20 ม.ค. 2566 (10 วัน)

อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจคัดเลือกให้เหลือเขตพื้นที่ละ 1 คน

ภายในวันที่ 31 ม.ค. 2566 เสนอ ก.ค.ศ. แต่งตั้ง

ภายในวันที่ 6 ก.พ. 2566 แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

4. เห็นชอบการพิจารณาย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและตำแหน่งครู สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สืบเนื่องจากที่ ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. โดยให้มี อกศจ. ทำหน้าที่กลั่นกรองการย้ายก่อนเสนอ กศจ. พิจารณา นั้น ปัจจุบันคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคอยู่ระหว่างการแต่งตั้ง อกศจ. ชุดใหม่ เนื่องจาก อกศจ. ชุดเดิม ครบวาระ ซึ่งขณะนี้ได้แต่งตั้ง อกศจ. ชุดใหม่ ไปแล้ว จำนวน 29 จังหวัด และยังไม่ได้แต่งตั้งอีกจำนวน 48 จังหวัด ส่งผลให้ กศจ. ที่ยังไม่มี อกศจ. ไม่สามารถพิจารณาย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนดได้

ดังนั้น เพื่อประโยชน์ของทางราชการและเพื่อให้การขับเคลื่อนงานบริหารบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเห็นชอบให้พิจารณาย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

1. กรณีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ยังไม่ได้แต่งตั้ง อกศจ. ให้ กศจ. พิจารณาย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนดได้โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรอง

2. กรณีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ได้แต่งตั้ง อกศจ. ไว้แล้ว ต่อมามีเหตุที่ทำให้ อกศจ. ไม่สามารถประชุมได้ ให้ กศจ. พิจารณาย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนดได้ โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรอง

ขอบคุณที่มา : Facebook 888 พอพ นิวส์

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่