เลขา กพฐ. แนะครูต้องสอนให้เด็กรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง

เลขา กพฐ. แนะครูต้องสอนให้เด็กรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)กล่าวถึงเรื่องความรุนแรงของนักเรียน ครู  และผู้บริหาร ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ว่า ทุกวันนี้เรื่องการเข้าถึงข้อมูลมีความรวดเร็ว และหลายเรื่องก็เป็นข้อมูลทางลบ ซึ่งเด็กจำนวนไม่น้อยที่อาจจะยังไม่เข้าใจว่า จะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ได้อย่างไร ดังนั้น ครูและผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเข้าไปให้ความรู้ เพื่อให้เด็กรู้จักคิด วิเคราะห์ ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นหรือที่ทำไปแล้ว จะผลตามมาเป็นอย่างไร เช่น เรื่องการทะเลาะวิวาท บางเรื่องไม่ใช่เรื่องใหญ่ เป็นเรื่องความขัดแย้ง ความรู้สึก แต่กลับถูกทำให้เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งตนคิดว่าน่าจะเป็นเพราะเด็กเสพสื่อที่ไม่สร้างสรรค์มากเกินไป เพราะฉะนั้นโรงเรียนต้องให้ความรู้ ต้องสอน ให้เข้าใจเรื่องของการเป็นผู้นำ ผู้ตาม เพื่อให้อยู่ในสังคมปัจจุบันได้ ซึ่ง สพฐ.ก็มีหลักสูตรเหล่านี้ในโรงเรียนอยู่แล้ว แต่ครูจะต้องเน้นเรื่องนี้เพื่อให้อยู่ในสังคมโลกปัจจุบันให้ได้

เลขา กพฐ. แนะครูต้องสอนให้เด็กรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง 2

เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า เรื่องการละเมิดทางเพศ เป็นเรื่องที่โรงเรียนต้องดูแลเด็ก ซึ่ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ สพฐ.ได้ให้นโยบายแก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนชัดเจนว่า สิ่งที่ต้องดำเนินการ คือ โรงเรียนจะต้องเรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคม  ครูและนักเรียนจะต้องปรับตัวให้ทันยุคปัจจุบันให้ได้ เรื่องใดที่เป็นภาพลบที่เป็นปัญหากับเด็กครูต้องสอนเด็กให้เรียนรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น นักเรียนทะเลาะวิวาท ตบกัน ทำให้สังคมมองว่าเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โรงเรียนก็ต้องสอนให้เด็กรู้ว่าสิ่งที่ทำไม่เหมาะสมและจะเกิดปัญหาตามมา ทั้งนี้ สพฐ.มีศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือนักเรียน(ฉก.)สพฐ. ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางรับข้อมูลส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนจัดกิจกรรมนักเรียนในเรื่องการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้ตรงกับความต้องการของเขาได้

“เดี๋ยวนี้ใครทำอะไรจะสื่อถึงกันหมด เพราะตอนนี้เป็นโลกดิจิทัล มีอิทธิพลสูงมาก ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โรงเรียนต้องสอนให้เขารู้จักเสพสื่อจริง หรือไม่จริง แต่การเสพข่าวเป็นเรื่องน่าสนใจ โรงเรียนจะต้องจัดกิจกรรมให้เด็กค้นหาและวิเคราะห์ได้ ว่า อะไรคือข่าวจริง อะไรคือข่าวไม่จริง และต้องสอนวิธีแก้ไขให้เขาด้วย  ดังนั้นครูต้องจัดกิจกรรมให้นักเรียนตระหนักว่าข่าวไหนดี ไม่ดี จะส่งผลต่อเด็กอย่างไร  เช่น ข่าวนักเรียนตบกันแย่งผู้ชาย มันส่งผลกับตัวนักเรียนและผู้ปกครองอย่างไร ถูกสังคมลงโทษอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ผมอยากให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตัวเอง เพราะครูไม่สามารถสั่งไม่ให้เขาทำสิ่งเหล่านี้ได้ สังคมจะลงโทษเขาเอง”ดร.อำนาจ กล่าว

ที่มา เดลินิวส์ : ศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2562

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่