สพฐ.ซักซ้อมความเข้าใจแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของสถานศึกษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19) ระลอกใหม่ ปีการศึกษา 2563

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่านครับ

Toggle

สพฐ.ซักซ้อมความเข้าใจแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของสถานศึกษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19) ระลอกใหม่ ปีการศึกษา 2563

หนังสือ สพฐ.ที่ ศธ 04010/ว172 เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของสถานศึกษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19) ระลอกใหม่ ปีการศึกษา 2563 ลงวันที่ 27 มกราคม 2564 โดยมีรายละเอียดดังนี้

สพฐ.ซักซ้อมความเข้าใจแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของสถานศึกษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19) ระลอกใหม่ ปีการศึกษา 2563
สพฐ.ซักซ้อมความเข้าใจแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของสถานศึกษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19) ระลอกใหม่ ปีการศึกษา 2563

๑. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน และระดับสถานศึกษาเป็นอํานาจหน้าที่ ของสถานศึกษาในการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน และตัดสินผลการเรียน ตามเกณฑ์ ที่สถานศึกษากําหนด

๒. การตัดสินผลการเรียนรายวิชา ให้นําคะแนนระหว่างเรียนรวมกับคะแนนปลายปี/ ปลายภาค ตามสัดส่วนที่สถานศึกษากําหนด

๒.๑ คะแนนระหว่างเรียนหรือคะแนนกลางภาค
กรณีสถานการณ์โควิด-๑๙ ยังไม่คลี่คลาย และยังต้องเรียนผ่านออนไลน์ หรือรูปแบบ อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เรียนปกติในชั้นเรียน สถานศึกษาสามารถพิจารณาจากใบงานที่มอบหมายให้นักเรียนปฏิบัติ การสังเกตพฤติกรรมขณะจัดการเรียนการสอนผ่านออนไลน์ การตอบคําถาม การพูดคุย การเสนองาน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น คลิปวิดีโอ ไลน์ เฟซบุ๊ค เป็นต้น เพื่อบรรลุตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร

๒.๒ คะแนนปลายปี/ปลายภาค
กรณีสถานการณ์โควิด-๑๙ ยังไม่คลี่คลาย และยังต้องเรียนผ่านออนไลน์ หรือรูปแบบ อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เรียนปกติในชั้นเรียน สถานศึกษาไม่จําเป็นต้องใช้คะแนนจากการสอบโดยข้อสอบเพียงอย่างเดียว อาจพิจารณาจากผลงาน/ชิ้นงาน แฟ้มสะสมงาน การสอบปากเปล่าทางไลน์ ซูม หรืออื่น ๆ ได้ ตามความ เหมาะสมและบริบทของสถานศึกษา แต่ต้องคํานึงถึงคุณภาพของนักเรียนเป็นสําคัญ

๓. การเลื่อนชั้น

๓.๑ ระดับประถมศึกษา นักเรียนยังต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียน ตลอดปีการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีเวลาเรียนรู้เพียงพอต่อการพัฒนาความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่กําหนด ในมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อการพัฒนานักเรียนอย่างรอบด้าน และเป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด

๓.๒ ระดับมัธยมศึกษา เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด และแนวปฏิบัติการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

กรณีสถานการณ์โควิต-๑๙ ยังไม่คลี่คลาย และยังต้องเรียนผ่านออนไลน์ หรือรูปแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เรียนปกติในชั้นเรียน สถานศึกษาสามารถกําหนดแนวทางการนับเวลาเรียนการจัดการเรียนการสอนผ่าน ออนไลน์หรือรูปแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เรียนปกติในชั้นเรียน หรือนับเวลาที่นักเรียนใช้ในการทําผลงาน/ชิ้นงาน ตามที่ครูมอบหมาย และให้สถานศึกษาดําเนินการตามแนวปฏิบัติการนับเวลาเรียน การสอนชดเชย และ การอนุมัติการจบการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๓

๔. การกําหนดวันสอบปลายภาค/ปลายปี ให้เป็นไปตามความเหมาะสมและบริบทของแต่ละ สถานศึกษา

๕. วันสิ้นสุดการเรียนการสอนภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ยังคงเป็นไปตามประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ คือ วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๔ กรณ

สถานศึกษาด้าเนินการวัดและประเมินผลยังไม่เสร็จสิ้น และอนุมัติการจบการศึกษาในรุ่นปกติไม่ทันตามกําหนดเวลา (๙ เมษายน ๒๕๖๔) สถานศึกษาสามารถ พิจารณาอนุมัติการจบการศึกษาได้ภายในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ทั้งนี้ คำนึงถึงประโยชน์ของนักเรียน เป็นสําคัญ จึงเรียนมาเพื่อทราบและแจ้งสถานศึกษาในสังกัดดําเนินการ

ที่มา: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่