ซักซ้อมแนวปฏิบัติในการนำผลการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางานและการยื่นคำขอผ่านระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (Digital Performance Appraisal : DPA)
ด้วยปรากฏว่าได้มีสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาหลายแห่งเร่งนำผลการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางาน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ เข้าสู่ระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (Digital Perfarmance Appraisal : DPA) ก่อนสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษายื่นคำขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ตามหนังสือที่อ้างถึง ๑ – ๓ ผ่านระบบ DPA ภายในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ ทำให้ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการเข้าใช้งานระบบ DPA มากกว่าปกติ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบ DPA ในภาพรวม ประกอบกับยังมีความเข้าใจที่ไม่ขัดเจนหรือคลาดเคลื่อนบางประเด็นเกี่ยวกับการยื่นคำขอผ่านระบบ DPA และการดำเนินการตามหนังสือที่อ้างถึง ๔ – ๖
สำนักงาน ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้สถานศึกษา หน่วยงานการศึกษา และส่วนราชการมีความเข้าใจที่ถูกต้องและขัดเจนเกี่ยวกับการนำผลการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางานเข้าสู่ระบบ DPAและการยื่นคำขอผ่านระบบ DPA ในกรณีต่าง ๆ จึงชักซ้อมแนวปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
ประเด็นความเข้าใจที่คาดเคลื่อน
๑. การที่หลักเกณฑ์ฯ ว ๙ – ว ๑๑/๒๕๖๔ กำหนดว่าให้นำข้อมูลผลการประเมิน PAในแต่ละรอบการประเมินเข้าสู่ระบบ DPA เป็นประจำทุกรอบการประเมินนั้นทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าการบันทึกผลการประเมิน PAของปิ้งบประมาณใดต้องบันทึกให้เสร็จสิ้นในปีงบประมาณนั้น จะไม่สามารถบันทึกในปีงบประมาณถัดไปได้
๒. หากมีผลการประเมิน PAครบในปีงบประมาณใดต้องยื่นคำขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะให้เสร็จสิ้นภายในปีงบประมาณนั้น
แนวปฏิบัติ
การประเงิน PA ต้องดำเนินการประเมินให้เสร็จสิ้นภายในปีงบประมาณนั้น เนื่องจากผลการประเมิน PA ต้องใช้เป็นองค์ประกอบในการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน การนำข้อมูลผลการประเมิน PA เข้าสู่ระบบ DPA สามารถดำเนินการภายหลังได้ โดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีงบประมาณนั้น ทั้งนี้ ควรจัดลำดับความสำคัญให้กับผู้ที่จะนำผลการประเมิน PAในปีงบประมาณนั้นไปใช้ในการขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะก่อนด้วย