ไขข้อสงสัย กรณีเกษียณอายุราชการ 63 ปี โดย เลขาฯ ก.พ.

ไขข้อสงสัย กรณีเกษียณอายุราชการ 63 ปี โดย เลขาฯ ก.พ. ให้เฉพาะข้าราชการที่มีความจำเป็น ขาดแคลน และมีคุณสมบัติครบตามที่กำหนด จึงจะได้สิทธิในการต่ออายุราชการนั้น ล่าสุด ทาง สำนักงาน ก.พ. โดยนางเมธินี เทพมณี เลขาธิการ ก.พ. ได้ออกมาชี้แจงในประเด็นดังกล่าวดังนี้

สาระสําคัญ

สํานักงาน ก.พ. ได้ศึกษาแนวทางการขยายเกษียณจากราชการมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยกําหนดสาระ สําคัญให้การขยายหรือปรับปรุงอายุเกษียณและการขยายอายุราชการทํางานเป็นมาตรการเพื่อรองรับ สังคมสูงอายุ รวมถึงสนับสนุนให้บุคลากรภาครัฐทํางานหรือมีอาชีพหลังเกษียณ และการบริหารกําลังคน ภาครัฐในช่วงวัยต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

แนวทางการขยายอายุเกษียณ

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคมกําหนดให้สํานักงาน ก.พ. ศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นที่เกี่ยวข้อง กับการขยายอายุเกษียณราชการจาก 60 ปี เป็น 63 ปี โดยใช้เวลา 6 ปี คือ 2 ปี ขยาย 1 ปี ซึ่งไม่ ครอบคลุมหน่วยงานที่ต้องใช้ศักยภาพทางร่างกาย ทั้งนี้ กําหนดเป้าหมายให้ข้าราชการ พนักงาน รัฐวิสาหกิจ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เกษียณอายุราชการที่ 63 ปี ในปี พ.ศ. 2567

วิธีดําเนินการ

ขณะนี้ สํานักงาน ก.พ. อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อจัดทํารายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การศึกษา เพื่อกําหนดอายุที่ควรเกษียณจากราชการ (Retire from service) และอายุที่ควรเกษียณจากงาน (Retire from job) เพื่อนําไปสู่การจัดทําข้อเสนอต่อไป ทั้งนี้ ปัจจุบันตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กําหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบ 60 ปี บางตําแหน่งสามารถ รับราชการต่อไปได้อีกไม่เกิน 10 ปี อยู่แล้ว ได้แก่ ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป และประเภททั่วไประดับอาวุโสขึ้นไป ในลักษณะงานจํานวน 8 สายงาน โดยให้ อ.ก.พ. กระทรวง เป็นผู้พิจารณาข้าราชการตามเหตุผลความจําเป็น

ไขข้อสงสัย กรณีเกษียณอายุราชการ 63 ปี โดย เลขาฯ ก.พ.
ไขข้อสงสัย กรณีเกษียณอายุราชการ 63 ปี โดย เลขาฯ ก.พ.

ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป
               (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …

ข่าวความคืบหน้าล่าสุด ณ วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2562  Update

ขอบคุณที่มา รายละเอียดจากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่