ดาวน์โหลด คู่มือการจัดทำแผนชั้นเรียนและระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูป ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2565 – 2569)
ด้วย สพฐ.จัดประชุมชี้แจงคู่มือการจัดทำ แผนชั้นเรียนและระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูป ระยะ 5 ปี และถ่ายทอดผ่านระบบออนไลน์ ZOOM Cloud Meeting ในวันที่ 26 ก.ค. 2565 เวลา 13.30 น. สามารถเข้าร่วมรับชมได้ตามวันเวลา ดังกล่าว พร้อมนี้ได้เผยแพร่คู่มือการจัดทำ แผนชั้นเรียนและระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูป ระยะ 5 ปี
การจัดทำ แผนชั้นเรียนเต็มรูป ระยะ ๕ ปี (ปีการศึกษา ๒๕๖๕ – ๒๕๖๙) และแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสำคัญที่ทำให้ทราบว่าสถานศึกษาใดจะเปิดรับนักเรียนชั้นใด และมีจำนวนห้องเรียนเท่าใดในแต่ละปีการศึกษา เพื่อใช้เป็นแผนในการรับนักเรียนและกำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียนรายปี อีกทั้งแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะเป็นแนวทางในการกำหนดเป้าหมายการรับนักเรียนให้เหมาะสมกับจำนวนนักเรียนที่คาดว่าจะเข้าเรียนในปีนั้น ๆ และทำให้ทราบว่าสถานศึกษาแต่ละแห่งควรมีอาคารเรียน อาคารประกอบเท่าใด เพื่อนำไปใช้เป็นกรอบในการจัดตั้งงบประมาณเกี่ยวกับอาคารเรียน และอาคารประกอบดังกล่าว รวมทั้งเป็นข้อมูลสำหรับการขอขยายชั้นเรียนและการเลิกขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย
รูปแบบของแผนชั้นเรียน
แผนชั้นเรียนแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
๑. แผนชั้นเรียนเต็มรูป เป็นแผนที่แสดงถึงจำนวนห้องเรียนรวมสูงสุดของสถานศึกษาที่กำหนดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยที่สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติอย่างมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล ซึ่งกรอบระยะเวลาของการจัดทำ แผนชั้นเรียนเต็มรูป ระยะ ๕ ปี (ปีการศึกษา ๒๕๖๕ – ๒๕๖๙)อิงตามกรอบระยะเวลาการดำเนินงานของแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙ ในช่วง ๕ ปีที่สอง(พ.ศ. ๒๕๖๕ – ๒๕๖๙)
๒. แผนชั้นเรียนรายปี เป็นแผนที่กำหนดว่าสถานศึกษาใดจะเปิดรับนักเรียนชั้นใด กี่ห้องเรียนในแต่ละปีการศึกษา โดยที่สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของการจัดทำ แผนชั้นเรียน
แผนชั้นเรียนเต็มรูปและแผนชั้นเรียนรายปี มีความสำคัญต่อการวางแผนพัฒนาการศึกษาและการบริหารจัดการศึกษา ดังนี้
๑. แผนชั้นเรียนเต็มรูป
๑.๑. ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนชั้นเรียนรายปี โดยในการจัดทำแผนชั้นเรียนรายปี จะกำหนดเป้าหมายการรับนักเรียนให้พอเหมาะกับจำนวนนักเรียนที่คาดว่าจะเข้าเรียนในปีนั้นแต่ไม่ควรเกินแผนชั้นเรียนเต็มรูป
๑.๒ ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาจัดหาที่เรียนเพิ่ม โดยแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะเป็นตัวกำหนดว่า ในพื้นที่บริการของสถานศึกษาสามารถให้บริการกับนักเรียนตัวป้อนได้ทั้งหมดหรือไม่ถ้ามีนักเรียนเกินจากที่สถาศึกษาจะสามารถรับไว้ได้ สามารถวางแผนหาวิธีการให้นักเรียนได้มีที่เรียน
๑.๓ ใช้เป็นข้อมูลสำหรับการขอขยายชั้นเรียน และการเลิกขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑.๔ ใช้เป็นกรอบในการจัดตั้ง จัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบลงทุนสำหรับอาคารเรียนอาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น โดยการกำหนดแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะทำให้ทราบว่าสถานศึกษาควรจะมีอาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างอื่น จำนวนเท่าใด
๑.๕ ใช้เป็นกรอบในการจัดตั้ง จัดสรรงบเงินอุดหนุนรายหัว
๑.๖ ใช้เป็นหลักในการวางผังบริเวณสถานศึกษา โดยแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะช่วยให้การจัดวางผังบริเวณมีความเหมาะสมกับพื้นที่ของสถานศึกษา
๒. แผนชั้นเรียนรายปี
๒.๑ ใช้กำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียนรายปีในเขตพื้นที่บริการที่คาดว่าจะมาเรียนต่อระดับชั้นก่อนประถศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ , ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ , และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
๒.๒ ใช้เป็นแผนในการรับนักเรียนในแต่ละปีการศึกษาของสถานศึกษาว่า จะเปิดรับนักเรียนชั้นใด กี่ห้องเรียน และจำนวนนักเรียนเท่าใด
๒.๓ ใช้เป็นกรอบในการจัดตั้ง จัดสรรงบประมาณ อาทิ ใช้ในการจัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบเงินอุดหนุนรายหัว ที่มีการวิเคราะห์จากข้อมูลการคาดคะเนจำนวนนักเรียนและใช้เป็นกรอบในการพิจารณาวงเงินงบประมาณ งบลงทุน
หลักเกณฑ์การจัดทำ แผนชั้นเรียน
การจัดทำ แผนชั้นเรียนเต็มรูป ระยะ ๕ ปี (ปีการศึกษา ๒๕๖๕ – ๒๕๖๙) และแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังนี้
๑. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๕๔ กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา ๑๒ ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียน จนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๒ การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕ กำหนดให้เด็กที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับต้องเรียนครบทุกคน โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา รวมทั้งต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ปกครองของเด็กทราบก่อนเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปีการศึกษา และจัดสรรโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียน
๒. เกณฑ์การกำหนดจำนวนนักเรียนต่อห้อง เกณฑ์การจัดห้องเรียน สพฐ 2565 – 2566 ดังนี้
ชั้นก่อนประถมศึกษา ห้องละไม่เกิน ๓๐ คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ห้องละไม่เกิน ๔๐ คน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ห้องละไม่เกิน ๔๐ คน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ห้องละไม่เกิน ๔๐ คน
โดยการคิดจำนวนห้องเรียน กรณีจำนวนนักเรียนแต่ละชั้นเรียน มีเศษตั้งแต่ ๑ คนขึ้นไปให้คิดเพิ่มอีก ๑ ห้อง
ทั้งนี้ ในการกำหนดจำนวนนักเรียนต่อห้อง ให้คำนึงถึงปัจจัยที่จะทำให้จำนวนนักเรียนเพิ่มหรือลดลง ดังนี้
๑) อัตราการเกิดของประชากรที่ลดลง
๒) จำนวนนักเรียนต่อห้องตามนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในแต่ละปีการศึกษา
๓) การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโรคอุบัติใหม่อื่น ๆ
๔) การขยายตัวของชุมชน
๕) การเคลื่อนย้ายแรงงาน
๖) สถานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง
๗) การแบ่งกลุ่มสถานศึกษาตามนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
๘ การแบ่งเขตพื้นที่บริการที่อาจมีการทับซ้อนกับสถานศึกษาอื่นในเขตพื้นที่การศึกษาเดียวกัน
๙) เป้าหมายในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒0 ปี และนโยบาย THAILAND 4.0
๑๐) สถิติการรับนักเรียนย้อนหลัง ๓ – ๕ ปีการศึกษา
๓. การควบคุมขนาดและการรับนักเรียน
กำกับ ดูแล ขนาดและการรับนักเรียนของสถานศึกษาให้สามารถบริหารจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ เกิดประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมายการจัดการศึกษา
๔. การจัดแผนชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
ควรจัดแผนชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายให้สอดคล้องกัน โดยคำนึงถึงความต้องการของนักเรียน ศักยภาพของนักเรียน และความพร้อมของสถานศึกษา รวมถึงเพิ่มโอกาสในการเลือกเรียนสายอาชีพ
๕. การจัดแผนชั้นเรียนกรณีห้องเรียนพิเศษ
ห้องเรียนพิเศษ เช่น EP MEP และห้องเรียนพิเศษอื่น ๆ ให้จัดแผนชั้นเรียนตามเกณฑ์จำนวนนักเรียนต่อห้องตามหลักเกณฑ์ข้อ ๒ โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนนักเรียนตามเกณฑ์ของห้องเรียนพิเศษที่ได้รับอนุมัติให้เปิดเรียน
๖. การวิเคราะห์การจัดแผนชั้นเรียน
วิเคราะห์การจัดแผนชั้นเรียน ระดับชั้นก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาปีที่ ๑ และมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ต้องได้เรียนครบทุกคน
การจัดทำแผนชั้นเรียนเต็มรูป ระยะ ๕ ปี (ปีการศึกษา ๒๕๖๕ – ๒๕๖๙)
แผนชั้นเรียนเต็มรูป เป็นแผนที่แสดงถึงจำนวนห้องเรียนรวมสูงสุดของสถานศึกษาที่กำหนดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยที่สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
องค์ประกอบในการจัดทำ แผนชั้นเรียนเต็มรูป
การจัดทำ แผนชั้นเรียนเต็มรูป ให้คำนึงถึงการส่งเสริมและการประกันโอกาสให้เด็กที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ทั้งเด็กปกติ เด็กพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ รวมทั้งผู้ที่ยังไม่จบการศึกษาภาคบังคับได้เข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ โดยต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังนี้
๑. เป้าหมายจำนวนนักเรียนในเขตพื้นที่บริการของสถานศีกษา ที่คาดคะเนว่าจะมาเรียนต่อระดับชั้นก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาปีที่ ๑ มัธยมศึกษาปีที่ ๑ และมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดที่ใช้ในการกำหนดขนาดและรูปแบบของแผนชั้นเรียนเต็มรูป
๒. แผนชั้นเรียนรายปี ย้อนหลัง ๓ ปีการศึกษา โดยใช้ข้อมูลจากระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (DMC) ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายนของทุกปี
๓. ขนาดพื้นที่ จำนวนอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น รวมถึงจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา
๔. เกณฑ์การจัดอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น ยึดตามเกณฑ์การขอจัดตั้งงบประมาณสิ่งก่อสร้างของโรงเรียนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หรือโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
๕. คำนึงถึงความต้องการของนักเรียน ศักยภาพของนักเรียน
๖. ความพร้อมของสถานศึกษา ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและประสิทธิภาพของการบริหารงาน
๗. สภาพที่เอื้อต่อการเข้าเรียน โดยสภาพภูมิศาสตร์และการคมนาคมจะต้องเอื้อต่อการเดินทางมาเรียนของนักเรียน และใช้เวลาในการเดินทางไม่นานจนเกินไป
แนวทางการจัดทําแผนชั้นเรียนรายปี
แผนชั้นเรียนรายปี เป็นแผนที่กำหนดว่าสถานศึกษาใดจะเปิดรับนักเรียนชั้นใด กี่ห้องเรียนในแต่ละปีการศึกษา โดยที่สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบในการจัดทำแผนชั้นเรียนรายปีการจัดทำแผนชั้นเรียนรายปี ให้คำนึงถึงการส่งเสริมและประกันโอกาสให้เด็กที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ทั้งเด็กปกติ เด็กพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ รวมทั้งผู้ที่ยังไม่จบการศึกษาภาคบังคับได้เข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับอย่างทั่วถึง และคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังนี้
๑. จำนวนนักเรียนที่คาดคะเนว่าจะมาเรียนต่อระดับชั้นก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาปีที่ ๑ มัธยมศึกษาปีที่ ๑ และมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ในเขตพื้นที่บริการ
๒. อัตราการรับนักเรียนระดับชั้นก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาปีที่ ๑ มัธยมศึกษาปีที่ ๑และมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ของสถานศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา
๓. ขนาดพื้นที่ จำนวนอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น รวมถึงจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา
๔. แผนชั้นเรียนรายปีไม่ควรเกินแผนชั้นเรียนเต็มรูป
๕. คำนึงถึงความต้องการของนักเรียน ศักยภาพของนักเรียน
๖. ความพร้อมของสถานศึกษา ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และประสิทธิภาพของการบริหารงาน
๗. สภาพที่เอื้อต่อการเข้าเรียน โดยสภาพภูมิศาสตร์และการคมนาคมจะต้องเอื้อต่อการเดินทางมาเรียนของนักเรียน และใช้เวลาในการเดินทางไม่นานจนเกินไป
ทั้งนี้ ในการกำหนดจำนวนนักเรียนต่อห้อง ให้คำนึงถึงปัจจัยที่จะทำให้จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นหรือลดลง ดังนี้
๑) อัตราการเกิดของประชากรที่ลดลง
๒) จำนวนนักเรียนต่อห้องตามนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในแต่ละปีการศึกษา
๓) การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโรคอุบัติใหม่อื่น ๆ
๔) การขยายตัวของชุมชน
๕) การเคลื่อนย้ายแรงงาน
๖) สถานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง
๗) การแบ่งกลุ่มสถานศึกษาตามนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
๘) การแบ่งเขตพื้นที่บริการที่อาจมีการทับซ้อนกับสถานศึกษาอื่นในเขตพื้นที่การศึกษาเดียวกัน
๙) เป้าหมายในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี และนโยบาย THAILAND 4.0
๑๐) สถิติการรับนักเรียนย้อนหลัง ๓ – ๕ ปีการศึกษา
ขั้นตอนการจัดทำแผนชั้นเรียนรายปี
๑. สถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนชั้นเรียนของสถานศึกษา เพื่อจัดทำแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา
๒. สถานศึกษาดำเนินการจัดทำแผนชั้นเรียนรายปี ใน “ระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูปและแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา”
ทางเว็บไชต์ https://classroomplan.bopp-obec.info โดยใช้ฐานข้อมูลจากแผนชั้นเรียนเต็มรูป ระยะ ๕ ปี (ปีการศึกษา ๒๕๖๕ – ๒๕๖๙) ดังนี้
๒.๑ กำหนดชั้นเรียน ได้แก่
๑) ชั้นก่อนประถมศึกษา
– อนุบาล ๑ รับเด็กอายุ ๓ ปีบริบูรณ์ ในเขตพื้ นที่บริการเข้าเรียน(เฉพาะสถานศึกษาที่ได้รับอนุมัติ จากคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดเท่านั้น)
– อนุบาล ๒ รับเด็กอายุ ๔ ปีบริบูรณ์ ในเขตพื้นที่บริการเข้าเรียน
๒) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ รับเด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่ ๗ หรือจบการศึกษาชั้นก่อนประถมศึกษาที่อยู่ในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียน
๓) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ รับนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เข้าเรียน
๔) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ = รับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เข้าเรียน
๒.๒ กำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียนที่จะเข้าเรียน โดยมีหลักการดังนี้
๑) ชั้นก่อนประถมศึกษา กำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียนในระดับชั้นอนุบาล ๑หรืออนุบาล ๒ ได้จากการจัดทำสำมะโนประชากรของนักเรียนในเขตพื้นที่บริการของสถานศึกษา และ
การคาดคะเนจากนักเรียนระดับชั้นก่อนประถมศึกษาที่เคยรับย้อนหลัง ๓ ปีการศึกษา โดยใช้ข้อมูลจากระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (DMC) ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายนของทุกปี
๒) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ กำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียนได้จาก “อนุบาล ๓(เดิม)” การจัดทำสำมะโนประชากรของนักเรียนในเขตพื้นที่บริการของสถานศึกษา และ การคาดคะเน
จากนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่เคยรับย้อนหลัง ๓ ปีการศึกษา โดยใช้ข้อมูลจากระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (DMC) ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายนของทุกปี
๓) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ กำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียนได้จาก “ป.๖ เดิม”(สำหรับโรงเรียนชยายโอกาส) กรสำรวจประชากรวัยเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่อยู่ในเขตพื้นที่บริการและ/หรือการคาดคะเนจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ย้อนหลัง ๓ ปีการศึกษา โดยใช้ข้อมูลจากระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (DMC ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายนของทุกปี
๔) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ กำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียนได้จาก “ม.๓ เดิม” และการคาดคะเนจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ย้อนหลัง ๓ ปีการศึกษา โดยใช้ข้อมูลจากระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (DMC) ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายนของทุกปี
๒.๓ กำหนดแผนชั้นเรียนรายปีทุกระดับชั้น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดทำแผนชั้นเรียน และองค์ประกอบในการจัดทำแผนชั้นเรียนรายปี โดยระดับชั้นก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาปีที่ ๑ มัธยมศึกษาปีที่ ๑ และมัธยมศึกษาปีที่ ๔ เป็นจำนวนนักเรียนที่ได้จากการคาดคะเนเป้าหมายจำนวนนักเรียนที่จะเข้าเรียน และ/หรือจำนวนนักเรียนที่เคยรับย้อนหลัง ๓ ปีการศึกษา สำหรับชั้นอื่นๆ ให้ใช้ชั้นเคลื่อนจากจำนวนนักเรียนจริงในปีการศึกษาปัจจุบัน ซึ่งจำนวนห้องเรียนรวมทั้งหมดของแผนชั้นเรียนรายปีไม่ควรเกินแผนชั้นเรียนเต็มรูป
ทั้งนี้ การจัดทำแผนชั้นเรียนรายปี ให้ดำเนินการจัดทำภายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
๓. สถานศึกษาบันทึกและยืนยันแผนชั้นเรียนรายปี เพื่อรายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
๔. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตรวจสอบข้อมูลแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษารายโรง และเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาแผนชั้นเรียนของสถานศึกษา
๕. คณะกรรมการพิจารณาแผนชั้นเรียนของสถานศึกษา ให้ความเห็นชอบแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษารายโรง
๖. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกาศแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาแผนชั้นเรียนของสถานศีกษา ให้สถานศึกษาในสังกัดทราบ
๗. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รับรองแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศีกษารายโรงในระบบจัดเก็บข้อมูลฯ เพื่อรายงานให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ ภายในเดือนธันวาคมของทุกปี
ขั้นตอนการใช้งานระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูปและแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา
การเข้าสู่หน้าระบบ
เข้าเว็บไชต์ https://classroomplan.bopp-obec.info
การใช้งานระบบระดับสถานศึกษา
การลงทะเบียน
** กําหนดให้ลงทะเบียนได้สถานศึกษาละไม่เกิน 2 User
๑. กดปุ่ม “ลงทะเบียนเจ้าหน้าที่ โรงเรียน”
๒. เลือกสังกัดของท่าน โดยกดสัญลักษณ์เลื่อนลง
๓. เลือกชื่อโรงเรียนของท่านและกดปุ่มลงทะเบียนที่ไอคอน ✏️
๔. กรอกข้อมูลของท่านให้ครบถ้วน และกดปุ่ม “ลงทะเบียน”
๕. เมื่อบันทึกข้อมูลในระบบแล้ว โปรดรอเจ้าหน้าที่ สพท. อนุมัติผู้ใช้ในระบบ
การเข้าใช้งาน / สถานะการยืนยันข้อมูล
๑. กรอก Username และ Password ซึ่งเป็นเลขบัตรประจําตัวประชาชน 13 หลัก เพื่อเข้าสู่ระบบ
๒. สถานะการยืนยันข้อมูล
คําอธิบาย หากไอคอนสถานะยืนยันข้อมูล
เป็น สีเขียว หมายถึง ยืนยันข้อมูลแล้ว
เป็น สีแดง หมายถึง ยังไม่ได้ยืนยันข้อมูล
การจัดทําแผนชั้นเรียนเต็มรูป
เลือกเมนู “แผนชั้นเรียนเต็มรูป” ที่แถบเมนูซ้ายมือ
การจัดทําแผนชั้นเรียนรายปี
เลือกเมนู “แผนชั้นเรียนรายปี” ที่แถบเมนูซ้ายมือ
ดาวน์โหลดคู่มือจัดทำแผนชั้นเรียน
ขอบคุณที่มา : สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ