ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา โดย สพฐ.

ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ.

ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา โดย สพฐ. คู่มือความปลอดภัยในสถานศึกษา 2565 คู่มือเล่มนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จัดทำขึ้นเพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษและสถานศึกษาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยสถานศึกษา โดยมีเป้าหมายให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการปกป้อง คุ้มครอง ดูแล ช่วยเหลือ เยียวยา มีความมั่นคงและปลอดภัย ซึ่งเป็นไปตามนโยบายความปลอดภัยของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โดยในคู่มือการดำเนินงานเล่มนี้ประกอบด้วย ความสำคัญและวัตถุประสงค์ของความปลอดภัยสถานศึกษา องค์ความรู้ด้านความปลอดภัย การสริมสร้างความปลอดภัย การติต่อสื่อสาร และการกำกับ ติดตามและประเมินผลสถานศึกษาปลอดภัย

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือเล่มนี้จะอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ขอบคุณคณะทำงานทุกท่านที่ได้ร่วมกันจัดทำคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษาเล่มนี้จนสำเร็จลุล่วง

ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ.
ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ. คู่มือความปลอดภัยในสถานศึกษา moe

การศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ในฐานะที่เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีบทบาทโดยตรงต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการและทิศทางของประเทศ การศึกษาจึงหมายถึงการพัฒนาบุคคลให้มีความเจริญงอกงามทุกด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม การสร้างความปลอดภัยให้แก่นักเรียนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะความปลอดภัยเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน การพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ขึ้นอยู่กับความสุขและการมีชีวิตที่ปลอดภัยทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา สามารถป้องกันหรือได้รับการป้องกันตนเองจากปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ มีความรู้ ความเข้าใจ จิตสำนีก และเจตคติที่ดี และมีทักษะในการป้องกันภัยสามารถหรือได้รับการแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟู และดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ดังนั้น จึงเป็นภารกิจสำคัญ
ที่กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่จะต้องมีแนวนโยบายสถานศึกษาปลอดภัยให้เกิดขึ้น

ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ.

สามเสาหลักของความปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียน ความปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียน ซึ่งอยู่ภายใต้นโยบายและการปฏิบัติด้านการศึกษา มีความสอดคล้องกับ
การบริหารจัดการภัยพิบัติ ในระดับสากล ระดับประเทศ ภูมิภาค จังหวัด และระดับพื้นที่ รวมทั้งในโรงเรียน

กรอบแนวคิดดวามปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียน

ประกอบด้วยสามเสาหลัก (Three Pillars) ได้แก่

ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ.

ขอบข่ายความปลอดภัยของสถานศึกษา

ขอบข่ายความปลอดภัยของสถานศึกษา ๔ กลุ่มภัย ดังนี้ ๑) ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence) ๒) ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (Accident) ๓) ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ (Right) ๔) ภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness) มีองค์ประกอบดังนี้

ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ.

มาตรการความปลอดภัยสถานศึกษา

มาตรการความปลอดภัยของสถานศึกษามุ่งเน้นให้เกิดความปลอดภัยต่อนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา อย่างยั่งยืน โดยเน้นมาตรการที่เข้มงวดในมาตรการ ๓ ป ดังนี้

ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ.

– การป้องกัน

การป้องกัน หมายถึง การดำเนินการเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา อุปสรรค หรือความไม่ปลอดภัย ต่อนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา โดยการสร้างมาตรการป้องกันจากปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทั้งในและนอกสถานศึกษา ดังนี้

๑) การประเมินปัจจัยเสี่ยงของสถานศึกษา
๒) การกำหนดพื้นที่ความปลอดภัย
๓) การจัดทำแผนความปลอดภัยสถานศึกษา
๔) การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของสถานศึกษา
๕) การจัดโครงสร้างบริหารจัดการความปลอดภัยสถานศึกษา
๖) การจัดโครงสร้างข้อมูลสารสนเทศความปลอดภัยสถานศึกษา
๗) การสร้างการมีส่วนร่วมของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย
๘) การจัดระบบช่องทางการสื่อสารด้านความปลอดภัยสถานศึกษา
๙) การจัดระบบคัดกรองและดูแลช่วยเหลือนักเรียน
๑๐) การประเมินนักเรียนรายบุคคล ด้นร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญา และความต้องการช่วยเหลือ

– การปลูกฝัง

การปลูกฝัง หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ จิตสำนึก และเจตคติที่ดี และการสร้างเสริมประสบการณ์เพื่อให้เกิดทักษะในการป้องกันภัยให้แก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ดังนี้

๑) การสร้างจิตสำนึก ความตระหนัก การรับรู้ และความเข้าใจด้านความปลอดภัยให้กับตนเองและผู้อื่น
๒) การจัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจ และพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย ให้แก่นักเรียน ครู
บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง
๓) การจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะ ประสบกรณ์ และสมรรถนะด้านความปลอดภัย ให้แก่นักเรียน

– การปราบปราม

การปราบปราม หมายถึง การดำเนินการจัดการแก้ไขปัญหา การช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟู และดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ได้แก่

๑) การจัดการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษา
๒) การช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟู จิตใจบุคคลผู้ประสบเหตุความไม่ปลอดภัย
๓) การดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

โครงสร้างการบริหารจัดการความปลอดภัยสถานศึกษา

ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ.

ขั้นตอนการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา

การดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา มีขั้นตอนดังนี้

๑. การประเมินสภาพความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและจัดลำดับความเสี่ยง

๒. การจัดทำแผนดำเนินการความปลอดภัย

๓. การดำเนินการตามมาตรการ

๔. การดำเนินการตามขอบข่ายความปลอดภัย

๕. การกำกับ ติดตาม และประเมินผล

มาตรการความปลอดภัย สถานศึกษา ใช้หลัก ๓ ป ได้แก่ การป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปราม โดยมีรายละเอียดแนวทางการปฏิบัติและตัวชี้วัดดังนี้

1.การป้องกัน

ตาราง 1 การดําเนินการตามมาตรการการป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในสถานศึกษา

ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ. 18
ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ. 19
ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ. 20
ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ. 21

2.การปลูกฝัง

ตาราง 2 การดําเนินการตามมาตรการการปลูกฝังเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในสถานศึกษา

ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ. 22
ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ. 23

3.การปราบปราม

ตาราง 3 การดําเนินการตามมาตรการการปราบปรามเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในสถานศึกษา

ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ. 24
ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ. 25
ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ. 26

แนวทางการปฏิบัติขอบข่ายความปลอดภัยสถานศึกษา

ขอบข่ายความปลอดภัยสถานศึกษาจำแนกเป็น ๔ กลุ่มภัย โดยมีการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษาตามมาตรการ ๓ ป ได้แก่ กรป้องกัน การปลูกฝัง และการปราบปราม ซึ่งในแต่ละมาตรการมีแนวปฏิบัติตามรายละเอียด ดังนี้

๑. ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence)

๑.๑ การล่วงละเมิดทางเพศ
แนวทางการปฏิบัติ

การป้องกัน
๑) สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและพื้นที่ที่เป็นจุดเสี่ยง
๒) เฝ้าระวัง สังเกตพฤติกรรมนักเรียน และพัฒนาพื้นที่เสี่ยงให้ปลอดภัย
๓) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๔) จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลด้านพฤติกรรมนักเรียนทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

การปลูกฝัง
๑ จัดกิจกรรมส่งเสริมความตระหนักรู้และเห็นคุณค่ในตนเอง
๒) จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต
๓) ฝึกทักษะการปฏิเสธ และการเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่าง ๆ

การปราบปราม
๑) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ช่องทางในการขอความช่วยเหลือ
๒) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์
๓) แต่งตั้งคณะทำงานด้านกฎหมายเพื่อให้ความช่วยเหลือ
๔) ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อการส่งต่อที่เหมาะสม

๑.๒ การทะเลาะวิวาท

แนวทางการปฏิบัติ

การป้องกัน

๑) จัดทำระเบียบในการประพฤติปฏิบัติตนในสถานศึกษา

๒) ประชุมชี้แจงทำความเข้าในการปฏิบัติตนตามระเบียบ

๓) เฝ้าระวัง สังเกตพฤติกรรมทั้งในระดับชั้นเรียน สถานศึกษา และชุมชน

๔) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังในสถานศึกษาและชุมชน

๕) จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อติดตามพฤติกรรมนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

การปลูกฝัง

๑) ให้ความรู้เรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคม และผลกระทบที่เกิดจากการทะเลาะวิวาท

๒) จัดกิจกรรมส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคม

๓) จัดเวทีกิจกรรมให้นักเรียนได้แสดงออกตามความสามารถอย่างเหมาะสม

การปราบปราม

๑) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

๒) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อร่วมแก้ปัญหา

๓) ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอม ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก

๑.๓ การกลั่นแกล้งรังแก

แนวทางการปฏิบัติ

การป้องกัน

๑) สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยงทั้งกลุ่มผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ

๒) จัดทำระเบียบช้อตกลงร่วมกัน ทั้งในระดับชั้นเรียนและระดับสถานศึกษา

๓) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

๔) จัดระบบการสื่อสารเพื่อติดตามพฤติกรรมนักเรียน

การปลูกฝัง

๑) ให้ความรู้ความเข้าใจหลักในการอยู่ร่วมกันในสังคม

๒) จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ทำร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

๓) จัดเวทีให้นักเรียนได้แสดงออกตามความสามารถอย่างเหมาะสม

การปราบปราม

๑) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุ ทั้งในระดับชั้นเรียน สถานศึกษา และชุมชน

๒)ดำเนินการเอาโทษตามระเบียบข้อตกลง โดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอม ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก

๓) ติดตาม เยี่ยมเยือน ให้กำลังใจผู้ถูกกระทำ และสร้างความเข้าใจกับผู้กระทำ

๑.๔ การชุมนุมประท้วงและการจลาจล

แนวทางการปฏิบัติ

การป้องกัน

๑) สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
๒) เฝ้าระวัง สังเกตพฤติกรรมนักเรียน และพัฒนาพื้นที่เสี่ยงให้ปลอดภัย
๓) สร้างเครือข่ายฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน
๔) จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลด้านพฤติกรรมนักเรียนทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

การปลูกฝัง
๑) สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ กฎหมาย สิทธิและหน้าที่พลเมือง
๒) สร้างองค์ความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการชุมนุมประท้วงและการจลาจล
๓) จัดกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ
๔ จัดกิจกรรมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน ในโอกาสที่เหมาะสม

การปราบปราม
๑) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศีกษาและชุมชน
๒) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓)ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอม ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก

๑.๕ การก่อวินาศกรรม
แนวทางการปฏิบัติ
การป้องกัน

๑) สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
๒) เฝ้าระวัง สังเกตพฤติกรรมนักเรียน
๓) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน
๔ จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลด้านพฤติกรรมนักเรียนทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

การปลูกฝัง
๑ สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการก่อวินาศกรรม
๒) จัดกิจกรรมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน ในโอกาสที่เหมาะสม
๓) จัดเวทีให้นักเรียนได้แสดงออกตามความสามารถอย่างเหมาะสม

การปราบปราม
๑ แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒) ประสานเครื่อข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓) ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกล่เกสี่ยประนีประนอม ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก

๑.๖ การระเบิด
แนวทางการปฏิบัติ
การป้องกัน

๑) สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
๒) สำรวจข้อมูลแหล่งที่มาของวัตถุประกอบระเบิด
๓) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๔) จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อติดตามพฤติกรรมนักเรียน

การปลูกฝัง

๑) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้ระเบิด

๒) จัดกิจกรรมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน ในโอกาสที่เหมาะสม

๓) จัดเวทีให้นักเรียนได้แสดงออกออกตามความสามารถอย่างเหมาะสม

การปราบปราม

๑) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

๒) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา

๓) ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอม ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก

๑.๗ สารเคมีและวัตถุอันตราย

แนวทางการปฏิบัติ

การป้องกัน

๑) จัดทำมาตรการและแนวปฏิบัติในการดำเนินการ ล ละ เลิก การใช้สารเคมีและวัตถุอันตราย

๒) จัดสถานที่ในการจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายให้มิดชิด

๓ สร้างเครือข่ายฝ้าระวังการใช้สารเคมีและวัตถุอันตรายทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

การปลูกฝัง

๑) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจาการใช้สารเคมีและวัตถุอันตราย

๒) จัดกิจกรรมส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต

๓) จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานที่จริงในพื้นที่

การปราบปราม

๑) ติดต่อประสานงานเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อร่วมแก้ปัญหา

๒) ดำเนินการตามมาตรการและข้อตกลงที่กำหนดร่วมกัน

๑.๘ การล่อลวง ลักพาตัว

แนวทางการปฏิบัติ

การป้องกัน

๑) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

๒ จัดระบบการติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมนักเรียน ผู้ใกล้ชิด และบุคคลภายนอก

๓) จัดทำข้อมูลช่องทางขอความช่วยเหลือเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนและชุมชน

การปลูกฝัง

๑) การจัดกิจกรรมส่งเสริมความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง

๒) จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตอย่างรอบด้าน

๓) ฝึกทักษะการปฏิเสธ และการเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่าง ๆ

การปราบปราม

๑) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์

๒) แต่งตั้งคณะทำงานด้านกฎหมายเพื่อให้ความช่วยเหลือ

๓) ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมแก้ปัญหา

๒.ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (Accident)

๒.๑ ภัยธรรมชาติ

แนวทางการปฏิบัติ

การป้องกัน

๑) สำรวจข้อมูลความเสี่ยงที่เกิดจากภัยธรรมชาติ

๒) จัดทำแผนป้องกันภัยทางธรรมชาติ

๓) จัดตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือในการป้องกันภัยธรรมชาติ

๔) ซักซ้อมการเผชิญเหตุภัยธรรมชาติ

การปลูกฝัง

๑) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากธรรมชาติรูปแบบต่าง ๆ

๒) จัดกิจกรรมฝึกทักษะการเผชิญปัญหาภัยธรรมชาติ

๓) จัดกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การปราบปราม

๑) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์

๒) ติดต่อสื่อสารเครื่อข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหา

๓) ประสานงานหน่วยงาน องค์กร เพื่อให้ความช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟูจิตใจ

๒.๒ ภัยจากอาคารเรียน สิ่งก่อสร้าง

แนวทางการปฏิบัติ

การป้องกัน

๑) สำรวจสภาพของอาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้าง

๒) ติดป้ยสัญลักษณ์ในอาคาร หรือพื้นที่ที่ไม่แข็งแรงและมีความเสี่ยง

๓) ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนหลีกเสี่ยงการเข้าพื้นที่เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

การปลูกฝัง

๑ สร้างความรู้ความเข้าใจถึงหลักการสร้างความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต

๒) ฝึกทักษะการสังเกตและหลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยง

๓) จัดกิจกรรมฝึกทักษะการเอาตัวรอดเมื่อประสบภัยจากอาคารเรียน และสิ่งก่อสร้าง

การปราบปราม

๑ สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมและดำเนินการช่วยเหลือและแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ

๒) ประสานงานหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เพื่อให้ความช่วยเหลือ

๒.๓ ภัยจากยานพาหนะ

แนวทางการปฏิบัติ

การป้องกัน

๑) สำรวจข้อมูลยานพาหนะในสถานศึกษา

๒) จัดระบบสัญจรในสถานศึกษาสำหรับยานพาหนะประเภทต่าง ๆ และสำหรับการเดินเท้า

๓) จัดทำแผ่นให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากยานพาหนะ
๔) จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เพื่อการช่วยเหลือ
๕) ส่งเสริมสนับสนุนการทำประกันภัย ประกันอุบัติเหตุ
การปลูกฝัง
๑) จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการใช้รถใช้ถนนและเครื่องหมายจราจร
๒) จัดกิจกรรมฝึกทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องตันเมื่อประสบภัยจากยานพาหนะ
๓) จัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติตามกฎจราจร
การปราบปราม
๑) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์
๒) ติดต่อสื่อสารเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหา
๓) ประสานงานหน่วยงาน องค์กร เพื่อให้ความช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟูจิตใจ

๒.๔ ภัยจากการจัดกิจกรรม
แนวทางการปฏิบัติ
การป้องกัน

๑) แต่งตั้งคณะทำงานประเมินความเสี่ยงในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
๒) จัดแยกกิจกรรมตามระดับความเสี่ยง
๓) เสนอแนะแนวทางในการป้องกันความเสี่ยงในกิจกรรมต่าง ๆ

การปลูกฝัง
๑) สร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ให้ปลอดภัย
๒) ฝึกทักษะการเลือกปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับตนเอง
๓) จัดกิจกรรมฝึกทักษะการให้ความช่วยเหลือเมื่อประสบภัยจากการปฏิบัติกิจกรรม

การปราบปราม
๑) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์
๒) ติดต่อสื่อสารเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหา
๓) ดำเนินการส่งต่อเพื่อการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ

๒.๕ ภัยจากเครื่องมือ อุปกรณ์
แนวทางการปฏิบัติ
การป้องกัน

๑) สำรวจข้อมูลเครื่องมือ อุปกรณ์ จัดแยกส่วนที่ชำรุดและส่วนที่ใช้งานได้
๒) จัดทำคู่มือการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ให้ปลอดภัย
๓)ดำเนินการซ่อมแชม บำรุงรักษาและการจัดเก็บเครื่องมือ อุปกรณ์ ให้เป็นระบบ
การปลูกฝัง
๑ จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจ หลักการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ให้ปลอดภัย
๒) ฝึกทักษะการใช้ การบำรุงรักษา การจัดเก็บเครื่องมือ อุปกรณ์
๓) จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในคุณค่าของเครื่องมือ อุปกรณ์

การปราบปราม
๑) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์
๒) ประสานเครือข่ายความร่วมมือเพื่อให้ความช่วยเหลือ
๓) ดำเนินการส่งต่อเพื่อการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ

๓. ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ (Right)

๓.๑ การถูกปล่อยปละ ละเลย ทอดทิ้ง
แนวทางการปฏิบัติ
การป้องกัน

๑) สร้างเครือข่ายฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒) จัดระบบการติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมนักเรียน และผู้ใกล้ชิด
๓ จัดทำข้อมูลช่องทางขอความช่วยเหลือเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนและชุมชน

การปลูกฝัง
๑) จัดกิจกรรมส่งเสริมความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง
๒) จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตอย่างรอบด้าน
๓) ฝึกทักษะการปฏิเสธการเอาตัวรอด และการขอความช่วยเหลือ

การปราบปราม
๑) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์
๒) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย
๓) ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมแก้ปัญหา
๔) ติดตามเยี่ยมเยือนให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ

๓.๒ การคุกคามทางเพศ
แนวทางการปฏิบัติ
การป้องกัน

๑) สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและพื้นที่เป็นจุดเสี่ยง
๒) เฝ้าระวัง สังเกตพฤติกรรมนักเรียน และพัฒนาพื้นที่เสี่ยงให้ปลอดภัย
๓) สร้างเครือข่ายฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน
๔) จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลด้านพฤติกรรมนักเรียนทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

การปลูกฝัง
๑) จัดกิจกรรมส่งเสริมความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง
๒) จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตรอบด้าน
๓) ฝึกทักษะการปฏิเสธ การเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่าง ๆ

การปราบปราม
๑) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ช่องทางในการขอความช่วยเหลือ
๒) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์
๓) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย
๔) ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อการส่งต่อที่เหมาะสม
๕) สร้างขวัญกำลังใจโดยการติดตามเยี่ยมเยีอนอย่างสม่ำเสมอ

๓.๓ การไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสังคม
แนวทางการปฏิบัติ
การป้องกัน

๑) สำรวจข้อมูลนักเรียนรายคน
๒) วิเคราะห์สภาพปัญหาความต้องการ ความขาดแคลน ของนักเรียนรายคน
๓) จัดทำแผนให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่ตามความขาดแคลน
๔) สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อประสานความช่วยเหลือ

การปลูกฝัง
๑ สร้างความรู้ความเข้าใจถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อสังคม
๒) บริการให้คำปรึกษาสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
๓) จัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกในความเสมอภาค เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน

การปราบปราม
๑) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์
๒) ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓) ติดตามเยี่ยมเยือนให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ

๔. ภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness)
๔.๑ ภาวะจิตเวช
แนวทางการปฏิบัติ
การป้องกัน

๑) สำรวจข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
๒) ติดต่อประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อประเมินภาวะจิต
๓) จัดหลักสูตรการเรียนการสอนพิเศษรายคน
๔)สร้างเครื่อข่ายฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๕) จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง

การปลูกฝัง
๑) จัดกิจกรรมส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียน
๒) จัดเวทีให้นักเรียนได้แสดงออกตามความสามารถ
๓) จัดกิจกรรมส่งเสริมการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

การปราบปราม
๑) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓)ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอม ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก
๔) ประสานการส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ

๔.๒ ติดเกม
แนวทางการปฏิบัติ
การป้องกัน

๑) สำรวจข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
๒) สำรวจข้อมูลพื้นที่แหล่งให้บริการร้านเกม
๓) กำหนดข้อตกลงเพื่อปฏิบัติร่วมกัน
๔) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๕) จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง

การปลูกฝัง
๑) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการติดเกม
๒) จัดกิจกรรมส่งเสริมการการคิด วิเคราะห์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
๓) จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สนองต่อความสนใจของนักเรียนอย่างหลากหลาย

การปราบปราม
๑) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓) ดำเนินการเอาผิดตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ร่วมกัน
๔) ติดตามเยี่ยมเยือนเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ

๔.๓ ยาเสพติด
แนวทางการปฏิบัติ
การป้องกัน

๑) สำรวจข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
๒) วิเคราะห์นักเรียนรายบุคคล
๓) กำหนดข้อตกลงเพื่อปฏิบัติร่วมกัน
๔)สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๕) จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง

การปลูกฝัง
๑) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงโทษภัย และผลกระทบของการติดยาเสพติด
๒) จัดกิจกรรมต่อต้านยาเสพติดในวันสำคัญต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ
๓) จัดกิจกรรมส่งเสริมการการคิด วิเคราะห์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
๔) จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สนองต่อความสนใจของนักเรียนอย่างหลากหลาย

การปราบปราม
๑) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓) ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกล่เกสี่ยประนีประนอม ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก
๔) ประสานการส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ

๔.๔ โรคระบาดในมนุษย์
แนวทางการปฏิบัติ
การป้องกัน

๑) สำรวจข้อมูลด้านสุขภาพของนักเรียนรายคนและบุคคลใกล้ชิด
๒) จัดทำแผนในการป้องกันโรคระบาดในมนุษย์
๓) บริการวัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันโรคระบาดในมนุษย์
๔) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๕) จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อติดตามข้อมูลด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

การปลูกฝัง
๑) สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดในมนุษย์
๒) จัดกิจกรรมฝึกทักษะการปฏิบัติตน เพื่อความปลอดภัยจากโรคระบาดในมนุษย์
๓) จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

การปราบปราม
๑) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓) ดำเนินการตามมาตรการที่กฎหมายกำหนด
๔) ประสานการส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ

๔.๕ ภัยไซเบอร์
แนวทางการปฏิบัติ
การป้องกัน

๑) สำรวจข้อมูลการใช้งานระบบไชเบอร์ของนักเรียนรายคน
๒) กำหนดช้อตกลงเพื่อปฏิบัติร่วมกัน
๓) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๔) จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง

การปลูกฝัง

๑) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้งานระบบไชเบอร์โดยขาดวิจารณญาณ

๒) จัดกิจกรรมส่งเสริมการการคิด วิเคราะห์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

๓) จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สนองต่อความสนใจของนักเรียนอย่างหลากหลาย

การปราบปราม

๑) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

๒) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา

๓) ดำเนินการเอาผิดตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ร่วมกัน

๔) ติดตามเยี่ยมเยือนเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ

๔.๖ การพนัน

แนวทางการปฏิบัติ

การป้องกัน

๑) สำรวจข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยง

๒) สำรวจพื้นที่ที่เป็นแหล่งการพนัน

๓) กำหนดข้อตกลงเพื่อปฏิบัติร่วมกัน

๔)สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

๕) จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง

การปลูกฝัง

๑) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการพนัน

๒) จัดกิจกรรมส่งเสริมการกรคิด วิเคราะห์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

๓) จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สนองต่อความสนใจของนักเรียนอย่างหลากหลาย

การปราบปราม

๑) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

๒) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา

๓) ดำเนินการเอาผิดตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ร่วมกัน

๔) ติดตามเยี่ยมเยือนเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ

๔.๗ มลภาวะเป็นพิษ

แนวทางการปฏิบัติ

การป้องกัน

๑ สำรวจข้อมูลพื้นที่ที่เกิดมลภาวะเป็นพิษในสถานศึกษาและขุมชน

๒) จัดทำป้ายสัญลักษณ์แสดงพื้นที่มลภาวะเป็นพิษ

๓) จัดทำแผนในการแก้ปัญหามลภาวะเป็นพิษร่วมกัน

๔) กำหนข้อตกลงในการปฏิบัติร่วมกัน

การปลูกฝัง
๑) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุและผลกระทบที่เกิดจากมลภาวะเป็นพิษ
๒) จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาและการลดมลภาวะเป็นพิษ
๓) จัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกในการลดมลพิษร่วมกับชุมชน

การปราบปราม
๑) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓) ดำเนินการเอาผิดตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ร่วมกัน

๔ ติดตามเยี่ยมเยือนเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ

๔.๘ โรคระบาดในสัตว์
แนวทางการปฏิบัติ
การป้องกัน

๑) สำรวจข้อมูลสัตว์เลี้ยงของนักเรียนรายคน
๒) จัดทำแผนในการป้องกันโรคระบาดในสัตว์
๓) บริการวัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันโรคระบาดในสัตว์
๔)สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๕) จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อติดตามข้อมูสสัตว์เสี้ยงอย่างต่อเนื่อง

การปลูกฝัง
๑) สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดในสัตว์
๒) จัดกิจกรรมฝึกทักษะการปฏิบัติตน เพื่อความปลอดภัยจากโรคระบาดในสัตว์
๓) จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

การปราบปราม
๑) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒) ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓) ดำเนินการตามมาตรการที่กฎหมายกำหนด
๔) ประสานการส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ

๔.๙ ภาวะทุพโภชนาการ
แนวทางการปฏิบัติ
การป้องกัน

๑) การสำรวจและจัดกลุ่มนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีภาวะทุพโภชนาการ
๒) เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ครอบครัว ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
๓) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่ผู้ปกครอง
๔) จัดทำฐานข้อมูลเพื่อตรวจสอบพัฒนาการและความกั้วหน้าในการลดภาวะทุพโภชนาการ
๕) จัดหาอุปกรณ์กีฬาให้เพียงพอ
๖) การดูแลอาหารกลางวัน อาหารเสริม และอาหารว่างที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

การปลูกฝัง

๑) จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่นักเรียน

๒) จัดกิจกรรมออกกำลังกาย และวิธีการรักษาสุขภาพให้กับนักเรียน

๓) การบูรณาการความรู้ด้านโภชนาการในการจัดการเรียนการสอน

การปราบปราม

๑) การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ช่องทางในการขอความช่วยเหลือ

๒) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์

๓) แต่งตั้งคณะทำงานกองทุนอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ

๔) ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อการส่งต่อที่เหมาะสม

ช่องทางการติดต่อสื่อสาร

ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ. 27

การกํากับติดตามและประเมินผล

สถานศึกษาดำเนินการกำกับ ติดตาม และประเมินผล การดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตามแนวดำเนินการ มาตรการ แนวทางปฏิบัติ โดยยีดตัวชี้วัดในการดำเนินการในทุกประเด็น มีการจัดทำเครื่องมือในการกำกับ ติดตาม และประเมินผล ที่มีคุณภาพและครอบคลุม มีการจัดทำแผนการกำกับ ติดตาม และประเมินผลกำหนดปฏิทินดำเนินการ คัดเลือกสถานศึกษาที่มีผลการดำเนินการประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ยกย่องเชิดชูเกียรติ สรุปรายงาน และเผยแพร่ผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยดำเนินการ ดังนี้

๑) แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
๒) ศึกษาแนวดำเนินการ มาตรการ แนวทางการปฏิบัติ และตัวชี้วัดการดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา
๓) จัดทำแผนการกำกับ ติดตาม และประเมินผล การดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา
๔)กำหนดปฏิหินในการดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา อย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง
๕) จัดทำเครื่องมือในการกำกับ ติดตาม และประเมินผล การดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดในการดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา
๖) ดำเนินการกำกับ ติดตาม และประเมินผล การดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา
๗) สรุปผลการดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา ให้ข้อเสนอแนะประเด็นที่เป็นจุดเด่น จุดควรพัฒนาพร้อมแนวทางในการพัฒนาในปีการศึกษาต่อไป
๘) คัดเลือกสถานศึกษาที่มีผลการดำเนินการประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์
๙ ยกย่องเชิดชูเกียรติสถานศึกษาที่มีผลการดำเนินการประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์
๑๐) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษาในช่องทางที่หลากหลาย

คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา

ดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา โดย สพฐ.

>>ดาวน์โหลดไฟล์คลิกที่นี่<<

ขอบคุณที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่