ดาวน์โหลด คู่มือการพัฒนาการสอนเขียนลายมือ เอกสารที่ ๑/๒๕๔๑ หน่วยศึกษานิเทศก์ สปช.กระทรวงศึกษาธิการ
คู่มือ การพัฒนาการสอนเขียนลายมือ เขียนอักษรไทยอย่างไร ได้มาตรฐาน สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ตระหนักถึงความสำคัญและปัญหา ด้านการเรียนการสอนภาษาไทยอย่างยิ่งจึงได้กำหนดเรื่องการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยเป็นนโยบายหลักให้อ่านคล่อง เขียนคล่อง แต่ด้านการเขียนเป็นสมรรถภาพหนึ่งที่เป็นปัญหามาก และเมื่อศึกษาลึกลงไปก็พบว่า นักเรียนมีปัญหาด้านการเขียนตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน คือ นักเรียนส่วนใหญ่เขียนหนังสือไม่เป็นตัวไม่มีทิศทาง ไม่ได้สัดส่วน และไม่มีรูปแบบ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติจึงได้จัดทำ คู่มือ การพัฒนาการสอนเขียนลายมือขึ้น เพื่อช่วยครูในการพัฒนาการสอนเขียนลายมือคู่มือ การพัฒนาการสอนเขียนลายมือ ให้หลักเกณฑ์การเขียนไว้ทั้งอักษรแบบตัวกลม และตัวเหลี่ยม ตามมาตรฐานโครงสร้างตัวอักษรไทย ของราชบัณฑิตยสถานสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติขอขอบคุณ นางพยอม สุขมาก ศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ที่จัดทำตันฉบับ และขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องไว้ ณ โอกาสนี้
ตัวอย่างไฟล์
รูปแบบตัวอักษรไทยปัจจุบัน
ตัวอักษรไทยที่ใช้กันอยู่ในโรงเรียนปัจจุบัน เท่าที่รวบรวมได้ มี ๙ แบบ คือ
๑. แบบขุนสัมฤทธิ์วรรณการ
๒. แบบอาลักษณ์
๓. แบบพระยาผดุงวิทยาเสริม
๔. แบบโรงเรียนทุ่งมหาเมฆ
๕. แบบโรงเรียนสายน้ำทิพย์
๖. แบบภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๗. แบบกระทรวงศึกษาธิการ
๘. แบบที่ สปช. ใช้จัดทำเอกสารพัฒนาลายมือปีการศึกษา ๒๕๓๕
๙. แบบที่ใช้ในโครงการพัฒนาการเขียนลายมือของ สปช. (ปี ๒๕๓๗-๒๕๓๙)
ตัวอักษรทั้ง ๙ แบบ สามารถจัดตามลักษณะตัวอักษรได้เป็น ประเภทใหญ่ ๆ คือ ประเภทตัวกลมหรือตัวมน และประเภทตัวเหลี่ยม ประเภทตัวกลมหรือตัวมน ได้แก่ แบบขุนสัมฤทธิ์วรรณการ และแบบกระทรวงศึกษาธิการ ประเภทตัวเหลี่ยม ได้แก่ แบบอาลักษณ์ แบบพระยาผดุงวิทยาเสริม แบบโรงเรียนทุ่งมหาเมฆ แบบโรงเรียนสายน้ำทิพย์ แบบภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแบบที่ใช้ในโครงการพัฒนาการเขียนลายมือของ สปช. ดังต่อไปนี้
ตัวอักษรแบบขุนสัมฤทธิ์วรรณการ
ตัวอักษรแบบกระทรวงศึกษาธิการ
ขอบคุณที่มา :: Facebook กวีเพื่อชีวิต