ดาวน์โหลดเอกสาร สมรรถนะการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง สร้างเสริมสมรรถนะของผู้เรียน โดย รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เนื้อหา
- นโยบายการศึกษาของชาติ
- สมรรถนะกับการสร้างสมรรถนะ
- สมรรถนะของครูมืออาชีพกับ 15 ตัวชี้วัดของการปฏิบัติงานครู
- การจัดการเรียนรู้เน้นเด็กเป็นสำคัญ (Child-Oriented Learning Management)
- การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบ Co-5STEPs และวิธีสอนอื่น ๆ
- การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเสริมสร้างสมรรถนะหลักของผู้เรียน
- การจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามวงจร ADWIE ควบคู่ PLC
- กิจกรรม สี่อ ประเมินแบบออนไลน์สร้างห้องเรียนแห่งคุณภาพสำหรับครูยุค Post-Covid
- คุณค่าของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วย Co-5STEPs
- ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง
- ภาคผนวกพิเศษ
- เอกสารอ้างอิง
การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) กับองค์ความรู้ (Body of Learning) หรือการใช้กระบวนการเรียนรู้ และบ่มเพาะนิสัย แล้วสร้างองค์ความรู้ทำให้เกิดการเรียนรู้ ได้ความรู้ (K) ทักษะ (P) และนิสัย (A)
*Pคิด กระบวนการคิด
Pทำ กระบวนการทำ/ปฏิบัติ
Pสังคม กระบวนการทำงานรวมพลัง
A คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และเจตคติ (Attribute & Attitude)
การเรียนรู้เชิงรุก คือ การดำเนินการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการคิด การปฏิบัติ การได้รับคำปรึกษาชี้แนะ การนำความรู้ไปใช้การถอดบทเรียน การสะท้อนคิด รวมทั้งการมีปฏิสัมพันธ์ การทำงาน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เกิดแรงบันดาลใจ เกิดทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเองค้นพบศักยภาพของตนเอง สามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตนและบ่มเพาะนิสัย ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามระดับช่วงวัย
เป้าหมายของการเรียนรู้เชิงรกเป็นการเรียนรู้อย่างตื่นตัว มีชีวิตชีวาสู่ การพัฒนาทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
กลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
ในการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ หรือเรียกว่าการจัดการเรียนรู้เชิงรุก นี้ นักการศึกษา ครูสามารถใช้วิธีสอน รูปแบบการเรียนการสอน แนวการสอน รวมทั้งเทคนิคการสอน นำไปใช้ออกแบบ เขียนแผนฯตลอดจนปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ คำจำกัดความของกลยุทธ์ข้างต้นเป็นดังนี้ซึ่งมีความแตกต่างกัน แต่มีความสัมพันธ์กันให้สังเกตว่าวิธีสอน แนวการสอน และรูปแบบการเรียนการสอนที่มีการพัฒนากันมาอาจไม่พบขั้นประยุกต์ ดังนั้น ผู้สอนจึงต้องเพิ่มให้เด็ก หรือผู้เรียนนำการเรียนรู้ที่เกิดไปใช้ หรือประยุกต์ในกิจวัตรประจำวันด้วยวิธีสอน (teaching method)
วิธีสอน คือ ขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบ และขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเด่น หรือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้น ๆ เช่น วิธีการสอนโดยใช้บรรยายองค์ประกอบสำคัญของการบรรยาย คือ เนื้อหาสาระ ที่จะบรรยาย และการบรรยาย และขั้นตอนสำคัญ คือ การเตรียมเนื้อหาการบรรยาย (พูด บอก เล่า อธิบาย) และการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการบรรยาย
รูปแบบการเรียนการสอน (instructional model)
รูปแบบการเรียนการสอน/รูปแบบการสอน คือ รูปแบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบ อย่างสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎี/หลักการเรียนรู้ หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ และได้รับการพิสูจน์ ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะรูปแบบนั้น ๆ โดยทั่วไปแบบแผนการดำเนินการสอนดังกล่าวมักประกอบด้วยทฤษฎี/หลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือ และกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะอันจะนำผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนด ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผน หรือแบบอย่างในการจัด และดำเนินการสอนอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้ (ทิศนา แขมมณี, 2552)
เทคนิคการสอน (teaching techniques)
เทคนิค คือ กลวิธีต่าง ๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำใด ๆ เพื่อช่วยให้กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือ การกระทำนั้นมีคุณภาพ และประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น เทคนิคการสอนจึงหมายถึง กลวิธีต่าง ๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน หรือการดำเนินการทางการสอนใด ๆ เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพ และประสิทธิภาพมากขึ้นเช่น ในการบรรยายผู้สอนใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่สามารถช่วยให้การบรรยายมีคุณภาพ และประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การยกตัวอย่าง การใช้สื่อ การใช้คำถาม เป็นต้น (ทิศนา แขมมณี, 2552)
แนวการสอนสำคัญที่เป็นที่นิยม และง่ายต่อการปฏิบัติอันเป็นแนวการสอนหนึ่งของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก คือ กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน เรียกว่า แนวการสอน Co-5STEPร (กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน)
กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (5 STEPs Collaborative Learning Process) หรือเรียกสั้น ๆ คือ Collaborative 5 STEPs เป็นแนว การสอนที่มีการดัดแปลงมาจากกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ซึ่งนำมาร้อยเรียงจากบันได 5 ขั้นของหลักสูตรในโรงเรียนมาตรฐานสากลโดยพิมพันธ์ เดชะคุปต์ (พ.ศ. 2556) ต่อมามีการเพิ่มเติมการทำงานกลุ่มแบบรวมพลัง เพื่อการจัดการเรียนรู้อีกทั้งเน้นการให้นักเรียนร่วมมือกันทำงาน ช่วยเหลือกัน เด็กเก่ง ช่วยเด็กเรียนช้า เด็กถนัดกว่าช่วยเด็กฤนัดน้อย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเสมอภาค (Equity)
ความหมายของ Co-5 STEPs
กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนเป็นแนวการสอนหนึ่งของการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งอาจมีการประยุกต์ได้ผลผลิต บนฐานวิธีการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีการปฏิบัติกิจกรรมแบบทำงานกลุ่มรวมพลัง โดยทุกคนร่วมด้วยช่วยกัน เด็กเก่งช่วยเด็กเรียนช้ากว่า เด็กถนัดกว่าช่วยเด็กถนัดน้อย เพื่อให้มีความสุขในการเรียนบทบาทของผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ (Learner) บทบาทของครูเป็นผู้อำนวยการความสะดวก (Facilitator) ผู้ซี้แนะ (Coach) และเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) ลักษณะเด่น หรือลักษณะเฉพาะ
- เป็นแนวการสอนอยู่บนฐานวิธีการทางวิทยาศาสตร์
- หลักการสร้างความรู้แล้วครูต้องมีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนนำการเรียนรู้ไปใช้ หรือประยุกต์ได้ผลงาน/ภาระงานไปตอบแทนสังคม
- เป็นการจัดการเรียนรู้ เน้นการทำงานกลุ่มแบบรวมพลัง เด็กร่วมมือช่วยเหลือกันและกัน เพื่อให้เกิดความเสมอภาคกัน
- วิธีสอนสำคัญที่ใช้ใน Co-5 STEPs คือ
1) วิธีสอนแบบสืบสอบ
2) วิธีสอนแบบโครงงาน
3) วิธีสอนต่าง ๆ ใช้กิจกรรมเป็นฐาน เช่น
-เกม
-กรณีตัวอย่าง
-บทบาทสมมุติ
-สถานการณ์จำลอง
-ใช้ประเด็นทางสังคม
5 ขั้นตอนของการกระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน
ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5ขั้นตอนนั้น พบว่า พฤติกรรมการสอน และพฤติกรรมการเรียนรู้มีความสำคัญยิ่งในแต่ละขั้นตอน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- ขั้นเสนอสิ่งเร้า และรวมพลังระบุคำถามสำคัญ (Stimulating and Key Questioning Collaboratively)
- ขั้นรวมพลังแสวงหาสารสนเทศและวิเคราะห์ (Searching and Analyzing Collaboratively)
- ขั้นรวมพลังอภิปรายและสร้างความรู้ (Discussing and Constructing Collaboratively)
- ขั้นรวมพลังสื่อสารและสะท้อนคิด (Communicating and Reflecting Collaboratively)
- ขั้นรวมพลังประยุกต์และตอบแทนสังคม (Applying and Serving Collaboratively)
ดาวน์โหลดไฟล์
ขอบคุณไฟล์ :: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย