แจกไฟล์คำนวนค่าสถิติ ในงานวิจัยในชั้นเรียน การวิเคราะห์ความพึงพอใจ คำนวณ t-test คำนวณ e1/e2 ไฟล์ Excel *.xls แก้ไขได้ ดาวน์โหลดฟรี
บทความนี้ ครูอาชีพดอทคอม ขอแนะนำไฟล์คำนวณค่าสถิติต่าง ๆ โปรแกรมวิเคราะห์สถิติ ฟรี ในงานวิจัยในชั้นเรียน เช่น สถิติ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X-bar) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมหรือสื่อที่เนั้นกระบวนการ E1/E2 การคํานวณขนาดตัวอย่าง sample size เป็นต้น โปรแกรมวิเคราะห์สถิติ excel เป็นไฟล์รูปแบบ Excel คำนวณอัตโนมัติ สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีในลิงก์ด้านล่าง
สถิติที่ใช้บ่อยสำหรับการวิจัยในชั้นเรียน
ปัญหาความสับสนของการวิจัยในชั้นเรียนนอกจากเรื่องการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนดังที่ได้กล่าวข้างต้น อีกปัญหาหนึ่งที่ครูรู้สึกท้อแท้ เข้าใจยาก และเบื่อหน่ายก็คือเรื่อง สถิติที่ใช้ในการวีเคราะห์ข้อมูล ซึ่งบทความนี้ผู้เขียนมีเจตนาที่จะพยายามสรุปสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยในชั้นเรียนที่ใช้บ่อยๆ มานำเสนอในลักษณะที่สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายๆ ขึ้นโดยแบ่งประเภทของสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยในชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
1. สถิติสำหรับบรรยายในชั้นเรียน
เป็นสถิติที่ใช้บรรยายลักษณะของข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากกลุ่มนักเรียนที่ใช้ในการศึกษา ซึ่งส่วนมากจะใช้สถิติ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X-bar) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S)
2. สถิติสำหรับเปรียบเทียบ
สำหรับการวิจัยในชั้นเรียน จุดประสงค์ที่สำคัญคือต้องการพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนให้สูงขึ้นครอบคลุมทั้งในด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ ซึ่งการที่จะรู้ว่านักเรียนมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นตามจุดประสงค์หรือไม่ จำเป็นต้องมีการเปรียบเทียบ อาจเปรียบเทียบกับผลการเรียนเติมก่อนมีการใช้วิธีการหรือนวัตกรรม 1 นั้น หรืออาจเปรียบเทียบผลการเรียนระหว่างห้องเรียนที่ทดลองใช้นวัตกรรมที่ต่างกัน หรืออาจเป็นการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ครูตั้งขึ้นตามแนวคิดหรือทฤษฎี ซึ่งสามารถแบ่งประเภทการเปรียบเทียบที่ใช้บ่อยสำหรับงานวิจัยในชั้นเรียน ได้ดังนี้
- สถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มตัวอย่าง สัมพันธ์กัน (paired samples t – test)
- สถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มตัวอย่าง อิสระกัน (independent samples t – test)
- สถิติเปรียบเทียบค่เฉลี่ย 1 กลุ่มตัวอย่าง กับค่คงที่ (เกณฑ์) (one sample t – test)
3. สถิติสำหรับหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม
เป็นสถิติที่พบบ่อยสำหรับการวิจัยในชั้นเรียน เนื่องจากครูส่วนใหญ่อาศัยนวัตกรรม หรือสื่อใหม่ๆ มาใช้ในการสอนเพื่อช่วยในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน นวัตกรรมหรือสื่อดังกล่าวจำเป็นต้องมีการหาประสิทธิภาพ เพื่อทำให้มั่นใจว่าเปีนนวัตกรรมหรือสื่อที่มีคุณภาพเหมาะที่จะนำไปใช้ได้ สำหรับการหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมหรือสื่อที่เนั้นกระบวนการ เช่น ชุดการสอน หรือชุดกิจกรรม นิยมใช้สูตร E1/E2 ของชัยยงค์ พรหมวงศ์ (มนตรี แย้มกสิกร, 2551) โดยที่ E1 หมายถึง ประสิทธิภาพของกระบวนการ เป็นการประเมินพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆ อย่าง ซึ่งสามารถวัดได้จากการประกอบกิจกรรมกลุ่ม รายงานกลุ่ม หรือการปฏิบัติงานที่มอบหมายรายบุคคล หรือแบบฝึกหัด เป็นต้น ส่วน E2 หมายถึง ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ซึ่งเป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในเนื้อหาแต่ละหน่วย ส่วนใหญ่พิจารณาจากผลการสอบหลังเรียน โดยกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1 เป็นร้อยละ (เปอร์เซ็นต์) ของค่าเฉสี่ยของคะแนนที่วัดได้จากกิจกรรมในกระบวนการ เป็น 85, 80 หรือ 75 ส่วน E2 เป็นร้อยละ (เปอร์เซ็นต์) ของค่าเฉลี่ยของคะแนนที่เป็นผลการสอบหลังเรียน เป็น 85, 80
หรือ 75
โดยทั่วไปพบว่ากำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพของนวัตกรรมเป็น 80/80 ซึ่งในเรื่องของการกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพของนวัตกรรมหรือสื่อ ควรเป็นเท่าไร จึงจะเป็นที่ยอมรับได้นั้น มีผู้แนะนำไว้ว่าให้พิจารณาจากเนื้อหาวิชา ถ้าเป็นความรู้ความจำ ก็ควรกำหนดเกณฑ์เป็น 85/85, 80/80ส่วนเนื้อหาทางด้านทักษะ หรือเจตคติ ที่จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวนาน ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะ หรือเปลี่ยนแปลงเจตคติได้ เกณฑ์ที่ควรกำหนดคือ 75/75 ส่วนการกำหนดเกณฑ์เป็น 90/90 นั้น รองศาสตราจารย์ ร.มนตรี แย้มกสิกร ได้ให้ข้อคิดกับผู้ที่กำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพของนวัตกรรมหรือสื่อว่า ควรใช้กับสื่อที่เน้นการเรียนแบบรอบรู้ (Mastery learning) ซึ่งหมายความว่าสื่อนั้นตั้งใจจะให้แต่ละบุคคล เรียนเพื่อให้รู้ เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเดินทางไปถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยไม่สนใจเรื่องจำนวนเวลาเรียน คือเรียนนานเท่าใดก็ได้ ขอเพียงให้เรียนได้รู้เรื่องตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่นแบบเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นต้น
4. สถิติสำหรับหาคุณภาพเครื่องมือ
ความเที่ยง (ความเชื่อมั่น) ของเครื่องมือ หมายถึง การที่เครื่องมือชนิดนั้นๆ สามารถวัดผลแล้วได้ข้อมูลเหมือนเดิม หรือใกล้เคียงกันทุกๆ ครั้ง ค่าความเที่ยงของเครื่องมือที่เหมาะสม ควรมีค่าตั้งแต่ 0.3 ขึ้นไป สำหรับสูตรในการคำนวณค่าความเที่ยงมีทั้งสูตรที่เหมาะสำหรับการให้คะแนนระบบ 0, 1 และสูตรคำนวณสำหรับการให้คะแนนใดๆ ที่ไม่ใช่ 0, 1
ตัวอย่างไฟล์
ขอบคุณที่มา : Facebook เพจ วิจัย 99 วิจัยในชั้นเรียน แบบ 5 บท คณิตศาสตร์ ป.1-ม.6