ดาวน์โหลด แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ. พ.ศ. 2566 – 2570 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ สพฐ. ปี 2566 – 2570
ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. 2546 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่สำคัญประการหนึ่ง คือ จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องกับทิศทางของ ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 นโยบายและแผนสำคัญอื่น ๆ และสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 – 2570) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นแผนระยะปานกลางที่ระบุทิศทางการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานที่หน่วยงานในสังกัดทั้งหน่วยงานในส่วนกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาทั่วประเทศ ควรให้ความสำคัญและมุ่งดำเนินการในระยะ 5 ปี โดยใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงาน รวมถึงการจัดทำแผนที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานภายนอกใช้เป็นกรอบและแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน เพื่อส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวม
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอขอบคุณท่านผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถาบันอุดมศึกษา และคณะทำงานทุกท่านที่ได้ร่วมกั๋นยกร่างเอกสารฉบับนี้ขอขอบคุณหน่วยงานภายนอกที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกหน่วยงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 – 2570) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 – 2570) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับนี้จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เด็กและเยาวชนสามารถต่อยอดพัฒนาตนเองไปในทิศทางที่จะส่งเสริมการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และสังคมไทยคงอยู่ได้อย่างสงบสุขในอนาคต ตามวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติที่ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ต่อไป
การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการศึกษาเพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ โดยมีเป้าหมายผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน เป็นผู้เรียนรู้ ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งของประเทศ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์และกลยุทธ์ ในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ดังนี้
วิสัยทัศน์
“ผู้เรียนมีความรู้ และสมรรถนะที่จำเป็น มีความสุข และมีเป้าหมาย ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพเพื่อพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ”
พันธกิจ
1. ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเสิศของผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตร และทักษะที่จำเป็นต่ออนาคตในศตวรรษที่ 21
2. พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองทิศทางการพัฒนาประเทศ
3. พัฒนาสถานศึกษาและระบบการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับให้มีความปลอดภัย และสถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาเพื่ อเป้ าหมายการพั ฒนาที่ยั่ งยื น (Sustainable Development Goals : SDGs)ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. เพิ่มโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการของหน่วยงานในสังกัดให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเหมาะสมกับบริบท
เป้าประสงค์
- ผู้เรียนทุกช่วงวัยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นพลเมืองที่ รู้สิทธิและหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ มีความรักและความภูมิใจในความเป็นไทย
- ผู้เรียนทุกช่วงวัยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่เสมอภาค มีคุณภาพตามมาตรฐาน สอดคล้องกับศักยภาพ ให้เป็นผู้มีสมรรถะและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
- เด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะออกจากระบบการศึกษา เด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคัน ได้รับการช่วยเหลือให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา ได้รับการดูแลความปลอดภัยจากภัยคุกคามรูปแบบ ได้แก่ ภัยยาเสพติด ภัยความรุนแรง ภัยพิบัติต่าง ๆ อุบัติเหตุ โรคอุบัติใหม่ ฝุ่น PM 2.5 การค้ามนุษย์การคุกคามในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงอาชญากรรมไชเบอร์ สามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำและรองรับวิถีชีวิตใหม่ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี
- ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีมีสมรรถนะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งจิตวิญญาณความเป็นครู
- สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา สถานศึกษามีการนำระบบข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพมีระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบท
ที่มา :สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน