การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปรับปรุงใหม่ 2562

การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปรับปรุงใหม่ 2562

การแต่งกายเป็นสิ่งที่แสดงถึงบุคลิกลักษณะของบุคคล การแต่งกายที่ถูกต้องและเหมาะสมจึงเป็นการส่งเสริมให้บุคคลนั้นมีบุคลิกภาพที่ดี ซึ่งการแต่งกายของข้าราชการ ลูกจ้างประจำและพนักงานราชการนั้นได้แก่ การแต่งเครื่องแบบซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ดังนั้นกรณีนี้จึงขอกล่าวถึงประเด็นที่ควรทราบ ได้แก่ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องสำหรับการแต่งเครื่องแบบและการประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประเภทของเครื่องแบบ ลักษณะของเครื่องแต่งแบบ ลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ การประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ การประดับเครื่องหมายเข็มพระราชทาน และตัวอย่างภาพแสดงการแต่งเครื่องแบบ

ตามที่มีระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2562

หลักเกณฑ์สำหรับการแต่งเครื่องแบบและการประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์

การแต่งเครื่องแบบและการประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ของข้าราชการ ลูกจ้างประจำและพนักงานราชการ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

ก. การแต่งเครื่องแบบ

๑. ข้าราชการ

พระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พ.ศ. ๒๔๗๘ กฎของสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ ๗๑ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘ กฎของสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ ๙๔ (พ.ศ. ๒๕๕๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘

๒. ลูกจ้างประจำ เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบลูกจ้างประจำ พ.ศ. ๒๕๒๗

๓. พนักงานราชการ เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕ ๔๗ และประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง เครื่องแบบพิธีการของ

พนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๕๒

ข. การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๑

ค. การประดับเครื่องหมายเข็มพระราชทาน

เป็นไปตามหนังสือสำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี ที่ นร ๑๕๐๘/ว ๖๔ ลงวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เรื่อง การประดับเครื่องหมายเข็มพระราชทาน

ประเภทของเครื่องแบบ

แบ่งเป็น

ก. ข้าราชการ

๑. เครื่องแบบปฏิบัติงาน (ข้าราชการประจำการ) มี ๒ ประเภท ได้แก่

๑.๑ เครื่องแบบสีกากีคอพับ
ประเภทของงาน : แต่งสำหรับทำงานประจำวัน พลเรือนเรียกเครื่องแบบตรวจการ

๒.๒ เครื่องแบบสีกากีคอแบะ

ประเภทของงาน : แต่งสำหรับทำงานประจำวัน หรือแต่งไปในงานตามกำหนดการของงาน

๒. เครื่องแบบพิธีการ (ข้าราชการประจำการและข้าราชการนอกประจำการ) มี ๕ ประเภท คือ

๒.๑ เครื่องแบบปกติขาว

ประเภทของงาน : ใช้ในงาน เช่น พิธีวางศิลาฤกษ์ พิธีเปิดสถานที่ราชการ งานเลี้ยงที่เกี่ยวกับราชการ การรับเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ งานวางพวงมาลาอนุสาวรีย์ต่าง ๆ งานส่วนตัว เช่น งานมงคลสมรส งานพระราชทานเพลิงศพ ฯลฯ

๒.๒ เครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง

ประเภทของงาน : ใช้แต่งตามกำหนดการของงาน ส่วนมากเป็นเครื่องแบบสำหรับข้าราชการสำนักพระราชวังในการปฏิบัติราชการนอกสถานที่

๒.๓ เครื่องแบบครึ่งยศ

ประเภทของงาน : ส่วนมากเป็นงานซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน แต่เป็นงานที่มีความสำคัญรองไปจากงานซึ่งต้องแต่งเครื่องแบบเต็มยศ เช่น งานเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หรือบุคคลสำคัญ ฯลฯ

๒.๔ เครื่องแบบเต็มยศ

ประเภทของงาน : พระราชพิธีเปิดสมัยประชุมรัฐสภา พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีฉัตรมงคล งานสโมสรสันนิบาต ทำเนียบรัฐบาล

๒.๕ เครื่องแบบสโมสร

ประเภทของงาน : แต่งสำหรับการเลี้ยงอาหารค่ำที่มีชาวต่างประเทศผู้มีเกียรติสูง หรือในงานพระราชทานเลี้ยงในพระราชสำนัก ตามปกติไม่แต่งก่อนเวลา ๑๘.๐๐ น. ส่วนในเวลากลางวัน เช่น งานเอกอัครราชทูตเข้าฝ้าฯ ถวายสาสน์ตราตั้ง หรือเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น เป็นเครื่องแต่งกายแบบเต็มยศ สำหรับเวลาค่ำที่เรียกว่า Full Dress Tuxedo หรือ White Tie เครื่องแบบสโมสร มี ๓ แบบ คือ เครื่องแบบสโมสรแบบ ก. เครื่องแบบสโมสแบบ ข. และเครื่องแบบสโมสร แบบ ค.

การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปรับปรุงใหม่ 2562 5

ข. ลูกจ้างประจำ

เครื่องแบบปฏิบัติงาน

๒. เครื่องแบบพิธีการ มี ๓ ประเภท คือ

๑.๑ เครื่องแบบปกติขาว

๑.๒ เครื่องแบบครึ่งยศ

๑.๓ เครื่องแบบเต็มยศ

ค. พนักงานราชการ

เครื่องแบบปฏิบัติงาน

๒. เครื่องแบบพิธีการ มี ๓ ประเภท คือ

๑.๑ เครื่องแบบปกติขาว

๑.๒ เครื่องแบบครึ่งยศ

๑.๓ เครื่องแบบเต็มยศ

ลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์

การจัดลำดับเกียติของเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญราชอิสริยาภรณ์ จะเรียงตามประเภท ตระกูลหรือชั้นตราตามลำดับ เพื่อประโยชน์ที่ผู้ได้รับพระราชทานจะใช้เป็นหลักในการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน ตลอดจนเพื่อการอื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสม กล่าวคือ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับเครื่องราชสริยาภรณ์โดยเรียงตามลำดับ ดังนี้

๑. เครื่องราชอิสริยาภรณ์

๑.๑ ราชมิตราภรณ์
๑.๒ มหาจักรีบรมราชวงศ์
๑.๓ นพรัฒนราชวราภรณ์
๑.๔ ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ
๑.๕ รัตนวราภรณ์
๑.๖ ปฐมจุลจอมเกล้า
๑.๗ รามาธิบดี ชั้นที่ ๑ (เสนางคะบดี)
๑.๘ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
๑.๙ มหาวชิรมงกุฎ
๑.๑๐ ประถมาภรณ์ช้างเผือก
๑.๑๑ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
๑.๑๒ ปฐมดิเรกคุณาภรณ์
๑.๑๓ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
๑.๑๔ รามาธิบดี ชั้นที่ ๒ (มหาโยธิน)
๑.๑๕ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
๑.๑๖ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
๑.๑๗ ทุติยดิเรกคุณาภรณ์
๑.๑๘ ทุติยจุลจอมเกล้า
๑.๑๙ รามาธิบดี ชั้นที่ ๓ (โยธิน)
๑.๒๐ วัลลภาภรณ์
๑.๒๑ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
๑.๒๒ รามาธิบดี ชั้นที่ ๔ (อัศวิน)
๑.๒๓ ตริตาภรณ์ช้างเผือก
๑.๒๔ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
๑.๒๕ ตติยดิเรกคุณาภรณ์
๑.๒๖ รามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ
๑.๒๗ ตติยจุลจอมเกล้า
๑.๒๘ จัตรถาภรณ์ช้างเผือก
๑.๒๙ จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
๑.๓๐ จตุตถดิเรกคุณาภรณ์
๑.๓๑ ตติยานุจุลจอมเกล้า
๑.๓๒ จตุตถจุลจอมเกล้า
๑.๓๙ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
๑.๓๔ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
๑.๓๕ เบญจมดิเรกคุณาภรณ์
๑.๓๖ วชิรมาลา

๒. เหรียญราชอิสริยาภรณ์

๒.๑ เหยญบำเหน็จกล้าหาญ
๒.๑.๑ เหรียญรามมาลา เข็มกล้ากลางสมร
๒.๑.๒ เหรียญรามมาลา
๒.๑.๓ เหรียญกล้าหาญ หรือเหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ
๒.๑.๔ เหรียญชัยสมรภูมิ
๒.๑.๕ เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๑
๒.๑.๖ เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๒ ประเภทที่ ๑
๒.๑.๗ เหรียญราชนิยม*
๒.๑.๘ เหรียญปราบฮ่อ*
๒.๑.๙ เหรียญงานพระราชสงครามยุโรป*
๒.๑.๑๐ เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ*
๒.๑.๑๑ เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๒ ประเภทที่ ๒
๒.๑.๑๒ เหรียญศานติมาลา*

พระองค์*
๒.๒ เหรียญบำเหน็จในราชการ
๒.๒.๑ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน หรือเข็มศิลปวิทยา
๒.๒.๒ เหรียญช่วยราชการเขตภายใน*
๒.๒.๓ เหรียญราชการชายแดน
๒.๒.๔ เหรียญทองช้างเผือก
๒.๒.๕ เหรียญทองมงกุฎไทย
๒.๒.๖ เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์
๒.๒.๗ เหรียญเงินข้างเผือก
๒.๒.๘ เหรียญเงินมงกุฎไทย
๒.๒.๙ เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์
๒.๒.๑๐ เหรียญจักรมาลา หรือเหรียญจักรพรรดิมาลา
๒.๒.๑๑ เหรียญศารทูลมาลา*
๒.๒.๑๒ เหรียญบุษปมาลา*
๒.๒.๑๓ เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ ๑
๒.๒.๑๔ เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ ๒
๒.๒.๑๕ เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ ๓
๒.๒.๑๖ เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ ๑
๒.๒.๑๗ เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ ๒
๒.๒.๑๘ เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ ๓
๒.๓ เหรียญบำเหน็จในพระองค์พระมหากษัตริย์
๒.๓.๑ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔*
๒.๓.๒ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕ หรือเหรียญดุษฎีมาลาเข็มราชการใน
๒.๓.๓ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๖*
๒.๓.๔ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๗*
๒.๓.๕ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๘*
๒.๓.๖ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๙
๒.๓.๗ เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ ๕*
๒.๓.๘ เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ ๖*
๒.๓.๙ เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ ๗*
๒.๓.๑๐ เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ ๙

๒.๔ เหรียญที่พระราชทานเป็นที่ระลึก (ประชาชนทั่วไปสามารถจัดหามาประดับได้)

๒.๔.๑ เหรียญสตพรรษามาลา*
๒.๔.๒ เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา*
๒.๔.๓ เหรียญประพาสมาลา*
๒.๔.๔ เหรียญราชินี*
๒.๔.๕ เหรียญทวีธาภิเศก*
๒.๔.๖ เหรียญรัชมงคล*
๒.๔.๗ เหรียญรัชมังคลาภิเศก*
๒.๔.๘ เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๖*
๒.๔.๙ เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๗*
๒.๔.๑๐ เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๙**
๒.๔.๑๑ เหรียญชัย*
๒.๔.๑๒ เหรียญเฉลิมพระนคร ๑๕๐ ปี*
๒.๔.๑๓ เหรียญงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ
๒.๔.๑๔ เหรียญที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป
๒.๔.๑๕ เหรียญรัชดาภิเษก
๒.๔.๑๖ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
๒.๔.๑๗ เหรียญสนองเสรีชน*
๒.๔.๑๘ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
๒.๔. ๑๙ เหรียญที่ระลึกสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี
๒.๔.๒๐ เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระชนมาย ๕๐ พรรษา
๒.๔.๒๑ เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระชนมายุ ๘๔ พรรษา
๒.๔.๒๒ เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช มหามงคลสมัยพระราชพิธีเฉลิมพระชนมายุ ๖๐ พรรษา
๒.๔.๒๓ เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาภูมิพล อดุลยเดช มหามงคลสมัยพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก
๒.๔.๒๔ เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ
๒.๔.๒๕ เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาภูมิพล อดุลยเดช มหามงคลสมัยพระราชพิธีกาญจนาภิเษก
๒.๔.๒๖ เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาภูมิพส อดุลยเดช เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ
๒.๔.๒๗ เหรียญกาชาดสรรเสริญ
๒.๔.๒๘ เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๑**
๒.๔.๒๙ เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๒*
๒.๔.๓๐ เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๓**

* เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่พ้นสมัยการพระราชทานแล้ว ทายาทไม่สามารถนำมาประดับได้

** ประดับได้เฉพาะผู้ได้รับพระราชทาน

*** ประดับได้เฉพาะผู้ได้รับตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย

การประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

การแต่งเครื่องแบบและการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต้องเป็นไปตามหมายกำหนดการที่สำนักพระราชวังระบุ หรือตามกำหนดนัดหมายของทางราชการระบุ โดยพิจารณาความเหมาะสมหลายประการประกอบกันแล้ว เช่น ความเหมาะสมด้านสถานที่ พิธีการ (เป็นการเข้าเฝ้าฯ ตามปกติหรือวาระพิเศษ) หรือบุคคล (เป็นงานพระราชทานเพลิงศพผู้ใด) เป็นต้น

การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ปฏิบัติ ดังนี้

การประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปรับปรุงใหม่ 2562

ตัวอย่าง การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญราชอิสริยาภรณ์ของสตรี ที่ได้รับพระราชทาน และยังไม่เคยได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ กรณีแต่งเครื่องแบบเต็มยศและครึ่งยศ

การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปรับปรุงใหม่ 2562 6
การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปรับปรุงใหม่ 2562 7

ขอบคุณที่มา : สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (soc.go.th)

รายละเอียดเพิ่มเติม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่