กบข.ย้ำชัด!! ข้าราชการทุกคน ยังมีสิทธิ์รับเงินบำนาญ
วารสาร กบข. ฉบับเดือน มีนาคม 2564 ได้นำเสนอบทความ “ข้าราชการทุกคน ยังมีสิทธิิ์รับเงินบำนาญ” เป็นการไขข้อข้องใจ ว่า“ข้าราชการบรรจุใหม่ไม่ได้ รับบํานาญแล้ว” จริงหรือไม่ บทความนี้ ครูอาชีพดอทคอมนำ เรื่องราวน่าสนใจมาฝากกันครับ
ซึ่งทาง กบข. ได้ยืนยัน ว่า ข้าราชการทุกคนมีสิทธิ์รับบำนาญ ไม่ว่าจะบรรจุเข้ารับราชการในปีไหน ก็ยังคงมีสิทธิ์เลือกได้ว่า เมื่อเกษียณอายุราชการ หรือออกจากราชการ จะเลือกรับ “บำเหน็จ” หรือ “บำนาญ” จากกรมบัญชีกลาง โดยการเลือกรับบำนาญมีเงื่อนไขที่ต้องจดจำเพียงแค่ 2 กรณี
1. อายุราชการ 25 ปี ขึ้นไป ออกจากรายการด้วยเหตุลาออก ให้ออก หรือปลดออก
2. มีอายุตัว 50 ปี ขึ้นไป และมีอายุราชการ 10 ปี ขึ้นไป ออกจากราชการด้วยเหตุเกษียณ สูงอายุ ทุพพลภาพ หรือทดแทน
เงิน กบข. ตามสิทธิบําเหน็จบํานาญ เงิน กบข. ที่สมาชิกจะได้รับคืน ขึ้นอยู่กับสิทธิการรับบําเหน็จ บํานาญ
– หากสมาชิกเลือกรับบำนาญจากกรมบัญชีกลาง จะได้รับเงิน กบข. คืนทุกก้อน ทั้งเงินสะสมของตนเอง (เงินสะสมตามกฎหมาย 3% และเงินออมเพิ่มตามความสมัครใจ 1-12%) เงินสมทบ 3% และเงินชดเชย 2% จากรัฐ และเงินประเดิม (กรณีที่สมาชิกบรรจุเข้ารับราชการก่อนวันที่ 27 มี.ค. 40 จะมีเงินก้อนนี้) ซึ่งสมาชิกจะได้รับเงินคืนทั้งหมด พร้อมเงินส่วนผลตอบแทนที่ กบข. นำไปลงทุนให้
– ส่วนสมาชิกที่เลือกรับบำเหน็จ จะได้รับเงิน กบข. คืน ในส่วนของเงินสะสมของตนเอง และเงินสมทบจากรัฐ พร้อมเงินส่วนผลตอบแทนที่ กบข. นำไปลงทุนให้
พร้อมดอกผลของเงิน ทั้ง 2 ก้อน โดยเงินประเดิม และเงินชดเชยจากรัฐ เป็นการชดเชยส่วนต่าง ให้กับสมาชิก กบข. เนื่องจากสูตรการคํานวณบํานาญ ระหว่างสมาชิก กบข. และข้าราชการที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข. ต่างกัน
อ่านวารสาร กบข. ฉบับเดือน มีนาคม 2564ฉบับเต็มคลิกที่นี่