ดาวน์โหลดคู่มือครูและผู้ปกครองการเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ดาวน์โหลดคู่มือครูและผู้ปกครองการเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ความหมายและองค์ประกอบของ ทักษะ สมอง EF

ปัจจุบันมีนักวิชาการไทยที่ได้ศึกษาเรื่องทักษะสมอง EF อย่างจริงจังและได้ให้ความหมายของทักษะ สมอง EF ที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ดังนี้ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร จากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดลให้คำนิยามว่า EF คือ กระบวนการทำงางานของสมองระดับสูง ที่ประมวลประสบการณ์ในอดีต และสถานการณ์ในปัจจุบัน มาประเมิน วิเคราะห์ ตัดสินใจ วางแผน เริ่มลงมือทำ ตรวจสอบตนเองและแก้ไขปัญหา ตลอดจนควบคุมอารมณ์ บริหารเวลา จัดความสำคัญ กำกับตนเอง และมุ่งมั่นทำ จนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้สถาบัน RLG (Rakluke Learning Group) ได้จัดการความรู้ร่วมกับนักวิชาการที่ศึกษาค้นคว้าเรื่อง EF และให้คำนิยามอย่างกระชับว่า “EF คือความสามามารถของสมอง ในการกำกับความคิด กำกับความรู้สึกและกำกับการกระทำ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย” และได้แยกแยะองค์ประกอบของ EF ออกเป็น 9 ด้าน (domain)โดยจัดเป็น 3 กลุ่มทักษะ ดังนี้

  1. กลุ่มทักษะพื้นฐาน ได้แก่
    1.1 ความจำเพื่อใช้งาน คือความสามารถในการจำข้อมูลในขณะประมวลผลข้อมูล
    1.2 การยั้งคิดไตร่ตรอง คือความสามารถในการหยุดพฤติกรรมตนเองในเวลาที่เหมาะสม
    1.3 การยึดหยุ่นความคิด คือความสามารถในการปลี่ยนวิธีคิดเมื่อเงื่อนไขเปลี่ยน
  2. กลุ่มทักษะกำกับตนเอง ได้แก่
    2.1 การจดจ่อใส่ใจ คือความสามารถในการคิด สนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วงเวลาต่อเนื่อง
    2.2 การควบคุมอารมณ์ คือความสามารถในการจัดการกับอารมณ์และแสดงเป็นพฤติกรรมที่เหมาะสม
    2.3 การติดตามประเมินตนเอง คือความสามารถในการทบทวนความคิดความรู้สึกและผลงานของตนเอง
  3. กลุ่มทักษะปฏิบัติ ได้แก่
    3.1 การริเริ่มและลงมือทำ คือความสามารถในการลงมือทำงานด้วยตนเอง
    3.2 การวางแผนจัดระบบดำเนินการคือความสามารถในการวางแผนจัดการบริหารดำเนินการ
    3.3 การมุ่งเป้าหมาย คือ ความพากเพียร มุ่งมั่นทำงานจนบรรลุเป้าหมาย
ดาวน์โหลดคู่มือครูและผู้ปกครองการเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ขอบคุณที่มา : ห้องสอนเสริมบัญชี ค. BY ครูเด่นนที

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่