ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์

ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์

สพฐ.จัดทำระบบประมวลผลและจัดการ ปพ.3 ปพ.3 ออนไลน์ ระบบการรายงาน ตรวจสอบ และจัดเก็บแบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปพ.3) เป็นหลักฐานสำหรับอนุมัติการจบการศึกษาตามหลักสูตรของผู้เรียนในแต่ละรุ่นโดยบันทึกรายงานชื่อและข้อมูลของผู้จบการศึกษา ระดับประถมศึกษา (ป.๖) ผู้จบการศึกษาภาคบังคับ (ม.๓) ผู้จบการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลั่กสูตร (ม.๖) เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำหรับการตัดสินและอนุมัติผลการเรียนให้เป็นผู้สำเร็จการศึกษาและใช้ในการตรวจสอบ ยืนยัน และรับรองความสำเร็จและวุฒิการศึกษาของผู้สำเร็จการศึกษาแต่ละคน

ข้อกำหนดของเอกสาร ป.พ. 3

มีดังนี้

๑. เป็นเอกสารสำหรับรายงานข้อมูลผู้สำร็จหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่ละระดับการศึกษาได้แก่ ระดับประถมศึกษา (ป.๖) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓) และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖)

๒. ให้สถานศึกษาใช้แบบพิมพ์เอกสารตามรูปแบบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

๓. ให้สถานศึกษาจัดทำเอกสารนี้สำหรับระดับประถมศึกษา (ป.๖) จำนวน ๒ ชุด โดยเก็บรักษาไว้ที่สถานศึกษา ๑ ชุด ส่งเก็บที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน ๑ ชุด สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓)และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้สถานศึกษาจัดทำ จำนวน ๓ ชุด โดยเก็บรักษาไว้ที่สถานศึกษา ๑ ชุด ส่งเก็บรักษาที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน ๑ ชุด และส่งเก็บรักษาที่กระทรวงศึกษาธิการอีก ๑ ชุด ชุดที่เก็บรักษาที่กระทรวงศึกษาธิการถือเป็นเอกสารต้นฉบับ ทั้งนี้ให้จัดทำเป็นฉบับตัวจริงในแบบ ปพ.๓ ที่ซื้อจาก สกสค. ด้วยตัวพิมพ์หรือลายมือให้เหมือนกันทุกชุดโดยไม่ใช้การถ่ายเอกสาร

๔. สถานศึกษาและหน่วยงานที่จัดเก็บรักษาเอกสารนี้ จะต้องดูแลรักษาเอกสารอย่าให้ชำรุดเสียหายสูญหาย หรือข้อมูลถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็นอันขาด และต้องเก็บรักษาไว้ในสถานศึกษาที่ที่มีความปลอดภัยไว้ตลอดไป เพื่อความสะดวกในการค้นหาข้อมูลในเอกสารนี้ไว้ในรูปของ ซีดีรอม หรือเทคโนโลยีอื่นใดอีกทางหนึ่งก็ได้

๕. สถานศึกษาจะต้องจัดส่งเอกสารที่จัดทำเรียบร้อยแล้วไปให้หน่วยงานที่กำหนดภายในเวลา ๓๐วัน หลังจากผู้เรียนได้รับการอนุมัติให้สำเร็จการศึกษา การจัดส่งเอกสารไม่ตรงกับเวลาหรือล่าช้าถือว่าเป็นความบกพร่องต่อหน้าที่ของผู้รับผิดชอบ

การสั่งซื้อ ควบคุม และการจัดเก็บรักษาแบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา (ปพ.๓)

แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา (ปพ.๓) เป็นหลักฐานที่โรงเรียนทุกแห่งทุกสังกัดในระดับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะต้องดำเนินการจัดทำให้เป็นแนวทางเดียวกัน โรงเรียนสามารถสั่งซื้อโดยตรงได้ที่องค์การค้าของ สกสค. โดยหัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดซื้อวิธีการตรวจสอบความถูกต้องของรายงานที่กรอกใน ปพ.๓

๑. ใช้แบบพิมพ์ที่จัดซื้อจาก องค์การค้า สกสค. พิมพ์ด้วยหมึก Prit ชนิดพ่นหรือหัวฉีดสีดำหรือเขียนด้วยหมึกซึม/หมึกเจลสีดำ ตัวหนังสือคมชัด (ห้ามใช้ปากกาลูกลื่นสีดำ) เป็นระเบียบ อ่านง่าย ตัวเลขที่เขียนหรือพิมพ์ควรเป็นเลขฮินดูอารบิก เพื่อสะดวกในการตรวจสอบและจัดทำเอกสารทางการศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ

๒. กรอก ปพ.๓ โดยใช้แผ่น ปพ.๓ ด้านหน้า (๑0 คน) ซึ่งมีตราครฑสีดำเป็นที่สังเกตและด้านหลัง (๑๔ คน) แล้วจึงเริ่มแผ่นต่อไปในลักษณะเดียวกัน กรณีนักเรียนจบในหน้าที่ ๑ ไม่ถึง ๑๐ คน ในแบบพิมพ์ชนิดคอมพิวเตอร์ ต้องมีช่องตารางตามฟอร์ม ทั้งหมด ๑๐ ช่องใหญ่ และหน้าที่ ๒ ต้องมีตาราง ๑๔ ช่องใหญ่เสมอ

๓. “หน้า” กรอกเลขลำดับ จากหน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้ายของจำนวนหน้า ปพ.๓ ที่กรอกข้อมูลผู้ที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละครั้งหรือแต่ละรุ่นที่อนุมัติการจบหลักสูตร

๔. “สำเร็จการศึกษาภาคเรียนที่ ………….ปีการศึกษา………………กรอกภาคเรียนโดยระบุว่าเป็นภาคเรียนที่ ๑ หรือ ๒ (รวมภาคเรียนฤดูร้อน ปีการศึกษาให้เขียนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.๒๕๔๙ ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับการกรอก ปพ.๓ ซึ่งสรุปว่าในรอบปีการศึกษาหนึ่ง วันเริ่มต้นปีการศึกษา คือวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ของ พ.ศ.หนึ่ง จนถึง วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ของ พ.ศ.ถัดไป สถานศึกษาสามารถอนุมัติการจบการศึกษาได้ตลอดปีที่มีผู้จบการศึกษา จึงมีทั้งผู้จบการศึกษาใน
รุ่นปกติ และไม่พร้อมรุ่น สามารถพิจารณาได้ ดังนี้

๔.๑ การอนุมัติจบการศึกษาพร้อมรุ่นสถานศึกษาอนุมัติจบการศึกษารุ่นปกติในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี เป็นการจบการศึกษาในภาคเรียนที่ ๒ ของปีการศึกษา
๔.๒ การอนุมัติจบการศึกษาไม่พร้อมรุ่นผู้เรียนที่มีคุณสมบัติยังไม่ครบตามเกณฑ์การจบการศึกษาในรุ่นปกติ จำเป็นต้องเรียนต่อเพื่อให้จบหลักสูตร หรือต้องแก้ไขผลการเรียน เนื่องจากสอบไม่ผ่านหรือด้วยเหตุจำเป็นบางประการ และเมื่อได้เปลี่ยนผลการเรียนหรือเรียนช้ำตามกรณี และมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์การจบการศึกษาแล้ว สถานศึกษาสามารถอนุมัติจบการศึกษาให้ผู้เรียนได้ตลอดปีที่มีผู้จบการศึกษาจริงโดยไม่ต้องรอจนถึงปลายภาคหรือปลายปีการศึกษา ตามช่วงเวลาของภาคเรียนที่ ๑ และภาคเรียนที่ ๒ ดังนี้

๑) ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคมของทุกปี (๑ พฤศจิกายน – ๓๑ มีนาคม) เป็นการจบการศึกษาในภาคเรียนที่ ๒
๒) ช่วงเดือนเมษายนของทุกปี (๑-๓0 เมษายน) หรือภาคฤดูร้อน เป็นการจบ การศึกษาในภาคเรียนที่ ๒
๓) ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี (๑-๑๕ พฤษภาคม) เป็นการจบการศึกษาในภาคเรียนที่ ๒
๔) ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี (๑๖ พฤษภาคม – ๓๑ ตุลาคม)เป็นการจบการศึกษาในภาคเรียนที่ ๑

ตารางตัวอย่างการระบุภาคเรียนและปีการศึกษาที่อนุมัติจบการศึกษา

ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์
ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์ 7

ดังนั้น ผู้สำเร็จการศึกษาในช่วงตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ที่ตกรุ่นมาจากรุ่นที่แล้วจะได้รับการอนุมัติจบหลักสูตรในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ภาคเรียนฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่วันปิดภาคเรียนที่สอง (๑ เมษายน) จนถึงวันก่อนเปิดภาคเรียนที่หนึ่ง (๑๕ พฤษภาคม) ซึ่งภาคเรียนฤดูร้อนนับเป็นการเรียนในช่วงเวลาของภาคเรียนที่ ๒

๕. “โรงเรียน .ตำบล/แขวง. .อำเภอ/เขต. .จังหวัด” กรอกให้ถูกต้องครบถ้วนชัดเจนตรงบรรทัด
๖. “ลำดับที่. .” กรอกเลขลำดับ ๑,๒,๓. .จากน้อยไปมาก ของผู้จบหลักสูตรเรียงลำดับจากคนแรกถึงคนสุดท้ายของการอนุมัติการจบหลักสูตรแต่ละครั้ง
๗. “เลขประจำตัวนักเรียน” เรียงลำดับเลขที่ จากน้อยไปหามาก ตามเลขที่ในทะเบียนนักเรียนเลขประจำตัวประชาชนให้ลงตามทะเบียนบ้าน (ทร.๑๔) ดังนี้ ๓ ๖๓๐๕ ๐๐๐๒๕๒ ๒๕ ๕ ไม่ต้องขีด –
๘. “ชุดที่ ปพ.๑. เลขที่ ปพ.๑ .เลขที่การศึกษาแต่ละคนมากรอกลงใน ปพ.๓ ให้ถูกต้องตรงกันทุกราย โดยชุดที่ต้องเป็นเลข ๕ หลัก เช่น ชุดที่ ( นำเลข” ชุดที่. .จากปพ.ดของผู้ที่สำเร็จ ๐๐๐๐๗ เลขที่ ปพ.ด ต้องเป็นเลข ๖ หลัก เช่น ๐๕๖๒๓๑
๙.”เลขที่ ปพ.๒:บ” ใน ปพ.ต ระดับ ม.๓ และม.๖ กรอกเลขที่ตามลำดับ ๑,๒,๓.. ..โดยเริ่มจากคนแรกเป็นเลขที่ ๑ จนถึงคนสุดท้ายของการอนุมัติการจบหลักสูตรในแต่ละครั้งหรือแต่ละรุ่น การอนุมัติแต่ละครั้งให้ขึ้นเลขที่ ๑ ใหม่ทุกครั้ง และเลขที่ประกาศนียบัตร จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนผู้จบการศึกษาไม่ต้องมีเลข ๐ นำหน้า และไม่มี/พ.ศ.ตามหลัง
๑๐ .”ชื่อ ชื่อสกุล” ของนักเรียนและบิดาต้องกรอกให้ถูกต้องชัดเจน คำนำหน้านาม ฐานันดรศักดิ์ราชทินนาม ศ ให้ใช้คำเต็ม เช่น เด็กชาย เด็กหญิง นาย นางสาว หม่อมหลวง ร้อยตำรวจโท เป็นต้น

๑๑. นักเรียนที่มีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ (โดยนับจากวัน เดือน ปีเกิด ถึงวันอนุมัติการจบหลักสูตร)จะต้องเปลี่ยนคำนำหน้านามจากเด็กชาย……เด็กหญิง เป็น นาย. ..นางสาว การพิมพ์คำนำหน้าให้พิมพ์ตัวเต็มและติดกันไม่เว้นารรค เช่น เด็กชายวสุ ใจภูผา
๑๒. “วัน เดือน ปีเกิด” จะต้องพิมพ์หรือเขียนเต็ม เช่น “๒๐ เมษายน ๒๕๔๕”
๑๓. หากนักเรียนที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎรหรือมีแต่ไม่ครบถ้วนทำให้การกรอกข้อมูลไม่สมบูรณ์ ให้ขีดเครื่องหมาย – ห้ามกรอกชื่อบิดาบุญธรรมหรือมารดาบุญธรรม หรือผู้ที่มิใช่บิดา มารดา ผู้ให้กำหนดผู้เรียน และต้องมีหัวหน้าสถานศึกษาบันทึก ด้วยหมึกสีแดงและลงลายมือชื่อรับรอง ข้อความในช่อง หมายเหตุว่า “ไม่มีหลักฐานตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร”
๑๔. ช่อง “สรุปผลการเรียน. ” ประกอบด้วย “หน่วยการเรียนที่เรียน” และ “หน่วยการเรียนที่ได้” ต้องกรอกแต่ละช่องให้ชัดเจนและถูกต้องตรงตาม ปพ. และเป็นไปตามเกณฑ์การจบหลักสูตร (ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์การจบหลักสูตรที่โรงเรียนกำหนด) กรณีการโอนผลการเรียนมาจากที่อื่น ต้องนำมารวมในช่องสรุปผลการเรียนด้วย
๑๕. “ช่องหมายเหตุ” มีไว้สำหรับบันทึกรายละเอียดการแก้ไขเปลี่ยนแปลง รายการใน ปพ.๓ เช่น กรณีการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลระหว่างเรียน ต้องระบุชื่อ ชื่อสกุลเดิมไว้ด้วย
๑๖. “จำนวนนักเรียนที่จบตามหลักสูตร” โรงเรียนจะต้องกรอกยอดรวมของจำนวนนักเรียนที่จบหลักสูตรทั้งหมดของการอนุมัติการจบหลักสูตรแต่ละครั้ง/แต่ละรุ่น ในช่องที่ระบุ ชาย หญิง และรวมในทุกแผ่นและจะเป็นตัวเลขตรงกันทุกแผ่น
๑๗. “ผู้เขียน/ผู้พิมพ์ ผู้ทาน ผู้ตรวจ นายทะเบียน” ต้องลงลายมือชื่อ (ลายเซ็น) ให้ครบทุกแผ่นด้วยปากกาหมึกสีดำหรือน้ำเงิน ไม่ใช้ปากกาลูกลื่นสีดำ ผู้เขียนและผู้ทาน ผู้ตรวจควรเป็นคนละคนกัน
๑๘. “วันอนุมัติการจบหลักสูตร” สำหรับวัน .เดือน. ..พ.ศ. .ให้กรอก วันที่ เดือน และปี พ.ศ.ที่อนุมัติการจบหลักสูตรให้เต็ม เช่น วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖ㆍ ในช่องนี้ และให้ดูวันด้วยว่าไม่ตรงกันกับวันหยุดราชการห้ามกรอกวันเดือนปี อื่น “ ลงไป หากจัดทำ ปพ.๓ เสร็จสิ้นภายหลังให้กรอก วันเดือนปี ย้อนกลับไปซึ่งเป็นวันเดือนปีที่อนุมัติการจบหลักสูตรเท่านั้น

……………………..บรรทัดให้ลงลายมือชื่อของผู้อนุมัติการจบหลักสูตร
(……………………)ให้กรอกชื่อและชื่อสกุลเต็มของผู้อนุมัติการจบหลักสูตรและระบุตำแหน่งของผู้อนุมัติการจบหลักสูตร
๑๙. “วันที่……เดือน……..พ.ศ……. .อนุมัติการจบหลักสูตร” จะต้องกรอกให้ถูกต้องตามความเป็นจริง สถานศึกษาจะต้องอนุมัติการจบทันทีหลังจากที่ได้ป ระเมินผลการเรียนจนนักเรียนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์การจบหลักสูตรแล้ว หากโรงเรียนกรอกวันอนุมัติไม่ถูกต้อง อนุมัติล่าช้า หรือวันอนุมัติการจบหลักสูตรซ้ำซ้อนกันหลายฉบับ ต้องส่งไปให้แก้ไขให้ถูกต้อง
๒๐. การแก้ไขข้อผิดพลาดใน ปพ. ผู้อนุมัติการจบหลักสูตรจะต้องขีดฆ่าด้วยหมึกแดงและเขียนใหม่ด้วยหมึกแดงเท่านั้น แล้วลงลายมือชื่อรับรองทุกแห่งด้วยหมึกสีดำ
๒๑. ข้อมูลที่มีข้อความซ้ำกัน ให้กรอกทุกบรรทัดไมใช้บุพสัญญา (“)
๒๒. เมื่อกรอกข้อมูลใน ปพ.๓ ครบถ้วนตามจำนวนของนักเรียนที่จบหลักสูตรแล้ว โรงเรียนจะต้องขีดเส้นแดงใต้ชื่อนักเรียนคนสุดท้ายกลางช่องไฟใต้ชื่อนักเรียนคนสุดท้ายโดยไม่เว้นบรรทัด เพื่อมิให้มีการเติมข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเพิ่มเข้าไป แล้วให้ผู้อนุมัติลงลายมือชื่อกำกับใต้เส้นแดงด้วยหมึกซึมสีดำอีกครั้งหนึ่ง

การเข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์

ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์

รวมลิงก์ปพ.3 ออนไลน์

เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ https://gpa.obec.site/login

คลิปวีดิโอสาธิต สพฐ. การประชุมเชิงปฏิบัติการและสาธิตการใช้งานระบบ ปพ.3 ออนไลน์
https://www.facebook.com/obectvonline/videos/671992671952591

ดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน : https://bit.ly/gpa-online-OBEC

คู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์

1. เปิดบราวเชอร์ สำหรับเข้าสู่อินเตอร์เน็ต เช่น Microsoft Edge, Chrome, Firefox ฯลฯ

2. ที่ Address Bar (ช่องสำหรับกรอกที่ อยู่ของเว็บ) ให้พิมพ์ https://gpa.obec.site/login? ลงไปใน Address Bar ตังภาพที่ 1

ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์ 8
  1. จากนั้นให้สถานศึกษาทําการลงทะเบียนข้อมูลนายทะเบียนของสถานศึกษาในการนําเข้าข้อมูล โดยทํา
    การคลิกที่ปุ่มสีขาวบนหน้าระบบคําว่า “สถานศึกษาลงทะเบียน”ดังภาพที่ 3
  1. เมื่อทําการคลิกที่ปุ่ม “สถานศึกษาลงทะเบียน” แล้วจะปรากฏแบบฟอร์มสําหรับลงทะเบียน
    ผู้ใช้งาน ดังภาพที่ 4

5.1 กรอกเลขบัตรประจําตัวประชาชนของนายทะเบียนของสถานศึกษา
5.2 กรอกอีเมลของนายทะเบียนสถานศึกษา
5.3 กรอกเบอร์โทรศัพท์มือถือ 10 หลัก (ต้องเป็นเบอร์โทรศัพท์มือถือเท่านั้น)
5.4 กรอกรหัสผ่านสําหรับใช้ในการเข้าสู่ระบบ โดยต้องมี ตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษ
รวมกันไม่น้อยกว่า 8 ตัวอักษรขึ้นไป

5.5 ยืนยันรหัสผ่านอีกครั้งให้ตรงกันกับรหัสผ่านที่กรอกในครั้งแรก
5.6 พิมพ์ชื่อสถานศึกษา หรือรหัสสถานศึกษา 10 หลัก จากนั้นเลือกสถานศึกษาของท่าน
5.7 รหัสสถานศึกษา จะขึ้นอัตโนมัติเมื่อดําเนินการเลือกจากรายการโรงเรียนที่แสดง
ด้านบนแล้ว
5.8 เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนเรียบร้อยให้คลิกที่ปุ่มสีม่วง “ลงทะเบียนสถานศึกษา” จากนั้น
จะแสดงข้อความ “ยินดีต้อนรับ คุณได้ลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังภาพที่ 5

  1. หากมีการลงทะเบียนข้อมูลของนายทะเบียนของสถานศึกษาไปแล้วจากนั้นจะแสดงข้อความ
    “ลงทะเบียนสถานศึกษาไม่สําเร็จ” ดังภาพที่ 6

6.1 ระบบจะมีการแจ้งเตือน Error ในการกรอกข้อมูลในส่วนต่างๆ ดังภาพที่ 6 โดยอธิบาย
ได้ดังนี้

  • The username field must contain a unique value. หมายถึงตรวจ
    พบการกรอกหมายเลขบัตรประชาชนซ้ํา
  • The email field must contain a unique value. หมายถึงตรวจพบ
    การกรอกอีเมลซ้ํา
  • รหัสผ่านจะต้องไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งในข้อมูลส่วนตัว หมายถึง การกําหนด รหัสผ่าน
    จะต้องไม่มีข้อมูลที่อยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของแบบฟอร์ม
  • The pass_confirm field does not match the password field หมายถึง
    ตรวจพบการกรอกข้อมูลที่กรอกในช่อง ยืนยันรหัสผ่าน ไม่ตรงกับ รหัสผ่าน ที่ตั้ง
  1. นายทะเบียนลงทะเบียนสําเร็จตามข้อที่ 5.8 โปรดประสานเจ้าหน้าที่เขตพื้นที่หรือต้นสังกัดอนุมัติ
    นายทะเบียน
  2. หากประสานเจ้าหน้าที่เขตพื้นที่หรือต้นสังกัดอนุมัตินายทะเบียนเรียบร้อยแล้ว สามารถเช้าใช้งาน
    ระบบ ปพ.3 ออนไลน์ ตามที่ได้สมัครลงทะเบียนเป็นสมาชิกในระบบเรียบร้อยแล้ว และทําการกรอกข้อมูลตาม
    รายละเอียด ดังภาพที่ 7
ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์ 9
  1. หากข้อมูลในการเข้าสู่ระบบถูกต้องระบบจะแสดงหน้าข้อมูลผู้ใช้ โดยให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลผู้ใช้
    ดังภาพที่ 9 ให้ครบถ้วนจากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม “บันทึก” เพื่อทํางานในขั้นตอนต่อไป

คู่มือการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) ผ่านระบบ ปพ.3 ออนไลน์

…ขั้นตอนการเข้าใช้งานระบบ

  1. เปิดบราวเซอร์ สําหรับเข้าสู่อินเตอร์เน็ต เช่น Microsoft Edge, Chrome, Firefox ฯลฯ
  2. ที่ Address Bar (ช่องสําหรับกรอกที่อยู่ของเว็บ) ให้พิมพ์ https://gpa.obec.go.th หรือ
    https://gpa.obec.site/login ลงไปใน Address Bar ดังภาพที่

…ขั้นตอนการเพิ่มคณะกรรมการวิชาการ

  1. ให้คลิกที่เมนูด้านซ้ายมือ “คณะกรรมการวิชาการ” ดังภาพที่ 5
  2. จะปรากฏหน้า “กําหนดคณะกรรมการวิชาการ”.
  3. เพิ่มภาพลายมือชื่อของนายทะเบียนสถานศึกษา คลิกที่ปุ่ม “แก้ไข/อัปโหลด”
  4. ระบบจะแสดงหน้าแก้ไข/อัปโหลด
ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์ 10

เพิ่มข้อมูลผู้ทาน/ผู้ตรวจ คลิกที่ปุ่ม “ลงทะเบียนผู้ทาน/ผู้ตรวจ”

ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์ 11

ดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน : https://bit.ly/gpa-online-OBEC

ขอบคุณที่มา :: สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. (obec.go.th)

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่