วิธีการรับรองวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices Accreditation System)

วิธีการรับรองวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices Accreditation System)

สถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ (สวร.)ได้พัฒนากระบวนการหรือเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการคุณภาพ สถานศึกษา   ที่รู้จักกันในชื่อของ “ToPSTAR” โดยมีแนวคิดพื้นฐาน 3 ประการ คือ 1) แนวคิดเชิงระบบ (System thinking) ซึ่งใช้ในการวิเคราะห์องค์กรและออกแบบการบริหารจัดการคุณภาพเชิงระบบในระบบย่อย ต่าง ๆ ของสถานศึกษา 2) แนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic thinking) ใช้ในการวางแผนในการประกันคุณภาพ(QA) และการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (CQI) เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กร และ 3) แนวคิดการเรียนรู้และทำงานเป็นทีม (Team Learning)

ผลจากการใช้เครื่องมือในการจัดการคุณภาพอย่างหนึ่ง คือ สถานศึกษาได้ค้นพบวิธีปฏิบัติที่ตนเองเกิดความรู้สึกว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง มีความชื่นชม ภาคภูมิใจในวิธีปฏิบัติและผลลัพธ์ที่เกิดจากการปฏิบัตินั้น เป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นนวัตกรรม สามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้เกี่ยวข้อง สมารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาให้กับสถานศึกษาอื่นๆได้ วิธีปฏิบัติของสถานศึกษานี้เรียกว่า วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ :Best Practices นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ best practice

พันธกิจสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งที่สถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ดำเนินการอยู่ คือ การส่งเสริม แสวงหา และจัดระบบการให้การรับรอง เพื่อสะสมเป็นฐานข้อมูลวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของสถานศึกษา และจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) อย่างเป็นระบบให้สถานศึกษาทั่วไปเข้ามาศึกษา เรียนรู้ เทียบระดับ (Benchmarking) วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในฐานข้อมูลของสถาบันฯ ดังกล่าว ด้วยหวังที่จะให้เกิดองค์กรหรือสังคมแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organization : LO )อย่างกว้างขวางซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ของสถาบันฯ

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) คืออะไร

American Productivity and Quality Center (อ้างใน บุญดี บุญญากิจ และกมลวรรณ ศิริพานิช,2545 : 10 -11 ให้คำจำกัดความของ Best Practices ว่า คือการปฏิบัติทั้งหลายที่สามารถก่อให้เกิดผลที่เป็นเลิศรวมความแล้ว Best Practices คือ วิธีปฏิบัติที่ทำให้องค์กรและสบความสำเร็จหรืออาจกล่าวได้ว่า คือ การปฏิบัติที่ทำให้องค์กรก้าวสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งอาจปรับสำนวนให้เกี่ยวข้องกับวงการการศึกษา ได้ว่า Best Practices เป็นวิธีการทำงานใหม่ๆ ที่สถานศึกษาเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ซึ่งนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์ที่ตอบสนองความคาดหวังของชุมชน ผู้ปกครอง และเป้าหมายของสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จ ก้าวสู่ความเป็นเลิศ

แนวทางการพิจารณา Best Practices

วิธีปฏิบัติในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่จะเรียกได้ว่าเป็น Best Practices นั้น มีแนวทางการพิจารณา 6 ข้อ ดังนี้

1)วิธีปฏิบัตินั้นดำเนินการบรรลุผลได้สอดคล้องกับความคาดหวังของชุมชนหรือผู้ปกครองที่มีต่อสถานศึกษาหรือเป็นวิธีปฏิบัติที่สร้างความพึงพอใจให้กับทุกคนในสถานศึกษา ได้

2) วิธีปฏิบัตินั้น ผ่านกระบวนการนำไปใช้อย่างเป็นวงจรจนเห็นผลอย่างชัดเจนว่าทำให้เกิดคุณภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือวิธีปฏิบัตินั้นมีกระบวนการ PDCA จนเห็นแนวโน้มของตัวชี้วัดความสำเร็จที่ดีขึ้น

3) สถานศึกษาสามารถบอกเล่าถึงวิธีปฏิบัตินั้นได้ว่า “ทำอะไร ? (what)” “ทำอย่างไร ? (how)” และ “ทำไม? จึงทำ หรือ ทำไปทำไม? (why)”

4) ผลลัพธ์จากวิธีการปฏิบัตินั้น เป็นไปตามองค์ประกอบ ข้อกำหนดของการพัฒนาคุณภาพเชิงระบบ

5) วิธีปฏิบัตินั้นสามารถระบุได้ว่าเกิดจากปัจจัยสำคัญที่ชัดเจน แะปัจจัยนั้นก่อให้เกิดการปฏิบัติที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

6) วิธีปฏิบัตินั้นใช้กระบวนการจัดการความรู้ ( KM: Knowledge Management) เช่น การเล่าเรื่อง(Storytelling) ในการถอดบทเรียนจากการดำเนินการ

กระบวนการค้นหา Best Practices ในสถานศึกษา

สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เช่นผู้ปฏิบัติงานของระบบโดยตรงที่เรียกว่าชุมชนแนวปฏิบัติ ( Community of Practices ) ผู้ประเมินคุณภาพ ศึกษานิเทศก์ หรือผู้ให้คำปรึกษาการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา สามารถคันหา Best Practices ได้โดยใช้กระบวนการ ดังนี้

1) การคันหาว่าสถานศึกษาหนึ่ง ๆ มีวิธีปฏิบัติในการพัฒนาคุณภาพอย่างไร จะต้องวิเคราะห์บริบทของสถานศึกษา ความคาดหวังของผู้ปกครอง และชุมชนรวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ว่าคาดหวังกับสถานศึกษานี้อย่างไรบ้าง

2) ค้นหาว่าสถานศึกษามีวิธีปฏิบัติดี ๆ ที่ดำเนินการได้สอดคล้องกับความคาดหวังตามข้อ (1) อย่างไรบ้าง

3) พิจารณาว่าวิธีปฏิบัติดี เหล่านั้นมีการนำไปใช้จริงอย่างครบวงจร PDCA หรือไม่ เพื่อยืนยันว่าวิธีปฏิบัติดี ๆ นั้นถูกนำไปใช้จริง และเป็น “นวัตกรรม” การทำงานของสถานศึกษาได้หรือไม่

4) ใช้กระบวนการจัดการความรู้ เช่น เรื่องเล่าเร้าพลัง (Storytelling ) ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียด-

– กำหนดเป้าหมายของการแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติ ( Knowedge Vision)

– เล่าประสบการณ์จากการปฏิบัติการ ( Knowledge Sharing)

– สรุปเป็นวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Knowledge Asset )

5) วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ บทเรียนที่สถานศึกษาได้เรียนรู้จากการดำเนินการตามวิธีปฏิบัติเหล่านั้น

องค์ประกอบของการเขียน Best Practices

Best Practices จะมีประโยชน์เมื่อถูกเผยแพรให้เกิดการเรียนรู้ของคนในสถานศึกษาหรือ ผู้เกี่ยวข้อง อื่น ๆ ดังนั้น การเขียน Best Practices เพื่อเผยแพร่นี้จึงมีความคิดเห็น ซึ่งมีองค์ประกอบและแนวในการเขียน ดังนี้

1) ความเป็นมา เป็นการเขียนเพื่อสะท้อนสิ่งที่เป็นความคาดหวังของผู้ปกครองหรือชุมชนที่มีต่อสถานศึกษา และเพื่อให้เห็นบริบทสภาพทั่วไปของสถานศึกษา

2) การพัฒนาระบบคุณภาพของสถานศึกษา การเขียนต้องสะท้อนให้เห็นต่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาดำเนินการอย่างไร เชื่อมโยงกับความคาดหวังของผู้ปกครองและชุมชนอย่างไร มีผลการประเมินทบทวน ตามตัวชี้วัดสำคัญ ด้านกระบวนการ (ควรนำเสนอในรูปตาราง เพื่อความสะดวกในการเทียบระดับ)

3) Best Practices เป็นการเสนอวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศซึ่งเป็นข้อสรุปจากกิจกรรมเรื่องเล่าเร้าพลัง ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษามีอะไรบ้าง และอธิบายว่า คืออะไร? ทำอย่างไร? และทำทำไม?

4) ผลการดำเนินการ เป็นการอธิบายผลที่เกิดขึ้นจาก Best Practices ตามตัวชี้วัดความสำเร็จว่าส่งผลดีต่อคุณภาพสถานศึกษาอย่างไรบ้าง และควรมีผลการประเมินทบทวน ตามตัวชี้วัดสำคัญ ด้านผลลัพธ์ (ควรนำเสนอในรูปตาราง )

5) ปัจจัยความสำเร็จ เป็นการนำเสนอผลการวิเคราะห์ว่า Best Practices เกิดขึ้นได้เพราะอะไรมีเงื่อนไขอะไรบ้าง มีอะไรเป็นปัจจัยในระบบที่ทำให้วิธีปฏิบัติเหล่านี้ ดำรงอยู่ได้ในระยะยาวไม่ใช่การทุ่มเทเฉพาะกิจของสถานศึกษา

6) บทเรียนที่ได้รับ เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าสถานศึกษาเรียนรู้จากการทำงานตามวิธีปฏิบัติเหล่านี้อย่างไรบ้าง อะไรเป็นเคล็ดลับที่ดำเนินได้ประสบผลสำเร็จ รวมทั้งข้อพึงระวังมีอะไรบ้าง

Best Practices ถือว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ต่อการเรียนรู้ของสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพที่จะเป็นสื่อในการเรียนรู้ หรือเป็นรูปธรรมของการเทียบเคียวคุณภาพ (Benchmarking) ของสถานศึกษาต่าง ๆ ซึ่งแนวทางที่นำเสนอนี้มาจากประสบการณ์ของนักวิจัยในโครงการ ToPSTAR ซึ่งต้องเรียนรู้และจัดการความรู้จากภาคสนามให้มีความชัดเจนและเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาต่อไป

กระบวนการรับรอง Best Practices

5.1 ขั้นตอนการรับรอง BP

กระบวนการรับรอง Best Practices ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

วิธีการรับรองวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices Accreditation System)
วิธีการรับรองวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices Accreditation System)

5.2 ตัวชี้วัดการรับรอง BP

ตัวชี้วัดการรับรอง BP ได้แก่

(1 ) ระดับคุณภาพของกรอบและเกณฑ์

(2) จำนวนโรงเรียนที่เสนอเอกสาร BP เพื่อขอรับการรับรอง

(3)สัดส่วนเอกสาร BP ที่ผ่านการประเมินเอกสาร

(4) ร้อยละของโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินภาคสนาม

(5) จำนวนโรงเรียนที่ได้รับการรับรอง BP

(6) ระดับคุณภาพของการจัดทำฐานข้อมูลและจำนวนองค์กรที่ทำการเทียบระดับ

(7) ระดับคุณภาพของรายงานผลการดำเนินงานรับรอง BP

แนวทางในการประเมิน

แนวทางในการประเมินโดยใช้เกณฑ์การประเมินวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ มีดังนี้

6.1 เกณฑ์การประเมินวิธีปฏิบัติทีเป็นเลิศเป็นเกณฑ์ที่ใช้ประเมิน Best Practices ในรูปเอกสารที่สถานศึกษานำเสนอ

6.2 ผู้ประเมินอาจสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องเพิ่มเติม หรือขอให้สถานศึกษานำเสนอด้วยวาจาเพิ่มเติมหรือไปเยี่ยมชมที่โรงเรียนก็ได้

6.3 Best Practices ที่จะได้รับการรับรองจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

6.3.1 ผลการประเมิน Best Practices ตามประเด็นการประเมินย่อย มีรายการที่ “จริง” ตามประเด็นการประเมินอยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนประเด็นการประเมินย่อยทั้งหมด (มีรายการที่ “จริง” 18 ประเด็นย่อยจากทั้งหมด 23 ประเด็นย่อย)

6.3.2 ผลการประเมิน Best Practices ตามประเด็นการประเมินหลักต้องมีรายการ “จริง” ครบทุกประเด็นการประเมินหลัก (6 ประเด็นหลัก) และแต่ละประเด็นหลักจะต้องมีรายการประเมินที่ “จริง” ตามประเด็นย่อยของแต่ละประเด็นหลักไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 เช่น ในประเด็นการประเมินหลักข้อ 1 จะต้องมีรายการ “จริง”ไม่น้อยกว่า 3 ประเด็นย่อย เป็นต้น

6.3.3 การสรุปผลการประเมิน ควรเป็นความเห็นพ้องของกรรมการประเมินทุกคน

เกณฑ์การรับรอง Best Practice

เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินเพื่อรับรอง Best Practices มี 2 เกณฑ์ ประกอบด้วย

1) เกณฑ์การประเมินเอกสาร

2) เกณฑ์การประเมินภาคสนาม

โดยมีขั้นตอนในการประเมิน 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่1

สิ่งที่ต้องทำ : ศึกษาเอกสาร BP ของสถานศึกษา

จุดประสงค์ : เพื่อทำความเข้าใจและทราบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา โดยรวมก่อน และทำให้ผู้ประเมินได้เห็นความเชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุเป็นผลของ ส่วนประกอบต่างๆ ของ BP

แนวปฏิบัติ :

1. อ่าน BP ของสถานศึกษาอย่างละเอียด หาคำสำคัญ (Key Word)ที่แสดงถึงคุณลักษณะสำคัญตามประเมินประเมินหลัก เช่น ความคาดหวังของผู้เกี่ยวข้องการนำไปใช้ตามวงจร PDCA การระบุวิธีปฏิบัติที่เป็นนวัตกรรม ผลลัพธ์ที่เป็นไปตามข้อกำหนดของระบบ เป็นต้น

2. ทำเครื่องหมายหรือขีดเส้นใต้คำหลักหรือข้อความนั้นให้เด่นชัด

3. อ่านทวนช้ำอีกครั้งหนึ่งเพื่อความชัดเจนและเข้าใจอย่างแท้จริง

ขั้นตอนที่2

สิ่งที่ต้องทำ : ใช้เกณฑ์การประเมิน ประเมิน BPของสถานศึกษา

จุดประสงค์ : เพื่อตรวจสอบ BP ของสถาศึกษา ว่าสถาศึกษาได้ดำนินการปฏิบัติจริง หรือมีคุณลักษณะ

สำคัญ ตามหลักเกณฑ์ที่สถาบันวิจัยพัฒนาการเรียนรู้กำหนดไว้หรือไม่

แนวปฏิบัติ :

1. ศึกษาและทำความเข้าใจกับเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น ลักษณะเกณฑ์การประเมินเป็นแบบตรวจสอบรายการสำคัญเชิงประเมิน (Key Evaluation Checklist) ประกอบด้วยประเด็นหลัก 5 ประเด็น แต่ละประเด็นหลักจะมีประเด็นย่อย รวมทั้งสิ้น 23 ประเด็น

2. ให้ตรวจสอบประเด็นย่อยทีละประเด็นเทียบเคียงกับผลการตรวจสอบในขั้นตอนที่ 1 พิจารณาใคร่ครวญอย่างถ่องแท้ โดยต้องไม่ลืมว่าผู้ประเมินจัดว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมิน BP ครั้งนี้ การใช้ดุลยพินิจในเรื่องใดก็ตามต้องมีเทตุผลและคำอธิบายที่อยู่บนพื้นฐานของแนวคิดทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับหรือจากประสบการณ์ของผู้ประเมิน จากนั้นจึงหาข้อสรุปว่า ประเด็นนั้นๆ สถานศึกษาได้ดำเนินการจริงหรือมีคุณลักษณะนั้นๆ จริงหรือไม่ ถ้าจริง ให้ทำเครื่องหมาย( ตรงกับช่อง “จริง” ถ้าไม่จริง ให้ทำเครื่องหมาย( ) ตรงกับช่อง “ไม่จริง”

ขั้นตอนที่3

สิ่งที่ต้องทำ สรุปผลการ ประเมิน BPของสถานศึกษาในเบื้องต้น

จุดประสงค์ : เพื่อตัดสินผลการประเมิน BPของสถานศึกษา

แนวปฏิบัติ :

1. รวมคะแนนการประเมินตามประเด็นหลักทีละประเด็น บันทึกคะแนน หากพบว่าประเด็นหลักในคะแนนไม่ถึงร้อยละ 60 ให้บันทึกเพิ่มเติมว่า “ไม่ผ่าน”

2. รวมคะแนนการประเมินตามประเด็นหลักทุกประเด็น บันทึกคะแนนรวม หากพบ คะแนนรวมทั้งหมดไม่ถึงร้อยละ 80 ให้บันทึกเพิ่มเติมว่า “BPไม่ผ่าน”

3. บันทึกสรุปผลการประเมินรวม พร้อมให้คำแนะนำในการพัฒนา ปรับปรุง กรณีที่ BP ไม่ผ่าน

ขั้นตอนที่4

สิ่งที่ต้องทำ : การเยี่ยมชมในพื้นที่แลกเปลี่ยนผลการประเมินระหว่างผู้ประเมิน ร่วมกันสรุปสิ่งที่พบ ระบุจุดแข็งที่สำคัญ และข้อบกพร่องในแต่ละประเด็น และตัดสินผลขั้นสุดท้าย

จุดประสงค์ เพื่อรับรอง BPของสถานศึกษา

แนวปฏิบัติ

1. ติดต่อขอเข้าเยี่ยมชมสถานศึกษาที่ BP ผ่านการประเมินเบื้องตัน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลตามประเด็นต่างๆในแบบตรวจสอบ ควรกำหนดคำถามล่วงหน้าตามวิธีการ SITE VISIT

2. ผู้ประเมินแต่ละคนนำเสนอสิ่งที่พบให้ผู้ประเมินคนอื่นๆได้รับทราบ และใช้ความรอบรู้ของทุกๆคนช่วยกันสรุปให้ชัดเจนขึ้น โดยอาจเพิ่มเติมหรือตัดทอนสารสนเทศที่ได้จากกรพิจารณาเบื้องต้น และทำการเชื่อมโยงระหว่างประเด็นหลัก สรุปจุดแข็งและข้อบกพร่อง

3. สรุปผลการประเมินโดยรวมว่าสมควรให้การรับรอง BP ของสถานศึกษาหรือไม่ ทั้งนี้การตัดสินให้การรับรอง ต้องเป็นแบบตกลงเห็นพ้องกัน (Consensus) ของผู้ประเมินทุกคน

ซึ่งมีเครื่องมือในการประเมิน 2 แบบ คือ

1) เครื่องมือการประเมินวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices Criteria 2006 : ประเมินเอกสาร)

2) เครื่องมือการประเมินวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices Citeria 2006 : ประเมินภาคสนาม)

เครื่องมือประเมินวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ชุดที่ 1 : ประเมินเอกสาร

วิธีการรับรองวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices Accreditation System) 9
วิธีการรับรองวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices Accreditation System)
วิธีการรับรองวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices Accreditation System)

เครื่องมือการประเมินวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practices ประเมินภาคสนาม

วิธีการรับรองวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices Accreditation System)
วิธีการรับรองวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices Accreditation System)
วิธีการรับรองวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices Accreditation System)

แบบสรุปผลการประเมินวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ของ โรงเรียน

วิธีการรับรองวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices Accreditation System)

หมายเหตุ วิธีปฏิบัติใด ที่ได้คะแนนแต่ละประเด็นหลักร้อยละ 60 ขึ้นไปและคะแนนรวมร้อยละ 80 ขึ้นไป จะได้รับกรรับรองเป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิตามเกณฑ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ทั้งนี้ต้องเป็นความเห็นพ้องของผู้ประเมินทุกคน

อ้างอิง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่