เข้าใจง่าย สรุปขั้นตอนการทำ PA ครบกระบวนการ ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการประเมิน ขอบคุณ Cr. Krukaew
โดยภาพรวม มีข้อสรุปขั้นตอนการทำ PA การประเมิน PA มีการดำเนินการดังนี้
7 ขั้นตอนการจัดทำ PA รายปีและการประเมิน PA รายปีมีดังนี้ สำหรับทุกคน และสำหรับผู้ต้องการเพียงคงวิทยฐานะ
- ทำ PA กับ ผอ.โรงเรียน 3 ส่วนหลัก คือ ชั่วโมงการปฏิบัติงาน การดำเนินการตาม 3 ด้าน 15 ตัวชี้วัด และประเด็นท้าทาย
ณ วันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี ไม่มียกเว้น ครู คศ.1 ขึ้นไปทุกคน ต้องทำทุกปีงบประมาณ จนกว่าเกณฑ์จะเปลี่ยนไป - เก็บงาน 15 ตัวชี้วัด ตลอดปีงบประมาณ (1 ต.ค.- 30 ก.ย. ปีถัดไป) และ ดำเนินการในประเต็นท้าทายให้บรรลุเป้าหมาย
- สิ้นปีงบประมาณ (หลัง 30 ก.ย.ของแต่ละปี) ขอรับการประเมิน PA รายปี ต่อ ผอ.โรงเรียน
- ผอ.รร.ประกาศแต่งตั้งกรรมการประเมิน โดยมี ผอ.เป็นประธานการประเมินทุกคณะ (หากมีการแต่งตั้งหลายคณะ) และ
บุคคลซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอีก 2 คน ประกอบด้วย ศน.ชกพ. หรือ ผศ. หรือ ครู ชกพ. หรือผู้ทรงฯนอกสถานศึกษา
(ผู้ทรงฯนอกสถานศึกษา อาจเป็นครูหรือ ผอ.ที่เกษียณ หรือ ผอ. หรือ รอง ผอ.ต่างโรงเรียน และควรมีวิทยฐานะ ชกพ) - คณะกรรมการ ดำเนินการประเมิน โดยอาจสังเกตการสอนและการตรวจสอบเอกสารประกอบ หรือดูสภาพจริงในห้องเรียน
- กรรมการให้คะแนน ต้องได้ 70 คะแนนขึ้นไป จากกรรมการแต่ละคน จึงจะถือว่าผ่านการประเมิน PA รายปี
- เมื่อเสร็จสิ้นมีผลการประเมินแล้ว ผอ.นำผลการประเมินเข้าในระบบ DPA ทุกปี งบประมาณ
ปล. การประเมินรายปี ไม่ต้องจัดทำคลิปวีดีโอใดๆ เพียงดำเนินการตามขั้นตอน 1-7 ก็มีชีวิตรอดกับ PA รายปี
8 ขั้นตอนการขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะ ในรูปแบบ PA มีดังนี้
- ตรวจสอบคุณสมบัติตัวเองว่า ครอง คศ.นั้น ครบ 4 ปี (หรือ 3 ปีหากลดเวลาได้) มีผลการประเมินผ่าน 3 รอบ (2 รอบหาก
ลดเวลาได้) และไม่ถูกลงโทษทางวินัยมากกว่าภาคทัณฑ์ (หากถูกลงโทษมากกว่านั้น ผลการประเมินปีนั้นไม่ให้ใช้ ให้ใช้ปี
ก่อนหน้าหรือหลังจากนั้น และต้องมีผลการประเมิน ครบตามกำหนด 3 รอบ หรือ 2 รอบแล้วแต่กรณี) - รวบรวมผลการประเมิน 2 หรือ 3 รอบแล้วแต่กรณี หากอยู่ในช่วงเชื่อมต่อ ให้ใช้ผลการประเมินใน ว.17 หรือ ว.21
เชื่อมต่อได้แล้วแต่กรณี แต่ต้องมีผลการประเมิน PA อย่างน้อย 1 ปี และจัดทำเป็น PDF - จัดทำแผนการสอนที่ดีที่สุด 1 แผน และทำเป็น PDF
- นำแผนการสอนไปสอน และบันทึกคลิปวีดีโอการสอนไว้ 1 คลิป ห้ามตัดต่อ มีข้อสังเกตพิเศษคือ เมื่อเข้าปีที่ 4 ของรอบปี
ที่ครอง คศ.นั้น ก็ให้ดำเนินการบันทึกคลิปวีดีโอการสอน เตรียมการสอนในแต่ละชั่วโมงให้ดี โดยเลือก 1 วิชาที่ถนัด แล้ว
เตรียมการสอนใน 1 ชั่วโมง วางแผนการสอนให้ดี และสอนตามชั้นตอนที่วางแผนไว้ เมื่อสอนบ่อยขึ้น บันทึกคลิปวีดีโอให้
บ่อยขึ้นก็จะเกิดความคุ้นเคย หลังจากนั้นก็คัดเลือกคลิปการสอนที่ดีที่สุดแล้วปรับแผนให้สอดรับกันกับการสอนในครั้งนั้น
ก็จะเป็นอีกวิธีหนึ่งในการพัฒนาการสอน และการบันทึกวีดีโอการสอนที่ไม่ต้องสอนแผนเดียวซ้ำๆ - จัดทำคลิปวีดีโอแสดงปัญหาหรือแรงบันดาลใจที่เป็นเหตุให้สอนใน 1 ชั่วโมงนั้น ไม่เกิน 10 นาที แทรกภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวได้แต่ห้ามตัดต่อ
- เก็บผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน หรือผลงานนักเรียนที่เกิดจาการสอนใน 1 ชั่วโมงนั้น ไม่เกิน 3 ไฟล์ หากเป็นคลิปวีดีโอได้
ไม่เกิน 1 คลิป ตัดต่อได้ แทรกคำบรรยายได้ หรือหากเป็นไฟล์ PDF ไม่เกิน 10 หน้า หรือ เป็นไฟล์ภาพ ไม่เกิน 6 ภาพต่อ
หน้า และไม่เกิน 10 หน้า - จัดทำคำขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
- นำข้อมูลข้อ 2-7 เข้าระบบ DPA แล้วรอฟังเขตฯ กับ ศธจ.ว่าให้แก้ไขข้อมูลหรือไม่ หากให้แก้ตรงไหนก็อัพข้อมูลเข้าไปใหม่
หากไม่แก้ไขแล้วก็รอฟังผลการประเมิน/หากผ่านก็เตรียมทำวิทยฐานะที่สูงขึ้นไป/หากไม่ผ่าน ก็จัดทำและส่งข้อ 2-7 ใหมใน
ภาคเรียนถัดไป จนกว่าจะผ่าน
ตรวจสอบว่าท่านต้องทำอย่างไร ขั้นตอนใด หากพบข้อคำถาม แจ้งข้อมูลท่าน ผ่าน เพจ Krukaew ได้ครับ
ศน.วี กับทฤษฎีสอนแท้แท้ Facebook : SNV Sanumit อินบ๊อคมาได้ครับ หรือ 0892626687 หลัง 16.30 น.
ขอบคุณที่มา :: Facebook Krukaew