สรุปจรรยาบรรณครู สรุปจรรยาบรรณวิชาชีพครู ล่าสุด พ.ศ. 2556
ครูอาชีพขอชวนคุณครูทุกท่าน ศึกษาความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพครู และผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ซึ่งวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง มีวิถีทางแห่งปัญญาในการบริการ มีเสรีภาพทางวิชาการ และได้รับการยกย่องจากสังคมทั่วไป เช่นเดียวกับวิชาชีพชั้นสูงอื่น ๆ เช่น แพทย์ วิศวกร ทนายความ สถาปนิก วิชาชีพเหล่านี้ต่างมีจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพนั้น ๆ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ และเป็นการสร้างความเชื่อถือให้เกิดในวิชาชีพ และมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน สรุปมาให้แล้วดังนี้
ความหมาย
จรรยาบรรณในวิชาชีพ หมายถึงประมวลมาตรฐานความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องประพฤติปฏิบัติ เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติอย่างถูกต้องเพื่อผดุงเกียรติและสถานะ ของวิชาชีพนั้นก็ได้ผู้กระทำผิดจรรยาบรรณ จะต้องได้รับโทษโดยว่ากล่าว ตักเตือน ถูกพักงาน หรือถูกยกเลิกใบประกอบวิชาชีพได้ โดยข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด อันเป็นพื้นฐานสำคัญที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่านจะต้องนําไปประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการที่ดี โดยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน ถือว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ และแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ซึ่งมีทั้งหมด 5 หมวด จรรยาบรรณวิชาชีพครู 9 ข้อ ดังนี้
ความสำคัญ
จรรยาบรรณในวิชาจะเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะจำแนกอาชีพว่าเป็นวิชาชีพหรือไม่ อาชีพที่เป็น “วิชาชีพ” นั้นกำหนดให้มีองค์กรรองรับ และมีการกำหนดมาตรฐานของความประพฤติของผู้อยู่ในวงการวิชาชีพซึ่งเรียกว่า “จรรยาบรรณ“ ส่วนลักษณะ “วิชาชีพ ” ที่ สำคัญคือ เป็นอาชีพที่มีศาสตร์ชั้นสูงรองรับ มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาวิชาชีพมีการจัดการสอนศาสตร์ดังกล่าวในระดับ อุดมศึกษาทั้งการสอนด้วยทฤษฏีและการปฏิบัติจนผู้เรียนเกิดความชำนาญ และมีประสบการณ์ในศาสตร์นั้น นอกจากนี้จะต้องมีองค์กรหรือสมาคมวิชาชีพ ตลอดจนมี “จรรยาบรรณในวิชาชีพ” เพื่อ ให้สมาชิกในวิชาชีพดำเนินชีวิตตามหลักมาตรฐานดังกล่าวหลักที่กำหนดใน จรรยาบรรณวิชาชีพทั่วไป คือ แนวความประพฤติปฏิบัติที่มีต่อวิชาชีพต่อผู้เรียน ต่อตนเอง และต่อสังคม
จรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความสำคัญต่อวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งสรุปได้ 3 ประการ คือ
- ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ
- รักษามาตรฐานวิชาชีพ
- พัฒนาวิชาชีพ
ลักษณะของจรรยาบรรณวิชาชีพครู
- เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อผู้เรียน (Commitment to the student)
- เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสังคม (Commitment to the society)
- เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อวิชาชีพ (Commitment to the profession)
- เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสถานปฏิบัติงาน (Commitment to the employment practice)
จรรยาบรรณ วิชาชีพครู ล่าสุด พ.ศ. 2556
ขณะนี้คุรุสภาได้จัดทำแบบแผนพฤติกรรมจรรยาบรรณวิชาชีพครู 5 ด้านพร้อมพฤติกรรมที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ในแต่ละด้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ประกอบด้วย
1.จรรยาบรรณต่อตนเอง
ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองต้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่สมอ โตยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติ ตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
2.จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ ละเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพโดยต้องประพฤติและละว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
3.จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
ครูต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจ โดยไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญของศิษย์และผู้รับบริการ
หรือเรียกรับ ยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
สาระสาคัญของจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
3.1 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
3.2 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3.3 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนป็นแบบอย่างที่ตึ ทั้งทงกาย วาจา และจิตใจ
3.4 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญาจิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ
3.5 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภา โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
4.จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
ครูพึงช่วยเหลือเกลือกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรมสร้างความสามัคคีในหมู่ณะ โตยต้องประพฤติและละว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ตังตัวอย่างต่อไปนี้
5.จรรยาบรรณต่อสังคม
ครูพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม
และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
คำถามทบทวน
- ความหมายของจรรยาบรรณวิชาชีพครูคืออะไร
- จรรยาบรรณวิชาชีพครูมีความสำคัญต่อผู้ประกอบวิชาชีพครูอย่างไร
- จรรยาบรรณสำหรับครู ฉบับ พ.ศ. 2539 มีแบบแผนความประพฤติสำหรับครูอย่างไร
- ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพ พ.ศ. 2556 กำหนดจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพครูต่อตนเอง ต่อวิชาชีพ ต่อผู้รับบริการ ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และต่อสังคม อย่างไร
- ให้เปรียบเทียบจรรยาบรรณอาจารย์และจรรยาบรรณครูแตกต่างกันอย่างไร
- แนวปฏิบัติเพื่อการรักษาวินัยของครูเป็นอย่างไร
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 หมวด 6 มาตรา 96 ว่าด้วยวินัยและการรักษาวินัยครูด้านใด
- แบบแผนพฤติกรรมที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ ในจรรยาบรรณวิชาชีพครูต่อตนเองมีลักษณะอย่างไร
- วินัยครูมีความสำคัญต่อผู้ประกอบวิชาชีพครูอย่างไร
- ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาใดที่ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2556 จะมีบทลงโทษจากการตรวจสอบอย่างไร
ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์คุรุสภา
ดาวน์โหลดไฟล์
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๐ ดาวน์โหลด
ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์คุรุสภา