ข้อสังเกตบางประการที่ทำให้ผลงานครูไม่ผ่านในระบบ DPA ส่งผลงานทำวิทยฐานะ PA อย่างไรให้ได้ 3 ผ่าน
เรื่มต้นด้วยคำถามว่า “ทำยังไงถึงจะได้ 3 ผ่าน” และ “ทำไมเราถึงไม่ได้ 3 ผ่าน”จากคุณครูทั่วประเทศ ทำไมเราถึงไม่ได้ 3 ผ่าน กับการประเมิน ลองดูตามนี้ครับสำหรับคนที่จะส่งขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์ ว9/2564 (pa)
1. คุณครูต้องศึกษาหลักเกณฑ์ให้แม่น ตาม PA 4 ตามประเภทห้องเรียนในแต่ละวิทยฐานะที่ยื่นขอมีหรือขอเลื่อนฯ โหลดคู่มือ ว9/2564 สายการสอน ได้จาก ก.ค.ศ. ครับ ที่ลิงก์ :: ว9/2564 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ สายงานการสอน
2. แผนการจัดการเรียนรู้ ต้องเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่คุณครูได้แสดงสมรรถนะ ออกมาได้อย่างเต็มที่ (ถนัดที่สุด/ดีที่สุด) เลือกมาเพียง 1 แผนฯ/คาบ/ชั่วโมง คุณครูต้องดูว่าแผนฯ เราสะท้อนให้เห็น 8 ตัวชี้วัดหรือไม่ ส่วนใหญ่ใช้แผนฯ สำนักพิมพ์ แล้วไม่ได้ปรับแผนให้สอดคล้องกับบริบท รร. ห้องเรียน และการส่งแผนให้แสนกเป็น pdf แนบเอกสารทุกอย่างที่เกี่ยวข้องเข้าไปให้สมบูรณ์ตามแบบของแต่ละ รร. เน้นย้ำว่าแผนฯ ควรเน้นให้นักเรียนเกิดผลลัพธ์ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ อย่างแท้จริง
3. คลิปการสอน ต้นเรื่องคลิปแรงบันดาลใจ คุณครูบอกอยากให้นักเรียนได้เรียนแบบ Active learning แต่เวลาคุณครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนยังใช้แบบบรรยายให้นักเรียนนั่งฟัง คุณครูบรรยายหรือพูดอธิบายทุกอย่างคนเดียวมากกว่า 50 % ของเวลาที่ใช้สอน
***เกณฑ์ ว PA ต้องการดู ทักษะการสอนที่เน้นผู้เรียนได้ปฏิบัติ ค้นหา สร้าง ความรู้ด้วยตัวผู้เรียน โดยมีคุณครูเป็นผู้อำนวยการสอนเพื่อนำนักเรียนไปถึงจุดหมายปลายทางที่เรียกว่า ผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้ ลดการอธิบายที่เด็ก ๆ นั่งฟังยาว ๆ แต่ควรจัดกิจกรรมที่ให้เด็ก ๆ ได้มีการค้นหาความรู้ ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ด้วยการค้นหาความรู้และแบ่งปัน ด้วยกระบวนการกลุ่ม คุณครูหลาย ๆ ท่านอาจจะมีคำถามว่า ทำไมต้องกระบวนการกลุ่ม!!!ถ้าคุณครูศึกษาเกณฑ์ให้ดีจะเข้าใจได้ว่า กระบวนการหาความรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มเข้ามาช่วยจะตอบโจทย์ตาม PA 4 เกือบทุกข้อครับ และหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกครั้งคุณครูอย่าลืมสรุปความรู้ให้กับผู้เรียน และ แนะนำนักเรียนหรือให้ชิ้นงานนักเรียนค้นคว้าเพิ่มเติม ด้วยนะครับ
3. เวลาที่ใช้ในคลิปการสอน คุณครูใช้เวลายังไม่คุ้มค่า โดยเกณฑ์กำหนดไว้ไม่เกิน 60 นาที หรือตามบริบทในแผนการจัดการเรียนรู้ที่คุณครูออกแบบไว้ ตัวอย่างเช่น ปฐมวัยอาจจะ 20-25 นาที มัธยมคาบละ 50 นาที ประถม 60 นาที โดยใช้เวลาให้คุมค่าและจัดเวลาให้เหมาะสม เช่น 60 นาที ก็ควรอัดคลิปการสอนที่ใกล้เคียง 60 นาทีที่สุดครับ (คุณครูบางท่านอาจจะแย้งว่า 40 นาที ก็เข้าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไม่เกิน 60 นาที!!!คุณครูต้องไปดูเกณฑ์ PA 4 ตชว.ที่ 1 ข้อที่ 2 ให้ดี ๆ ครับ และ คุณครูต้องดูด้วยว่า 40 นาทีของคุณครูที่ใช้ไป สะท้อนตาม ตชว ทั้ง 8 ตชว หรือไม่เช่นกัน หากคุณครูจัดได้ครบก็คงจะไม่มีปัญหาในเรื่องเวลาครับ )
4. ผลลัพธ์ของผู้เรียน คุณครูไม่แนบชิ้นงานนักเรียนมีแต่คะแนนก่อนเรียน หลังเรียน คะแนนประเมิน 3 2 1 ….
** คุณครูควรแนบคะแนนการประเมินตามแบบประเมินที่คุณครูระบุไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครบทุกการประเมินเช่น ประเมินความรู้ ประเมินกระบวนการกลุ่ม ประเมินสมรรถนะ เป็นต้น คุณครูก็ต้องแนบคะแนนไปให้ครบ และที่สำคัญคุณครูต้องมีเกณฑ์คะแนนการประเมิน (Scoring rubrics) แนบไปด้วยนะครับ
** ชิ้นงานกระบวนการกลุ่มในระหว่างจัดกิจกรรม โดยอาจจะเป็นภาพถ่ายชิ้นงานกลุ่มที่เกิดจากกิจกรรมกลุ่มย่อย เช่นการเขียนผังความคิด ภาพการนำเสนอหน้าชั้นเรียนของนักเรียน ภาพการอภิปราย เป็นต้น คุณครูก็แนบไปด้วย เพื่อสนับสนุนผลลัพธ์ทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยจัดเป็นไฟล์ PDF หน้าละไม่เกิน 6 รูป พร้อมคำบรรยายภาพ ไฟล์ละไม่เกิน 10 หน้า
** ชิ้นงานเดี่ยวของนักเรียนที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียนการสอนในคลิปการสอนที่คุณครูส่ง หรือชิ้นงานที่ให้นักเรียนทำการจัดการเรียนการสอนเสร็จสิ้นแล้วในชั่วโมงนั้น หรือให้นักเรียนไปค้นคว้าเพิ่มเติม คุณครูก็ควรนำเสนอ แสดงไปด้วยโดยจัดเป็นไฟล์ PDF หน้าละไม่เกิน 6 รูป ไฟล์ละไม่เกิน 10 หน้า พร้อมคำบรรยายภาพ เช่นกันครับ เช่นถ้าเด็กนักเรียนห้องเรียนที่บันทึกคลิปการสอนมี 30 คน ผลลัพธ์งานก็ไม่ควรน้อยกว่า 21 ชิ้นครับ คุณครูจะแนบครบ 30 ชิ้นก็ยังได้ครับ หน้าละ 6 รูป ใช้แค่ 5 หน้าเองครับ
*** ผลลัพธ์ คุณครูควรแนบไปให้มากที่สุด และไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 โดย ไฟล์ผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้คุณครูสามารถแนบได้สูงสุดถึง 3 ไฟล์ (PDF)
สุดท้ายนี้ ขออวยพรให้คุณครูทุกท่านที่ส่งผลงานขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะ ได้ 3 ผ่านกันทุกคนครับ และสำหรับคุณครูที่จะยื่นขอมีหรือขอเลื่อนก็ขอให้ทำงานด้วยความสุข ด้วยคุณภาพตามเกณฑ์ PA 4 และ 3 ผ่านทุกท่านครับ ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ขอบคุณที่มา :: Marasri Meechok | คลินิกวิทยฐานะ PA กับครูสดใส